อาการของโรคพาร์กินสัน สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่
- อาการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวผู้ป่วยมักมีอาการสั่นขณะอยู่เฉย ๆ กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง โดยเฉพาะบริเวณแขนและขา การเคลื่อนไหวช้าลง และเมื่อโรคดำเนินไป อาจเริ่มมีปัญหาในการเดิน เช่น เดินช้าหรือเดินติดขัด
- อาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวนอกจากอาการทางการเคลื่อนไหวแล้ว ผู้ป่วยอาจมีอาการสูญเสียการรับกลิ่น ทำให้รับรสอาหารได้น้อยลง มีปัญหาท้องผูก นอนละเมอ หรือมีภาวะซึมเศร้าได้
การวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน แพทย์จะซักประวัติจากผู้ป่วยและญาติร่วมกับการตรวจร่างกายเป็นหลัก ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีการสแกนสมองมาใช้เพื่อประเมินระดับสารโดปามีนในสมอง หากพบว่ามีระดับลดลง ก็จะช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำยิ่งขึ้น
การรักษาโรคพาร์กินสัน จะเป็นการรักษาประคับประคองที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงคนปกติ ด้วยการทานยาที่ช่วยกระตุ้นการสร้างสารโดปามีนในสมอง การทำกายภาพบำบัด และการผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมองส่วนลึก
นอกจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว การดูแลด้านจิตใจและสังคมก็สำคัญไม่แพ้กัน ผู้ดูแลควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้ออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน และกระตุ้นให้มีการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นได้
แม้ว่าโรคพาร์กินสันจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ด้วยการรักษาและการดูแลที่เหมาะสม ผู้ป่วยก็สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น
โรคพาร์กินสัน อาการ สาเหตุ และวิธีสังเกตคนใกล้ตัว คลิกอ่านข้อมูล >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/1668
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมCall Center 1512 ต่อ 2999 Line Official : @ramhospital