เครือซีพี เร่งเครื่องเดินแผนสู่เป้าหมาย Net Zero สร้างความยั่งยืน รุกจับมือสตาร์ทอัพหานวัตกรรม-สร้างโซลูชั่นช่วยลดคาร์บอน ในเวที "Decarbonize Thailand Startup Sandbox"

พฤหัส ๓๐ มิถุนายน ๒๐๒๒ ๑๗:๒๕
เครือซีพีเร่งเดินหน้าสู่เป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ปรับแผนเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนตลอดห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์และบริการ ใช้ทั้งแผนการลดควบคู่การชดเชย รุกมองหานวัตกรรมและโซลูชันใหม่มาเป็นช่วยตัวสำคัญ ร่วมสนับสนุนโครงการ "Decarbonize Thailand Startup Sandbox" หรือ DTS ผลักดันสตาร์ทอัพสร้างโซลูชันช่วยลดคาร์บอน มองเป็นจุดสำคัญในการดึงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาช่วยแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น ชี้เป็นเรื่องรอไม่ได้ต้องเดินหน้าแข่งกับเวลา
เครือซีพี เร่งเครื่องเดินแผนสู่เป้าหมาย Net Zero สร้างความยั่งยืน รุกจับมือสตาร์ทอัพหานวัตกรรม-สร้างโซลูชั่นช่วยลดคาร์บอน ในเวที Decarbonize Thailand Startup Sandbox

นายสมเจตนา ภาสกานนท์ ผู้อำนวยการด้านพัฒนาความยั่งยืน สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาล และสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า เครือซีพีได้ให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนร่วมกับทุกภาคส่วน ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero emission) ในปี 2065 โดยเครือซีพีกำหนดเป้าหมายที่จะเป็นองค์กรที่เป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ในปี 2030 นั่นคือจะลดการปล่อยคาร์บอนจากการดำเนินงานภายในองค์กรทั้งทางตรงและทางอ้อม (Scope 1 และ Scope 2) ให้ได้มากที่สุด พร้อมชดเชยส่วนที่เหลือด้วยการปลูกต้นไม้และคาร์บอนเครดิต

เครือซีพีได้ปรับเป้าหมายใหม่ และอยู่ระหว่างการทำแผนงานเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero หลังจากการเข้าร่วมโครงการ Race to Zero และ Business Ambition for 1.5 C ที่ภาคเอกชนจะร่วมกันควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ถือเป็นความท้าทายการรักษาสมดุลในการเติบโตทางธุรกิจและลดการปล่อยคาร์บอน โดยเครือซีพีได้วางเป้าหมายต้องการลดคาร์บอนให้ได้ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์และบริการให้ครบถ้วน (Value Chain) ที่ต้องร่วมมือกันในทุกภาคส่วน ซึ่งอันดับแรกต้องเปลี่ยน Mindset ใหม่ เพราะถ้าทำแบบเดิมเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้น ก็คงไม่สามารถไปถึงเป้าหมายได้อย่างแน่นอน ดังนั้น นอกจากลดปล่อยคาร์บอนแล้ว ต้องมีการชดเชยควบคู่กันไปด้วย โดยการกักเก็บคาร์บอนจากการปลูกป่า และเทคโนโลยีการดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอนอย่างถาวร

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเทคโนโลยียังไม่ได้พัฒนาไปถึงจุดที่นำมาใช้เชิงพาณิชย์อย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่อยู่ในขั้นทดลอง หรือสเกลเล็ก ๆ ทำให้มีราคาแพงมาก จึงเป็นเหตุผลให้เครือซีพีสนใจเข้าร่วมในโครงการ "Decarbonize Thailand Startup Sandbox" หรือ DTS สนับสนุนสตาร์ทอัพเพื่อสร้างโซลูชั่นช่วยลดคาร์บอนให้องค์กร และผลักดันประเทศไทยสู่เป้าหมาย Net Zero เพราะเครือซีพีไม่ได้มีความชำนาญในเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะมาช่วยลดการปล่อยคาร์บอนในทุกด้าน ดังนั้น จึงมองหาเทคโนโลยีจากองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยเฉพาะสตาร์ทอัพจะมีความคล่องตัวในการคิดค้นและพัฒนามาก ทำให้เวทีในลักษณะนี้เป็นจุดสำคัญที่จะดึงคนที่มีความชำนาญในแต่ละด้านมาช่วยแก้ปัญหาให้องค์กรที่ไม่สามารถพัฒนาโซลูชันได้อย่างรวดเร็ว

"ประเด็นสำคัญคือ เราเป็น Net Zero ในทันทีไม่ได้ ผลกระทบต่อโลกจากการชะลอการลดการปล่อยคาร์บอนออกไปมีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เพราะมีเรื่องของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เราต้องเริ่มกันตั้งแต่วันนี้ ซึ่งมองว่าความเชี่ยวชาญ องค์ความรู้และกลไกลของสตาร์ทอัพน่าจะช่วยเป็นส่วนสำคัญเร่งให้เร็วขึ้น จากเดิมโปรเจคที่อยู่ในขั้นทดลองกว่าจะใช้ได้ในเชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวางอาจจะนานถึง 20 ปี ก็ไม่ทันแล้ว ต้องลดเวลาลงมา"   

นายสมเจตนา กล่าวต่อว่า การที่เครือซีพีจะไปถึง Net Zero ในอนาคต เครือฯ จำเป็นต้องทำงานร่วมกับผู้เกี่ยวข้องตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร เอสเอ็มอี รวมถึงผู้บริโภคด้วย โดยจะให้ความรู้และสนับสนุนกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการร่วมมือกัน ที่สำคัญจะเร่งมองหานวัตกรรมหรือโซลูชันมาตอบโจทย์ ทั้งเรื่องของพลังงานสะอาด หรือพลังงานหมุนเวียน โซลูชันทางด้านขนส่งสินค้าและบริการ การกำจัดของเสีย เรื่องของภาคเกษตรกรรม ตลอดจนการดักจับคาร์บอนจากอากาศมาใช้ประโยชน์และกักเก็บอย่างถาวร

"เครือซีพีได้จัดทำยุทธศาสตร์ความยั่งยืนอย่างครอบคลุม โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหนึ่งที่อยู่ในประเด็นความยั่งยืน ซึ่งต้องยอมรับว่ากระบวนการผลิตสินค้าและบริการส่งผลกระทบต่อโลก ยิ่งผลิตมากขึ้นก็มีการใช้ทรัพยากรอย่างมาก จึงเป็นเรื่องความรับผิดชอบขององค์กร ขณะที่ทุกวันนี้กฎระเบียบทางการค้าได้ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ มีการใช้ประเด็นเหล่านี้มาคัดเลือกคู่ค้า หากผู้ผลิตทำไม่ได้หรือไม่ทำ จะถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าไปอยู่ในห่วงโซ่อุปทาน"

ที่มา: ชมฉวีวรรณ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?