ดีอีเอส ประกาศหนุนการจัดการการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมในวิกฤตสุขภาพ

พฤหัส ๑๖ ธันวาคม ๒๐๒๑ ๑๖:๒๑
ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลฯ หนุนวาระขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 14 ย้ำความสำคัญเรื่องการจัดการการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมในวิกฤตสุขภาพ เผยผลงานศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม 2 ปีที่ผ่านมา พบเฟคนิวส์ข่าวหมวดสุขภาพที่เข้าเกณฑ์ตรวจสอบ 6,704 เรื่อง

นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวในโอกาสร่วมเปิดการประชุมและรับรองระเบียบวาระสมัชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 14 พ.ศ. 2564 ว่า กระทรวงดิจิทัลฯ และคณะกรรมการจัดการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 14 มีบทบาทร่วมกันในการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในประเด็น การจัดการการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมในวิกฤตสุขภาพ

ทั้งนี้ การสื่อสารในภาวะวิกฤตสุขภาพ มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะประเด็นการสื่อสารที่สร้างความสับสนในสังคม เช่น ข่าวลวง ข่าวปลอมและการบิดเบือนข้อเท็จจริง ที่สร้างผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อการสื่อสารและล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ภายใต้การดำเนินงานของกระทรวงดิจิทัลฯ มีหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบ วิเคราะห์ และรับแจ้งเบาะแสข้อมูลข่าวสารที่นำเสนอไม่ตรงข้อเท็จจริงที่ถูกเผยแพร่อยู่ในสังคม และนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องให้ทุกหน่วยงาน รวมถึงภาคประชาชนรับทราบโดยตรงอย่างทันท่วงที

โดยนับตั้งแต่จัดตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 62 ปัจจุบันพบเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ในหมวดข่าวสุขภาพ จำนวนรวม 6,704 เรื่อง (อัพเดท ณ วันที่ 30 พ.ย. 64)

"เราขอสนับสนุนร่างมติระเบียบวาระการจัดการการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมในวิกฤตสุขภาพ

ในทุกประเด็น โดยเฉพาะในข้อ 3 เรื่องการสื่อสารในภาวะวิกฤตอย่างมีส่วนร่วมที่ครอบคลุม

และทั่วถึง และข้อ 6 เรื่องการให้ความสำคัญกับการกำกับทิศทาง และความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารวิกฤตสุขภาพในสังคม โดยบังคับใช้ระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม เป็นธรรม รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์" นางสาวชมภารีกล่าว

โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเฝ้าระวัง จัดการกับข่าวลวง ข่าวปลอม และการบิดเบือน ที่สร้างผลกระทบต่อความเชื่อมั่นที่มีต่อการสื่อสารของภาครัฐ และการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลในสังคม ตลอดจนประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานและช่องทางรับข้อมูลจากประชาชน ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบันด้วย

นางสาวชมภารี กล่าวว่า นอกจากนี้ต้องสร้างให้เกิดความเข้าใจ ในกระบวนการตรวจสอบข่าวปลอมได้ด้วยตนเอง วิธีเช็คแหล่งที่มา วิธีสังเกต การพาดหัวข้อข่าว การแจ้งเบาะแสให้กับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี การชี้แจงข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับทราบอย่างรวดเร็วกรณีปัญหาข่าวปลอม ในสื่อต่างๆ เน้นความรวดเร็ว และทุกจังหวัดอาจต้องเตรียมพร้อมในการจัดให้มีศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมจังหวัด เพื่อตรวจสอบข่าวปลอม ที่เกี่ยวข้องและต้องมีการชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบ

ขณะเดียวกัน กระทรวงดิจิทัลฯ มีแผนการดำเนินการอย่างต่อเนื่องของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ที่มุ่งเน้นสร้างการรับรู้เพื่อรู้เท่าทันปัญหาข่าวปลอมให้กับประชาชน และสร้างเครือข่ายสนับสนุนการขับเคลื่อนการตรวจสอบเฝ้าระวังการเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมและประชาชน

ที่มา: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๒๒ เสนา ตอกย้ำความสำเร็จ ในการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
๐๙:๑๑ EP พร้อมเดินหน้ารับรู้รายได้โรงไฟฟ้าพลังงานลม ดันผลงานปี67โตทะยาน 4 เท่า หลังได้รับการสนับสนุนเงินกู้ Project Finance จาก
๐๙:๓๘ BEST Express บุก บางบัวทอง เปิดแฟรนไซส์ขนส่งสาขาใหม่ มุ่งศึกษาพื้นที่ เจาะกลุ่มลูกค้าที่แตกต่าง ตอบความต้องการตรงจุด
๐๙:๑๗ ผถห.TQR โหวตจ่ายปันผลปี 66 อีก 0.226 บ./หุ้น รวมทั้งปี 0.40 บ./หุ้น ลุยพัฒนาโปรดักส์ประกันภัยต่อรูปแบบใหม่เต็มสปีด
๐๙:๓๗ CPANEL APM ร่วมต้อนรับคณะนักธุรกิจชาวกัมพูชา พร้อมนำเยี่ยมชมกระบวนการผลิต Precast จ.ชลบุรี
๐๘:๒๒ SCGP ทำกำไรไตรมาสแรก 1,725 ล้านบาท เดินหน้ากลยุทธ์สร้างการเติบโตอย่างมีคุณภาพ
๐๘:๐๑ คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนมัธยม โชว์หลักสูตรฉุกเฉินการแพทย์
๐๘:๔๗ ค่ายสมหวัง สร้างโอกาส รุ่นที่ 4 ขยายความรู้ทางการเงินสู่เครือข่ายคนรุ่นใหม่ต่อเนื่อง
๐๘:๕๓ ส่องสัญญาณฟื้นตัว ตลาดรับสร้างบ้านไตรมาส 2 รับผลบวกมาตรการรัฐกระตุ้นกำลังซื้อ - ยอดสั่งสร้าง
๐๘:๕๕ RSP จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห.ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.13 บ./หุ้น กำหนดจ่าย 15 พ.ค. นี้