กสร. ร่วมกับ IOM เปิดตัว คู่มือสำหรับภาคธุรกิจวิธีไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน มุ่งป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน

จันทร์ ๒๐ กันยายน ๒๐๒๑ ๑๐:๐๗
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานร่วมกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ประเทศไทยจัดทำคู่มือสำหรับภาคธุรกิจวิธีไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานภายใต้กฎหมายแรงงานไทย สนับสนุนการปฏิบัติ ตามหลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UNGP) รวมถึงมาตรการในการยกระดับการเข้าถึงการแก้ไขเยียวยาสำหรับแรงงานทุกสัญชาติรวมไปถึงแรงงานข้ามชาติ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน

นางโสภา เกียรตินิรชา รองอธิบดีและโฆษกกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ร่วมกับ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ประเทศไทย จัดทำคู่มือสำหรับภาคธุรกิจวิธีไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานภายใต้กฎหมายแรงงานไทย เพื่อส่งเสริมบทบาทของนายจ้างและสนับสนุนลูกจ้างให้เข้าถึงกลไกการร้องทุกข์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน รวมทั้งผลักดันให้ภาคธุรกิจตระหนักในบทบาทของตนเองในการเคารพกฎหมายแรงงาน อันเป็นสิ่งจำเป็นในการสนับสนุนการปฏิบัติตามหลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UNGP) รวมถึงมาตรการในการยกระดับการเข้าถึงการแก้ไขเยียวยาสำหรับแรงงานทุกสัญชาติรวมไปถึงแรงงานข้ามชาติ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมภาคธุรกิจในการยกระดับแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติให้ได้รับการดูตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยมอบหมายให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทำหน้าที่ในการผลักดันสนับสนุนผู้ว่าจ้างไทย เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ล่าม และพนักงานในบริษัท  ที่ทำงานกับแรงงานข้ามชาติโดยตรงในการปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานด้านสิทธิแรงงาน รวมถึงการทำความเข้าใจและการเคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรมในการดำเนินงานทางธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น

โฆษก กสร. กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยเป็นจุดหมายของแรงงานข้ามชาติเกือบ 4 ล้านคน ทั้งจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมียนมา และเวียดนามซึ่งต่างช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยคู่มือสำหรับภาคธุรกิจวิธีไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานภายใต้กฎหมายแรงงานไทย ถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนให้แรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติได้รับทราบข้อมูลพื้นฐานภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมายแรงงาน ส่งผลให้การรวมกันของแรงงานที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมอยู่ร่วมกันโดยได้รับการคุ้มครอง มีสภาพการจ้าง และสภาพการทำงานที่ดี ได้รับการยอมรับและเคารพในสิทธิมนุษยชน มีขวัญกำลังใจในการทำงาน และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า นำมาซึ่งความร่วมมือในการพัฒนาให้องค์กรเติบโตอย่างมีคุณภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน โดยสถานประกอบกิจการภาคธุรกิจสามารถประสานรับข้อมูลได้ที่ https://publications.iom.int หรือ Facebook IOM Thailand

ที่มา: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน