พช.จัดทำหลักสูตรโครงการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เอื้อประโยชน์ส่วนรวม

พฤหัส ๑๗ มิถุนายน ๒๐๒๑ ๑๗:๒๒
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2564 นางสาวประภาพรรณ วุ่นสุข ผอ.กลุ่มงานวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศชุมชน ซึ่งเป็นผู้ดูแลโครงการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเสริมสมรรถนะด้านไอที ให้กับกรมการพัฒนาชุมชน เน้นเพิ่มความสามารถของการบริการให้กับประชาชน ให้ดียิ่งขึ้นไป

นางสาวประภาพรรณ วุ่นสุข กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน มีการพัฒนาบุคลากรในหลายๆ ด้าน รวมไปถึงเทคโนโลยีและดิจิทัล ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี เคยกล่าวว่า ภาครัฐต้องผลิตในเรื่องของการบริการให้กับประชาชนในลักษณะของ ฟูล เซอร์วิส (Full Service) และ วัน สต๊อป เซอร์วิส (One Stop Service) ให้ได้ภายใน 3 เดือน ซึ่ง นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน มองว่า เราต้องเริ่มจากการพัฒนาระบบของกรมการพัฒนาชุมชน ทั้ง อินเทอร์นอล และ เอ๊กซ์เทอร์นอล ซึ่งหมายถึงระบบการใช้ภายใน ให้เอาเทคโนโลยีมาใช้ให้หมด โดยให้เป็นระบบ e-Saraban หรือ e- authorization และระบบ e-form ต่างๆ ส่วนระบบภายนอกก็พยายามปรับพวกรูปแบบการบริการต่างๆ ให้ลูกค้าใช้งานได้ง่ายที่สุด จึงเป็นการทำโปรเจคท์ใหญ่ชื่อว่า "ระบบบิ๊กดาต้ากรม" ซึ่งเป็นการรวมฐานข้อมูลทั้งหมดของกรม ให้เกิดเป็นรูปแบบของการวิเคราะห์และสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งการบริหารและการบริการ และถ้าเราทำ "ระบบบิ๊กดาต้ากรม" ภายใน 3 เดือน โดยเอาฐานข้อมูล 8 ฐานของกรมมาทำเป็น 4 ก้อนบิ๊กดาต้าก็คือ บิ๊กดาต้าของการพัฒนาชุมชน บิ๊กดาต้าของเศรษฐกิจฐานราก บิ๊กดาต้าทุนชุมชน และบิ๊กดาต้าเศรษฐกิจชุมชน ซึ่ง อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า ทำยังไงให้คนของเราสามารถใช้งานได้ รวมถึงนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ด้วย จึงได้เกิดการริเริ่มโครงนี้ขึ้นมาชื่อว่าหลักสูตร "Digital literacy" ซึ่งมาเป็นแพ็คเกจ มี 5 ชุดวิชา ดังนี้

  1. การทำเว็บ Application เบื้องต้น ซึ่งได้รับความสนใจจากทุกสำนักกอง ซึ่งวันที่ 17 มิถุนายน เป็นการอบรมวันแรก
  2. การทำ Infographic จะเปิดอบรมในวันที่ 18 มิถุนายน จะช่วยให้การจัดทำเอกสารสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ซึ่งผู้บริหารให้ความสนใจในเรื่องนี้พอสมควร
  3. การทำ google studio เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ในรูปแบบของกราฟ หรือแผนที่ เป็นการจัดการข้อมูลให้ง่ายต่อการเข้าใจ
  4. การทำ social-listening เป็นการนำข้อมูลจากสื่อโซเชียลต่างๆ มาวิเคราะห์ อาทิเช่น อยากรู้ข้อมูล OTOP จากภายนอกว่าเป็นอย่างไรบ้าง
  5. การทำ tableau เป็นเครื่องมือง่ายๆ ของการนำเสนอข้อมูลที่ต้องการให้ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ

นางสาวประภาพรรณ วุ่นสุข กล่าวว่า เป้าหมายที่วางไว้สำหรับโครงการนี้ โดยเฉพาะการทำเว็บ Application เบื้องต้น ผู้เข้าอบรมต้องมีพื้นฐานพอสมควร ซึ่งเรียนกันอย่างเข้มข้นให้รู้เรื่องภายในวันเดียวก็ทำเว็บได้เลย มีผู้สมัครจำนวนกว่า 100 คน ทุกวิชา แต่ต้องจำกัดผู้เข้าเรียนด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงต้องเหลือเพียงครั้งละ 20 คน ในแต่ละวิชา ส่วนคนที่เข้าเรียนไม่ได้ ซึ่งลงทะเบียนไว้อีกประมาณ 500 คน เราจะไม่ทิ้งพวกเขา เพราะเขามีความสนใจที่จะเรียน โดยเราจะมีการจัดทำการบันทึก, คู่มือ, e-book, วิดีโอสอนออนไลน์ พร้อมแนบคู่มือให้ด้วย ซึ่งหลังการอบรมวันที่ 17 มิถุนายน เราจะจัดทำหลักสูตรออนไลน์ทันที และจะปล่อยหลักสูตรออนไลน์ของทั้ง 5 วิชา ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ที่จะถึงนี้ ในเว็บไซต์ของกรมการพัฒนาชุมชน https://www.cdd.go.th/ ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาเรียนออนไลน์ได้เช่นกัน

ที่มา: อิมเมจ โซลูชั่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๓๐ นิสิตวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวฯ มก. คว้า 3 รางวัล การแข่งขัน 5MSPP 2024 ชนะเลิศ-รองชนะเลิศอันดับ 1-ชมเชย
๑๓:๒๘ คณะวิศวฯ มก. สำรวจ-แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม พื้นที่สหกรณ์กองทุนสวนยางโนนสัง จ.หนองบัวลำภู
๑๓:๑๓ ผู้บริหาร- อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือ ม.ไต้หวัน
๑๓:๔๖ DE BEAU CLINIC ตอกย้ำเป็นผู้นำคลินิกเสริมความงาม ฉลองครบรอบ 14 ปี ปล่อยโปรสุดพิเศษ!
๑๓:๒๕ PRM ขนส่งน้ำมัน Jet A1 พุ่ง อานิสงส์ท่องเที่ยวซัมเมอร์หนุน
๑๓:๒๐ วว. โดย สถานีวิจัยลำตะคอง จัดกิจกรรมต้อนรับปิดเทอม ยอดนักสืบ.โลกแมลง รุ่นที่ 1
๑๓:๔๕ ลงพื้นที่สำรวจแปลงมะพร้าวติดตามสถานณ์โรคและแมลงในช่วงฤดูแล้ง
๑๓:๒๓ แม็ทชิ่ง กรุ๊ป จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 แนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง มั่นใจรายได้เป็นไปตามเป้า
๑๓:๔๖ เอเอ็มอาร์ เอเซีย จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผ่านฉลุย ผู้ถือหุ้นมีมติเห็นชอบทุกวาระ
๑๓:๑๙ Prepay Nation ร่วมมือกับ MULA เพื่อลดช่องว่างทางการเงินสำหรับแรงงานต่างด้าว