ม.มหิดล เสริมแกร่งภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สู่การเป็นมหาวิทยาลัยอันดับโลก

จันทร์ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๑ ๐๙:๒๐
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ของทุกปี องค์กรการศึกษาและวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) กำหนดให้เป็น "วันภาษาแม่สากล" เพื่อที่จะคงไว้ซึ่งทุกภาษาของทุกชนชาติในโลกให้คงอยู่สืบไป

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐพงศ์ จันทร์อยู่ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า หัวใจสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในฐานะของผู้พูด คือ การพูดอย่างไรให้คู่สนทนาเข้าใจความหมายของสารที่ผู้พูดต้องการจะสื่อ ซึ่งองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่ง คือ การออกเสียงอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายของคำและประโยคที่จะสื่อได้

อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบด้านคุณภาพของเสียงมีความแตกต่างกันในแต่ละภาษา การนำองค์ความรู้ทางภาษาศาสตร์ (Linguistics) มาช่วยในการสอน จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้มากขึ้น

ตัวอย่างเช่น เสียง /th/ เมื่อออกเสียงในภาษาอังกฤษ จะไม่ใช่เสียง ธ.ธง หรือ ท.ทหาร ในภาษาไทย ซึ่งหากผู้เรียนศึกษาด้วยการอ่านตัวเขียน จะทำให้การออกเสียงคลาดเคลื่อนได้

อีกประการหนึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับสำเนียง (Accent) ซึ่งแตกต่างกันไปตามพื้นที่ การเรียนในห้องเรียนมักจะเทียบเคียงสำเนียงมาตรฐาน 2 สำเนียง คือ สำเนียงแบบอังกฤษ (British accent) และสำเนียงแบบอเมริกัน (American accent) แต่ในเวลาสื่อสารจริงเราอาจจะต้องสนทนากับผู้พูดภาษาอังกฤษที่มีความหลากหลาย การให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์กับสำเนียงที่แตกต่างกันก็เป็นส่วนหนึ่งที่หลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษต้องพิจารณา

ซึ่ง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในโลกยุคปัจจุบัน จึงได้จัดให้มีห้องบันทึกเสียงที่พร้อมด้วยโสตทัศนูปกรณ์ และซอฟต์แวร์โปรแกรมต่างๆ เพื่อใช้ในวิเคราะห์ ศึกษาวิจัยการออกเสียงสำหรับนักศึกษาและบุคลากรไว้อย่างครบครัน

นอกจากนี้ สิ่งแวดล้อมในการเรียนภาษา (Target Language Environment) ก็เป็นเรื่องสำคัญ สาเหตุที่ผู้เรียนซึ่งไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ไม่สามารถบรรลุผลในการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เนื่องจากขาดโอกาสในการใช้ภาษาอังกฤษ โดยมักพบว่าแม้ผู้เรียนจะมีคะแนนการสอบที่สูง แต่อาจจะไม่สามารถพูดสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีเท่าที่ควร

ขณะที่ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกนั้นให้คะแนนความเป็นนานาชาติ (Internationalization) ด้วย แต่ปัจจุบันเนื่องด้วยสถานการณ์วิกฤติ COVID-19 ทำให้มีข้อจำกัดในการรับนักศึกษาจากต่างชาติเข้ามาเรียนในชั้นเรียนปกติ อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยยังคงสามารถสร้าง "บรรยากาศความเป็นนานาชาติ" ได้ด้วยการเพิ่มจำนวนหลักสูตรนานาชาติ หรือปรับรายวิชาต่างๆ ที่มีอยู่ให้จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมากขึ้น

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากจะมีความโดดเด่นในเรื่องการสอนภาษาตามหลักทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ประยุกต์ที่ได้มาตรฐานแล้ว ยังได้มีการจัดการเรียนการสอนที่คาบเกี่ยวกับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์ การละครและจิตวิทยา ฯลฯ เพื่อขับเคลื่อน Liberal Arts Education หรือ "ศิลปศาสตร์บูรณาการ" อย่างสมบูรณ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเป็น "ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล และการเป็นมหาวิทยาลัยอันดับโลกต่อไป

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4