ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย เสริมทัพปั้นจั่นยกตู้สินค้า ระบบปฏิบัติการอัจฉริยะควบคุมจากระยะไกลชุดใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

พุธ ๒๙ มิถุนายน ๒๐๒๒ ๑๐:๓๐
บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ผู้ประกอบการท่าเรือชั้นนำในประเทศไทย เดินหน้าพัฒนาท่าเทียบเรือชุดดี (Terminal D) ณ ท่าเรือแหลมฉบัง ตอกย้ำความเป็นผู้นำในด้านการให้บริการท่าเทียบเรือตู้สินค้าระดับแนวหน้าของโลกด้วยการเสริมทัพให้กับปั้นจั่นยกตู้สินค้า ด้วยระบบปฏิบัติการอัจฉริยะควบคุมจากระยะไกลชุดใหม่ ที่ทำงานทั้งหมดด้วยระบบไฟฟ้า เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น และลดอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย เสริมทัพปั้นจั่นยกตู้สินค้า ระบบปฏิบัติการอัจฉริยะควบคุมจากระยะไกลชุดใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

ปัจจุบัน ท่าเทียบเรือชุดดีของฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย นับเป็นท่าเทียบเรือที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในประเทศไทย บริษัทยังคงเดินหน้าพัฒนาท่าเทียบเรือแห่งนี้โดยมีเป้าหมายสู่การเป็นหนึ่งในต้นแบบของท่าเทียบเรือที่ใช้ระบบปฏิบัติการควบคุมจากระยะไกลแบบเต็มรูปแบบ และล่าสุดได้นำเข้าเครื่องจักรยกขนตู้สินค้าเพิ่มเติม ได้แก่ ปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าควบคุมจากระยะไกล (remoted control ship to shore cranes) จำนวน 4 คัน ปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยาง (remote-control rubber tyred yard cranes) จำนวน 8 คัน ซึ่งทำงานด้วยพลังงานไฟฟ้าและรถยกตู้คอนเทนเนอร์ (reach stacker) จำนวน 3 คัน ที่จะเข้าประจำการที่ท่าเทียบเรือชุดดี ณ ท่าเรือแหลมฉบังในเดือนมิถุนายน 2565 นอกจากนี้ภายในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ บริษัทยังเตรียมรับมอบรถบรรทุกไร้คนขับ ควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ (autonomous truck) จำนวน 9 คัน และรถบรรทุกขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า จำนวน 9 คัน

นับตั้งแต่เริ่มการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2559 ได้ใช้เงินลงทุนไปแล้วมากกว่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ท่าเทียบเรือชุดดี ของฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ณ ท่าเรือแหลมฉบังยังคงเดินหน้าในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถให้บริการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้บริการเรือขนส่งตู้สินค้าที่มีขนาดใหญ่ซึ่งใช้ในการขนส่งสินค้าทางทะเลในปัจจุบัน

ปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าควบคุมจากระยะไกลชุดใหม่ของฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย มีระบบการทำงานที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นและยังช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถจัดการกับตู้สินค้าได้เต็มที่มากยิ่งขึ้น โดยผู้ปฏิบัติงานสามารถติดตามการทำงานของอุปกรณ์ได้จากศูนย์ควบคุมส่วนกลางเพียงจุดเดียวผ่านกล้องวงจรปิดมากถึง 19 ตัว นอกจากนี้ ปั้นจั่นยกตู้สินค้าควบคุมจากระยะไกลสุดล้ำนี้เป็นการผสานเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพให้ระบบปฏิบัติการหน้าท่า ไม่ว่าจะเป็นระบบป้องกันการยกตู้สินค้ากระแทกตู้ที่กีดขวาง ระบบป้องกันและตรวจสอบตู้สินค้า ขณะที่ระบบกึ่งอัตโนมัติยังช่วยให้การยกขนและวางตู้สินค้าทำได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ระบบ Chassis Position System: CPS ยังช่วยกำหนดตำแหน่งการจอดรถหัวลากสำหรับรับ-ส่งตู้คอนเทนเนอร์ ช่วยเสริมในเรื่องความปลอดภัย และระบบ Smart Landing System ที่ทำให้สามารถจัดวางตู้สินค้าทั้งบนรถและบนเรือให้มีความปลอดภัยและตรงตามตำแหน่งที่กำหนดไว้อีกด้วย

สำหรับปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยาง (remote-control rubber tyred yard cranes) ยังผนวกความสามารถในการทำงานที่เสริมเรื่องความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็น Anti-Collision Automation System ระบบสื่อสารระหว่างปั้นจั่นเพื่อป้องกันไม่ให้ปั้นจั่นเคลื่อนเข้าหากันเอง, ระบบ Gantry Position and Auto Gantry Steering System ที่ช่วยให้ปั้นจั่นเคลื่อนได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และระบบ Target Detection System ที่ช่วยตรวจสอบความสูงของตู้สินค้าในแถวเดียวกันและแถวต่อไปตามทิศทางการเคลื่อนที่ของปั้นจั่นเพื่อช่วยในการวางตู้สินค้าได้ตรงตำแหน่ง เป็นต้น

ทั้งนี้ เมื่อท่าเทียบเรือชุดดีของฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทยดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ จะมีความยาวหน้าท่าถึง 1,700 เมตร และความลึกหน้าท่า 16 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง พรั่งพร้อมด้วยเทคโนโลยีระบบควบคุมจากระยะไกลสุดทันสมัยสำหรับการปฏิบัติงาน ประกอบด้วยปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าทั้งหมด 17 คัน และปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยาง 43 คัน ที่จะสามารถรองรับการขนถ่ายตู้สินค้าต่อปี ณ ท่าเทียบเรือแห่งนี้ได้ถึง 3.5 ล้าน TEU (สำหรับตู้สินค้าขนาด 20 ฟุต)

มร. สตีเฟ้นท์ อาร์ชเวิรท กรรมการผู้จัดการ ฮัทชิสัน พอร์ท ประจำประเทศไทย และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า "นับเป็นพัฒนาการที่น่าตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งอันจะช่วยย้ำเตือนถึงเป้าหมายของเราสู่การเป็นผู้ประกอบการท่าเรียบเรือที่ยั่งยืนอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งยังสามารถช่วยให้การปฏิบัติงานนั้นมีความราบรื่นและปลอดภัยมากยิ่งขึ้นด้วย เรายังคงเดินหน้าลงทุนในเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยเพื่อเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งทางเรือระดับโลกอย่างเต็มภาคภูมิ นอกจากนี้ เครื่องมือชุดใหม่เหล่านี้ไม่เพียงแต่จะช่วยเสริมศักยภาพของท่าเทียบเรือตู้สินค้าระดับโลกเท่านั้น แต่ด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัยนี้ยังช่วยผลักดันในด้านการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ซึ่งทำให้เราสามารถสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม รวมถึงสร้างโอกาสให้ภาคธุรกิจของประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าต่อไปได้"

ที่มา: สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์

ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย เสริมทัพปั้นจั่นยกตู้สินค้า ระบบปฏิบัติการอัจฉริยะควบคุมจากระยะไกลชุดใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้