ม.มหิดล ผลักดันสตาร์ทอัพผลิต RT-LAMP เวอร์ชัน 3 ครอบคลุมตรวจOMICRON ผ่านการรับรองจาก อย.

จันทร์ ๒๔ มกราคม ๒๐๒๒ ๑๗:๑๓
กว่าครึ่งทศวรรษที่ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ฝ่าฟันกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกเพื่อประเทศชาติได้บรรลุเป้าหมายนโยบายไทยแลนด์ 4.0 มาถึงปีพ.ศ.2565 นี้ ได้เปิดมิติใหม่จาก "Technology Management" สู่ "Technology Institute" ภายใต้การบริหารโดยผู้อำนวยการท่านปัจจุบันรองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ อาจารย์วิศวกรชีวการแพทย์ผู้คร่ำหวอดด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชน อาทิ"ALERTZ" หรือนวัตกรรมป้องกันการหลับในขณะขับรถหรือล่าสุด "CHEM METER" หรือเครื่องตรวจวัดความเค็มในอาหาร โดยใช้หลักการวัดการนำไฟฟ้า เป็นต้น
ม.มหิดล ผลักดันสตาร์ทอัพผลิต RT-LAMP เวอร์ชัน 3 ครอบคลุมตรวจOMICRON ผ่านการรับรองจาก อย.

"สิ่งที่เราจะได้เห็นนับจากนี้ไป คือ การพลิกโฉมสถาบัน iNT สู่การเป็น "Startup Incubation Academy" หรือสถาบันบ่มเพาะสตาร์ทอัพในเฟสแรกๆ อย่างจริงจัง หมดสมัยแล้วที่เราจะผลักดันนักศึกษาให้เป็นสตาร์ทอัพทีละราย ต่อไปจะได้เห็นกลุ่มสตาร์ทอัพเสริมแกร่งด้วยเทคโนโลยีที่ใช้ประโยชน์ได้จริงแบบบูรณาการ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการก้าวสู่การเป็นสตาร์อัพใน scale ที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งจะเป็นการร่วมผลักดันประเทศไทยให้สามารถก้าวสู่การเป็นประเทศนวัตกรรมได้ทัดเทียมนานาประเทศต่อไป" รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ กล่าว

บทบาทหลักของสถาบัน iNT ต่อไป คือ "Facilitator" ผู้ผลักดันและส่งเสริมนักศึกษาสู่การเป็นสตาร์ทอัพให้ไปได้ถึงฝั่งฝัน โดยจะสร้าง Ecosystem ที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมสู่การเป็น "Startup Incubation Village" ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง ด้วยการนำทรัพยากรที่มีอยู่แล้วของแต่ละคณะ/สถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีสถาบัน iNT ทำหน้าที่คอยให้คำปรึกษา และร่วมวางแผน ซึ่งจะเป็นทั้ง "Co-working Space" สำหรับพบปะระดมสมอง และ "Maker Space" ที่พร้อมด้วยอุปกรณ์สนับสนุนไอเดียให้เกิดเป็นรูปเป็นร่าง

นอกจากนี้ นักศึกษายังสามารถใช้ MaSHARES Co-working Space@MB สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลมหาวิทยาลัยมหิดล True LAB ชั้น 2 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล (MLC) และ ณ บริเวณหอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างสาขา โดยสถาบัน iNT พร้อมที่จะทำให้ทุกฝันของการมุ่งสู่เส้นทางสตาร์ทอัพเป็นจริง

ตัวอย่างที่นับเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยมหิดลภายใต้การบ่มเพาะโดยสถาบัน iNT ได้แก่ กลุ่มสตาร์ทอัพนักศึกษาสาขาวิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย นายกวิน น้าวัฒนไพบูลย์ ที่ได้ต่อยอดพัฒนาชุดตรวจ RT-LAMP ซึ่งเป็นผลงานนวัตกรรมร่วมระหว่างคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่เมื่อครั้งที่เริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จนปัจจุบันได้พัฒนาสู่เวอร์ชัน 3 ที่สามารถตรวจครอบคลุมสายพันธุ์OMICRON และสายพันธุ์อื่นๆ ที่ทางองค์การอนามัยโลก(WHO) ประกาศให้เฝ้าระวัง ได้แก่ DELTA, ALPHA และBETA

"สายพันธุ์ OMICRON เกิดจากการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสCOVID-19 จนทำให้สามารถเข้าไปจับกับเซลล์ในร่างกายได้ง่ายขึ้น ซึ่งการกลายพันธุ์เป็นธรรมชาติของเชื้อไวรัสโดยทั่วไป สำหรับชุดตรวจ RT-LAMP เวอร์ชัน 3 นี้นอกจากผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยา (อย.) แล้ว ยังมีจุดเด่นที่ความไว และเวลาที่ใช้ตรวจที่สั้นกว่าสองเวอร์ชันแรก โดยมีความไวถึงร้อยละ 96.51 และใช้เวลาตรวจเพียง 30 นาทีจากการเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งหลังโพรงจมูก (Nasal Swab) หรือการป้ายลำคอ (Throat Swab) สามารถดูผลการติดเชื้อได้จากการเปลี่ยนสีของน้ำยา ผลลบจะเป็นสีชมพูเหมือนเดิม แต่ผลบวกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ชุดตรวจ RT-LAMP นี้ใช้ตรวจเฉพาะในห้องปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งให้ความแม่นยำกว่าการตรวจด้วย ATK" นายกวิน น้าวัฒนไพบูลย์ กล่าว

อาจารย์ แพทย์หญิงรพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด อาจารย์ประจำสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แสดงความห่วงใยประชาชนถึงการป้องกันความรุนแรงที่จะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 สายพันธุ์ OMICRON ว่าสามารถทำได้ด้วยการเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันCOVID-19 อย่างน้อย 2 เข็ม ซึ่งถึงแม้จะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อที่กลายพันธุ์ได้ 100% แต่ก็สามารถช่วยลดความรุนแรงของอาการที่อาจเกิดขึ้นจนถึงกับต้องเข้ารับการรักษาในห้อง ICU ได้ โดยควรปฏิบัติตามสูตรการฉีดวัคซีนต่อเนื่องที่ประกาศโดยกรมควมคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

"การเตรียมพร้อมร่างกายก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันCOVID-19 ด้วยการควบคุมเบาหวาน ไขมัน ความดัน และน้ำหนักตัว จะทำให้เมื่อได้รับวัคซีนแล้วร่างกายจะแสดงปฏิกิริยาน้อยลง และถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ดูแลสุขภาพไปด้วย ซึ่งการฉีดวัคซีนควรทำเมื่อพร้อม และในรายที่มีปัญหาสุขภาพอยู่ก่อนแล้ว ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนควรปรึกษาแพทย์" อาจารย์ แพทย์หญิงรพีพรรณ รัตนวงศ์นรามอร์ด กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้