มกอช. จับมือกรมประมง พัฒนาระบบรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลตามหลักสากล หวังเพิ่มยอดส่งออกกุ้งทะเล

พุธ ๒๐ มกราคม ๒๐๒๑ ๑๑:๒๙
เลขาฯ มกอช. จับมือกรมประมง พัฒนาระบบรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลตามหลักสากล เตรียมพร้อมยื่นขอรับการประเมินความเท่าเทียมกับ GSSI มุ่งสร้างความเชื่อมั่นประเทศคู่ค้า หวังเพิ่มยอดส่งออกกุ้งทะเล

นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกกุ้งทะเลรายใหญ่ของโลก โดยในปี 2562 มีการส่งออกสินค้ากุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ปริมาณรวมทั้งสิ้น 176,500 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 51,720 ล้านบาท โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน แม้ประเทศไทยจะมีการพัฒนาด้านมาตรฐานและระบบการตรวจสอบรับรองมาตรฐานการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน มีการประกาศมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี หรือ GAP สำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล (มกษ.7401-2562) ภายใต้พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับมาตรฐานการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของอาเซียน และสอดคล้องกับข้อกำหนดของ Global Sustainability Seafood Initiatives (GSSI) ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับและมีเครือข่ายทั่วโลก

โดย มกอช. ร่วมกับกรมประมง มีแผนในการประเมินความเท่าเทียม (Benchmarking) ด้านมาตรฐานระบบการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล (มกษ.7401) กับข้อกำหนดของ GSSI เพื่อให้กุ้งทะเลของไทยได้รับการยอมรับจากประเทศคู่ค้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์โดยตรงกับผู้ส่งออกและเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลของไทย โดยประเทศและองค์กรพันธมิตรจะยอมรับร่วมกันว่าหาก GSSI ประเมินแล้วว่ามาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ใช้อยู่เทียบเคียงได้กับข้อกำหนดใน GSSI Global Benchmark Tool มาตรฐานนั้นจะเป็นที่ยอมรับได้ทั่วโลก และไม่มีความจำเป็นต้องไปเทียบเคียงกับมาตรฐานอื่นๆ โดยเฉพาะมาตรฐานเอกชนอีก ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการกุ้งทะเลของไทยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจประเมินเพื่อการรับรองมาตรฐานเอกชนปีละหลายแสนบาท จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย มกอช.และกรมประมง จึงได้ร่วมกันพัฒนาและปรับปรุงระบบคุณภาพด้านมาตรฐานและการรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลของไทยทั้งระบบ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมินความเท่าเทียมกับ GSSI

"ปัจจุบัน มกอช.อยู่ระหว่างการทวนสอบระบบคุณภาพให้สอดคล้องตามหลักสากล สอดคล้องตามข้อกำหนดของ GSSI และมีความพร้อมสำหรับการประเมินความเท่าเทียมกับ GSSI โดยคาดว่าจะสามารถยื่นขอรับการประเมินความเท่าเทียมกับ GSSI ได้ประมาณต้นปี 2565" เลขาธิการ มกอช. กล่าว

ที่มา: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๘ เม.ย. Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๘ เม.ย. Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๘ เม.ย. โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๘ เม.ย. 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๘ เม.ย. TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๘ เม.ย. SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๘ เม.ย. โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๘ เม.ย. หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๘ เม.ย. คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital