เดินหน้าจัดการขยะพลาสติก - บูรณาการความร่วมมือลดและคัดแยกมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง

จันทร์ ๑๑ มกราคม ๒๐๒๑ ๑๗:๒๖
นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวกรณีมีการตั้งข้อสังเกตการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนสนับสนุนให้พนักงานทำงานที่บ้าน (Work From Home) ส่งผลให้ขยะพลาสติกจากฟู้ดเดลิเวอรีเพิ่มขึ้น เห็นควรดำเนินการแก้ปัญหาขยะพลาสติกอย่างจริงจังว่า ที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครได้รณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนดำเนินมาตรการคัดแยกและใช้ประโยชน์มูลฝอยที่แหล่งกำเนิด ประกอบด้วย มูลฝอยอินทรีย์ นำไปใช้เลี้ยงสัตว์ หมักทำปุ๋ย หรือทำน้ำหมักชีวภาพ มูลฝอยรีไซเคิล แยกขาย เพื่อเป็นรายได้ มูลฝอยทั่วไป แยกทิ้งให้กับรถเก็บขนมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร ส่วนมูลฝอยอันตรายได้รณรงค์ให้คัดแยกเป็นการเฉพาะ เพื่อนำไปกำจัดตามหลักสุขาภิบาล สำหรับในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กรุงเทพมหานครยังคงดำเนินมาตรการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมูลฝอยพลาสติกได้ขอความร่วมมือประชาชน ลด ละ เลิกการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น ช้อนส้อม ถุงพลาสติก เลือกใช้ภาชนะที่ใช้ซ้ำ หรือรีไซเคิล ขณะเดียวกันได้รณรงค์ให้หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร ลด ละ เลิก ใช้โฟม และพลาสติกอย่างจริงจัง ได้แก่ การงดจ่ายถุงพลาสติกใส่ยาสำหรับผู้ป่วยที่มารับบริการในโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุข รวมทั้งเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากถุงนมเป็นกล่องนม

ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนั้น ยังได้รณรงค์ส่งเสริมการดำเนินการตามหลัก 3 ช (3 R) ประกอบด้วย ลดการใช้ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) พร้อมจัดระบบแยกทิ้งและเก็บรวบรวมแยกประเภท โดยตั้งถังรองรับมูลฝอยในที่สาธารณะ 2 ประเภท ได้แก่ ถังสีเหลือง สำหรับทิ้งมูลฝอยรีไซเคิล และถังสีน้ำเงิน สำหรับทิ้งมูลฝอยทั่วไป รวมถึงปรับปรุงรถเก็บขนมูลฝอยให้มีช่องสำหรับใส่มูลฝอยรีไซเคิลและมูลฝอยอันตรายแยกออกจากมูลฝอยทั่วไป ตลอดจนบูรณาการร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่ายดำเนินโครงการความร่วมมือภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคมจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นการลดใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use plastic) แยกประเภทขยะตามการใช้ประโยชน์ เช่น ขายเป็นวัสดุรีไซเคิล หรือบริจาคให้หน่วยงานต่าง ๆ โดยดำเนินการร่วมกับ 7 องค์กร และ 1 ชุมชนในพื้นที่เขตคลองเตย เพื่อคัดเลือกต้นแบบที่เหมาะสม ซึ่งในปี 2564 มีแผนขยายการดำเนินงานในพื้นที่เขตคลองเตยและสำนักงานเขตอื่นอีก 1 แห่ง อีกทั้งจัดให้มีจุดตั้งถังรับบริจาคพลาสติกชนิดอ่อน ถุง และฟิล์มพลาสติกใช้แล้ว เช่น ถุงน้ำแข็ง ฟิล์มหุ้มขวดน้ำ ถุงขนมปัง ถุงหูหิ้ว ที่สำนักงานเขต ศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า) และศาลาว่าการ กทม. (ดินแดง) เพื่อให้การใช้พลาสติกเกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกที่จะออกสู่สิ่งแวดล้อม รวมถึงลดปริมาณมูลฝอยที่เข้าสู่ระบบกำจัดของกรุงเทพมหานครอีกด้วย

ที่มา: กทม.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4