ลดความเสี่ยงไฟไหม้! "นายกสภาวิศวกร" เตือนโรงงานคุมเข้มมาตรการป้องกันไฟไหม้ซ้ำ ต้องมีแผนจัดการ "ก่อนเกิด-ขณะเกิด-หลังเกิด" เพื่อลดการสูญเสียชีวิต-ทรัพย์สิน

พฤหัส ๒๘ ตุลาคม ๒๐๒๑ ๑๑:๔๐
ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร และ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) แนะทางออกโรงงานไฟไหม้ซ้ำ ด้วยมาตรการ 3 ระยะ ลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน เพิ่มความปลอดภัยการใช้ชีวิตในภาคประชาชน ดังนี้ 1. มาตรการก่อนเกิดเหตุ ที่สามารถทำได้โดยการเร่งทำระบบฐานข้อมูล ใช้มาตรการด้านผังเมืองท้องถิ่นควบคุมการผลิต ติดตาม-ตรวจสอบโรงงานอยู่สม่ำเสมอ เตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์กู้ภัย 2. มาตรการขณะเกิดเหตุ ด้วยการปรับปรุงแผนปฏิบัติการที่ทันสมัยและได้มาตรฐานสากล มีระบบบัญชาการพื้นที่ชัดเจน มีมาตรการการอพยพคน-การเคลื่อนย้ายรวดเร็ว และ 3. มาตรการหลังเกิดเหตุ ที่จำเป็นต้องทำต่อเนื่อง ผ่านการตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อเนื่อง สอบสวนเหตุการณ์เชิงลึก และพัฒนาองค์ความรู้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผ่านการร่วมประชุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร และ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ปลายปี 2563 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน พบว่า โรงงานภาคอุตสาหกรรมประสบเหตุโรงงานระเบิดหรือไฟไหม้อย่างต่อเนื่อง ทั้งท่อแก๊สระเบิด โรงงานเม็ดโฟมระเบิด และล่าสุดโรงงานรองเท้าไฟไหม้ ที่ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่โดยรอบเป็นอย่างมาก จากการฟุ้งกระจายของสารเคมีในชั้นบรรยากาศ รวมถึงการตกค้างของสารเคมี-แก๊สพิษในแหล่งน้ำธรรมชาติ ผิวดิน หรือแม้กระทั่งผลผลิตทางการเกษตร ในฐานะ "นายกสภาวิศวกร" และพลเมืองคนหนึ่งที่มีบ้านและครอบครัวในกรุงเทพ ขอยื่นข้อเสนอแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้มาตรการแก้ปัญหา 3 ระยะตามหลักวิศวกรรม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียหรือผลกระทบข้างต้น อีกทั้งสร้างความปลอดภัยเพื่อลดความตื่นตระหนกในภาคประชาชน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  • มาตรการป้องกันก่อนเกิดเหตุ (ซ้ำซาก) ผ่านการดำเนินงานใน 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) เร่งทำระบบฐานข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของโรงงาน โดยเฉพาะโรงงานที่มีตำแหน่งตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลใกล้ชุมชน ได้แก่ วัตถุดิบในการผลิต สารเคมีอันตราย ขนาดความจุ สถานที่เก็บ และสถานะของเครื่องจักรที่ได้รับการตรวจสอบล่าสุดเมื่อใด ฯลฯ พร้อมทั้งแจ้งให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นผู้รับผิดชอบทราบทันที (2) ใช้มาตรการด้านผังเมืองท้องถิ่นควบคุมการผลิต หรือแรงม้าเครื่องจักร เพื่อป้องกันมิให้โรงงานไม่สามารถขยายกำลังการผลิตที่มีความเสี่ยงต่อชุมชนได้ (3) ติดตาม-ตรวจสอบโรงงานอยู่สม่ำเสมอ โดยเปิดโอกาสให้ชุมชนที่อยู่รอบในรัศมี เข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบ เป็นหูเป็นตาให้รัฐ และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และ (4) เตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์กู้ภัย ผ่านการจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ดับเพลิง สารเคมีที่ใช้ดับเพลิง การตรวจสอบซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องมือที่ชำรุดการไม่ได้ การติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย รวมทั้งการปรับปรุงสถานีดับเพลิงให้ได้มาตรฐาน ฯลฯ
  • มาตรการขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ (ที่ผิดพลาดประจำ) ผ่านการดำเนินงานใน 3 แนวทางได้แก่ (1) ปรับปรุงแผนปฏิบัติการตามมาตรฐานสากลและทันสมัย นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ทั้งการสื่อสาร การควบคุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าระงับเหตุ ตลอดจนลดผลกระทบที่อาจจะเกิดทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน (2) มีระบบบัญชาการพื้นที่หรือต้องมีผู้บัญชาการเหตุการณ์อย่างชัดเจน มีความรู้รอบด้านและสามารถรวบรวมผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจากทุกหน่วยเข้าระงับเหตุอย่างทันท่วงทีและแม่นยำ (3) มีมาตรการการอพยพคน การเคลื่อนย้ายของอย่างรวดเร็วแบบญี่ปุ่น กำหนดจุดนัดพบหรือจุดรับการอพยพ ซึ่งในปัจจุบันพื้นที่กรุงเทพฯ ยังไม่มีจุดนัดพบดังกล่าว!?
