เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ประเมินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ 1.9 ล้านล้านเหรียญฯ

จันทร์ ๐๘ มีนาคม ๒๐๒๑ ๑๕:๔๑
นายธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์ นักกลยุทธ์เศรษฐศาสตร์มหภาค บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ประเทศไทย) ประเมินว่า สหรัฐฯผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านเหรียญฯ ตามที่ตลาดคาด ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาวุฒิสภาสหรัฐฯมีมติ 50 ต่อ 49 เสียง ลงคะแนนผ่านมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 วงเงิน 1.9 ล้านล้านเหรียญฯ รายละเอียดดังนี้ 1)เงินช่วยเหลือโดยตรง (ให้ครั้งเดียว) 1,400 เหรียญฯ สำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยกว่า 7.5 หมื่นเหรียญฯ และคู่สมรส ที่มีรายได้รวมกันน้อยกว่า 1.5 แสนเหรียญฯ รวมเป็นวงเงิน 4 แสนล้านเหรียญฯ 2)เงินช่วยเหลือคนว่างงานเพิ่มขึ้นคนละ 300 เหรียญฯต่อสัปดาห์ (ลดลงจากแผนจากสภาล่างในสัปดาห์ก่อนที่ 400 เหรียญฯ) และจะขยายระยะเวลาการจ่ายถึง 6 กันยายน 65 จากเดิมที่สิ้นสุดในสัปดาห์นี้ 3)จัดสรรเงิน 3.5 แสนล้านเหรียญฯ ให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นแต่ละรัฐ 5)งบประมาณเพื่อขยายการตรวจเชื้อ วิจัย COVID-19 และยับยั้งการขยายของ COVID-19 วงเงิน 1.6 แสนล้านเหรียญฯ 6)ยังไม่มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดย Timeline ในช่วงถัดไปจะส่งกลับไปยังสภาล่าง (คาดโหวตอังคารนี้) และท้ายที่สุดคาดไบเดนจะสามารถลงนามได้ทันก่อน 14 มี.ค. ซึ่งเป็นวันที่มาตรการเยียวยาเดิมจะสิ้นสุดลง

ในขณะที่ภาคบริการได้ประโยชน์จาก Pent-up Demand และ Dollar แข็งค่าระยะยาว การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านเหหรียญฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนที่สูงถึง 8.9% ของ GDP สหรัฐฯในปี 2019 จะส่งผลให้ อุตสาหกรรมทั้งภาคการผลิตและภาคบริการได้ประโยชน์ (เช่นเดียวกับการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบก่อน) แต่ในครั้งนี้ธุรกิจภาคบริการที่มี Pent-up Demand จะมีแรงกระตุ้นให้ฟื้นได้เร็ว เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 เริ่มคลี่คลาย ต่างจากครั้งก่อนที่อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการเว้นระยะห่าง (WFH) ของตกแต่งบ้าน สินค้า IT ที่ได้ประโยชน์มากกว่า โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นตัวได้เร็วกว่าคาด ส่งผลให้ Dollar ระยะกลาง-ยาวมีทิศทาง แข็งค่า แต่ในระยะสั้น จากวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจที่เม็ดเงินค่อนข้างสูง อาจส่งผลให้ Dollar อ่อนค่าชั่วคราว

กลุ่มหุ้นไทยที่ได้ประโยชน์ในระยะกลาง-ยาว 1) BANK: ยังเป็นหุ้นกลุ่มหลักในฐานะหุ้นวัฎจักรที่ได้อานิสงค์บวกจากภาวะ Reflation อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2) ENERGY PETRO: ทิศทางราคา Commodity โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันดิบจะตอบรับเชิงบวกจากปัจจัยด้านอุปสงค์ 3) SERVICES (TOURISM, TRANS): หุ้นกลุ่มบริการที่โดนผลกระทบอย่างหนักในช่วงวิกฤต COVID-19 น่าจะฟื้นตัวได้เร็ว จาก Pent-up Demand ที่จะกลับมาได้แรงกว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบก่อนๆ เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ปัจจุบันเริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น จากการกระจายวัคซีนที่เร็วกว่าคาด 4) EXPORT (Electronics Food IE Packaging): หุ้นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ได้ประโยชน์ จากแนวโน้ม Dollar ที่เจอจุดต่ำสุด และเข้าสู่รอบการแข็งค่าในระยะยาว

 

ที่มา: บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๙ อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud