ในกลุ่มที่สองเกิดจากตัวปอดเอง (Exudative Pleural Effusion) ซึ่งมักจะเกิดจากมะเร็ง (เช่น มะเร็งปอด, มะเร็งเต้านมกระจายมาที่เยื่อหุ้มปอด), วัณโรคปอด (Tuberculosis), ปอดติดเชื้อ (Pneumonia) อันเกิดจากเยื่อหุ้มปอดอักเสบหรือมีการอุดตันของระบบน้ำเหลือง รวมถึงของเหลวที่มีโปรตีนสูงและเซลล์อักเสบจำนวนมาก โดยการรักษานั้น หากเกิดจากมะเร็งเราสามารถเอาน้ำออกแล้วใส่ยาเคลือบปอดเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้ (chemical pleurodesis) และในส่วนของกลุ่มที่เกิดภาวะติดเชื้อ เช่น วัณโรคหรือปอดติดเชื้อ หากดำเนินการรักษาแก้อาการของตัวโรค โดยลดอาการบวมน้ำลง อาการก็มักจะดีขึ้นตามมา แต่อาการที่พบในผู้ป่วยอยู่บ่อยครั้ง เช่น มีอาการหายใจลำบาก, มีภาวะเจ็บหน้าอก (โดยเฉพาะเวลาหายใจลึก ๆ) หรือไอแห้ง ๆ มีน้ำเสียงลดลง เหล่านี้แพทย์มักจะวินิจฉัยว่าเกิดจากน้ำในเยื่อหุ้มปอด ซึ่งสามารถใช้การเอกซเรย์ทรวงอก, อัลตราซาวด์ หรือ CT scan และอาจมีการเจาะน้ำในเยื่อหุ้มปอด เพื่อนำไปตรวจหาสาเหตุที่แน่นอน ทั้งนี้การวินิจฉัยน้ำในเยื่อหุ้มปอดนั้น สามารถนำหลักการรักษาน้ำในเยื่อหุ้มปอดให้เป็นปกติได้โดย 1.รักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย(CHF) โดยส่วนใหญ่จะให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำในร่างกาย แต่หากผู้ป่วยเป็นวัณโรค ก็จะให้ยาต้านวัณโรคครบสูตร 6-9 เดือน ส่วนผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง แพทย์ผู้รักษาจะพิจารณาให้เคมีบำบัด ทำการระบายของเหลวร่วมกับใส่สารเคลือบเยื่อหุ้มปอด(Pleurodesis) เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ ส่วนอีกอาการหนึ่งคือ หากเกิดอาการติดเชื้อ เช่น เกิดภาวะปอดบวม แพทย์ผู้ทำการรักษาจะให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย
วิธีการรักษาภาวะเยื่อหุ้มปอด อีกวิธีหนึ่งคือ การระบายของเหลวออก (Thoracentesis) โดยใช้เข็มเจาะเพื่อระบายน้ำออกจากช่องเยื่อหุ้มปอดและเป็นการช่วยบรรเทาอาการหายใจลำบากและใช้ส่งน้ำไปตรวจวิเคราะห์หาสาเหตุ ส่วนอีกวิธีการหนึ่งคือการใส่สายระบายน้ำ (Chest tube drainage) เป็นการใส่ท่อคาไว้เพื่อระบายน้ำออกต่อเนื่อง กรณีน้ำเยอะมากหรือเป็นหนอง (Empyema) หรือวิธีการ Pleurodesis ใส่สารระคายเคือง (เช่น Talc) เข้าช่องเยื่อหุ้มปอดเพื่อให้เยื่อหุ้มปอดสองชั้นติดกัน ป้องกันน้ำกลับมาอีก วิธีนี้ใช้ในผู้ป่วยมะเร็งหรือมีน้ำกลับซ้ำบ่อยและสุดท้ายวิธีการผ่าตัด(ในบางกรณี)หากมีเยื่อพังผืดหรือหนองที่ไม่สามารถระบายได้ อาจต้องผ่าตัดเปิดช่องอกหรือใส่ยาเคลือบปอดในผู้ป่วยมะเร็งเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
หากผู้ป่วยหรือท่านใดสงสัยต้องการคำปรึกษาสามารถสอบถามผ่านทาง inbox ได้หรือทาง lineofficial account; @lungsurgeryth #ผ่าตัดปอด #ผ่าตัดส่องกล้อง #มะเร็งปอด #ลมรั่วในเยื่อหุ้มปอดโดยปรึกษาผ่านเพจเฟซบุ๊ก ผ่าตัดปอด รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ได้ที่ Lineid:@lungsurgeryth หรือเว็บไซต์ https://www.siradoctorlung.com