  • มาตรการหลังเกิดเหตุ (จำเป็นมาก) นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่จำเป็นอย่างยิ่งภายหลังการระงับเหตุเป็นไปอย่างเรียบร้อยและปลอดภัย ผ่านการดำเนินงานใน 3 ขั้นตอน ดังนี้ (1) ตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อเนื่อง พร้อมวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ ตลอดจนสุขภาพของประชาชน เพื่อกำหนดมาตรการเยียวยาพื้นที่และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอย่างเป็นธรรม (2) ต้องสอบสวนเหตุการณ์เชิงลึก หาสาเหตุของการเกิดเหตุและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อถอดบทเรียนจริงจัง พัฒนาองค์ความรู้เพื่อป้องกันเหตุซ้ำซาก ซึ่งในต่างประเทศมีการถอดบทเรียนเป็นกรณีตัวอย่างให้ผู้สนใจได้ศึกษาโดยละเอียด (3) พัฒนาองค์ความรู้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผ่านการร่วมประชุมทุกฝ่าย ระหว่างผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกับหน่วยงาน ตลอดจนนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง

"อย่างไรก็ดี เหตุอัคคีภัยดังกล่าวจะลดน้อยถอยลงได้ หน่วยงานทุกภาคส่วนต้องผนึกกำลังกันอย่างแข็งขัน ผ่านการถอดบทเรียนเพื่อจัดทำเป็นกรณีศึกษาหรือวาระแห่งชาติ เพื่อร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการ จัดกิจกรรมฝึกปฏิบัติการดับเพลิงหรือเลือกใช้สารดับเพลิงที่สอดคล้องกับสารเคมีก่อประกายไฟ หรือกระทั่งการบรรจุหลักสูตรการเอาตัวรอดแก่ภาคประชาชน โดยอาจจะเริ่มจากระดับอนุบาล เป็นต้น อันจะนำไปสู่มาตรการเฝ้าระวังและระงับเหตุอัคคีภัยในระดับโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้มาตรฐาน และเหมาะสมกับการนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ต่าง ๆ ในอนาคต #จะทำก็ทำได้" ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา: เจซีแอนด์โค คอมมิวนิเคชั่นส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ ต.ค. Amarin Baby Kids Awards 2024 มอบรางวัลแก่สุดยอดแบรนด์เพื่อแม่ลูก ปีที่ 6
๒๒ ต.ค. รวมก๊วนสัตว์ป่วนสุดน่ารัก มาบุกหัวหินแย้ว!! PET FRIEND HUAHIN 2024
๒๒ ต.ค. หมูสองชั้นหมูกระทะ หมูกระทะบุฟเฟต์ห้องแอร์ 219.- บาท เจ้าแรกในเมืองไทย! เปิดตัวสาขาใหม่ ที่ The Prom ดินแดง พร้อมคอนเซ็ปต์ Have Fun ยันหว่าง ตั้งแต่เที่ยงวัน ยันตี
๒๒ ต.ค. สพร.42 หนองคาย จัดประชุมเจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 42 หนองคาย ครั้งที่ 1/2568
๒๒ ต.ค. สสก.2 จ.ราชบุรี ประชุมขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันตก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1
๒๒ ต.ค. ซีอีโอ - บมจ. ไทย ออโต ทูลส์ แอนด์ ดาย รับโล่เชิดชูเกียรติ บุคคลคุณภาพแห่งปี 2024
๒๒ ต.ค. แอสเซทไวส์ ต้อนรับ เฟม ชุติพงศ์ Mister International Thailand 2024 สู่ 'AssetWise Family' ส่งมอบคอนโดแต่งครบพร้อมอยู่ โครงการ แอทโมซ โฟลว์
๒๒ ต.ค. ร่วมเฉลิมฉลองเทศกาล D?a de los Muertos สไตล์เม็กซิกัน ณ เม็กซิกาโน่ เรสเตอรองท์ ออเทนติโก้ โรงแรมแรมแบรนดท์
๒๒ ต.ค. Beam สตาร์ทอัพฟินเทคไทย ปิดจุดอ่อนระบบรับชำระเงินด้วยภารกิจ สร้างการชำระเงินที่ง่ายที่สุด สร้างรายได้ปีละ 100 ล้านใน 3 ปี พร้อมมุ่งสู่วิสัยทัศน์ The World's Simplest Ways to
๒๒ ต.ค. ขอบคุณความเชื่อมั่นที่มีต่อ 'ฮอนด้า เอชอาร์-วี อี:เอชอีวี ใหม่' ด้วยยอดจองสิทธิ์กว่า 3,000 คัน ตอกย้ำความเป็นรถ SUV