ม.มหิดล วิจัยเชิงนโยบาย ปรับนิยามผู้สูงอายุ-ขยายอายุแรงงาน

ศุกร์ ๐๙ เมษายน ๒๐๒๑ ๑๑:๓๓
วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ซึ่งเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั่วโลกขององค์การอนามัยโลก (WHO) คือการเป็น Active Aging หรือ "สูงวัยอย่างมีพลัง" ปัจจุบันพบว่าผู้สูงอายุในหลายประเทศที่พัฒนาแล้วยังคงทำงานพึ่งพาตนเอง เป็นการทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี จากการได้ทำงาน อยู่อย่างมั่นคง และมีคุณค่า แต่กลับพบว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาผู้สูงอายุไทยทำงานน้อยลงเรื่อยๆ

รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์ อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (IPSR) เปิดเผยว่า ผลจากงานวิจัยของสถาบัน IPSR พบว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ผู้สูงอายุไทยในปัจจุบัน มีจำนวนถึงประมาณ 12 ล้านคน หรือร้อยละ 18 ของประชากรทั้งหมด มีอัตราการทำงานเพียงประมาณ 1 ใน 3 โดยมีแนวโน้มน้อยลงเรื่อยๆ หลังเกษียณ หรืออายุ 60 ปีขึ้นไปในวัยผู้สูงอายุ ตามการนิยามผู้สูงอายุของไทย โดยส่วนหนึ่งเกิดจากมโนคติที่ว่า เมื่ออายุ 60 ปีแล้ว ถึงเวลาหยุดทำงานมาใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่กับลูกหลาน โดยมีรายได้หลักเพียงจากทรัพย์สินที่ตนออมไว้ และการเกื้อกูลจากลูกหลานในครอบครัว หรือเงินบำเหน็จบำนาญ เฉพาะในกลุ่มข้าราชการ พนักงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือผู้ประกันตน ประกันสังคมที่เข้าข่ายได้รับสิทธิประโยชน์ กรณีชราภาพ ซึ่งมีจำนวนไม่มาก

แต่ด้วยภาวะทางประชากรที่เปลี่ยนไป พบว่าประชากรไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมานิยมเป็นโสด แต่งงานและมีลูกกันน้อยลง จนส่งผลให้มีจำนวนอัตราการเกิดที่ต่ำลงด้วย จึงทำให้ผู้สูงอายุไทยในปัจจุบัน ไม่สามารถใช้ชีวิตในบั้นปลายได้อย่างมั่นคง ด้วยเพียงการเกื้อหนุนจากลูกหลานเป็นหลักเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่า การใช้ชีวิตอยู่โดยไม่มีความมั่นคงทางรายได้ จะทำให้เกิดพลังชีวิต หรือ Active ลดลง ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตอีกด้วย

ในจำนวนแรงงานทั้งหมดในประเทศไทย เพียงร้อยละ 10 เป็นแรงงานในภาครัฐ การขยายอายุเกษียณควรขึ้นอยู่กับบริบท การทำงานในแต่ละกลุ่มประชากร จะแตกต่างกันไปในแต่ละลักษณะงาน โดยที่ผ่านมาพบว่ามีข้าราชการเพียง 2 กลุ่มที่ได้รับการขยายอายุเกษียณ คือ อาจารย์ในมหาวิทยาลัย และข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม ซึ่งได้รับความมั่นคงจากระบบบำเหน็จ-บำนาญ นอกจากนั้นอยู่ในภาคเอกชนซึ่งได้รับการคุ้มครองจากระบบประกันสังคม และที่น่าเป็นห่วง คือ กลุ่มแรงงานนอกระบบที่ไม่ได้รับการคุ้มครองการทำงานในรูปแบบใดๆ ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว และแรงงานภาคเกษตร ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่อยู่ในสัดส่วนจำนวนมากในปัจจุบัน

จากการวิจัยประชากรในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ผ่านมา มีการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ได้ให้ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบาย เพื่อให้มีการปรับนิยามผู้สูงอายุ กำหนดกลุ่มเป้าหมายของการขยายอายุเกษียณ และการให้การคุ้มครองการ ทำงานที่ชัดเจน จากข้อมูลทางด้านสุขภาพพบว่า กลุ่มประชากรที่อยู่ในวัย 60 - 64 ปียังคงมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่แข็งแรง ตลอดจนมีความพร้อมทางด้านสติปัญญา และมากด้วยประสบการณ์ ถือเป็น Active Aging ซึ่งมีศักยภาพที่จะทำงานตามเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุขององค์การอนามัยโลก (WHO) ต่อไปได้

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจได้ที่ www.mahidol.ac.th Facebook: Mahidol University

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital