ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดตัวทีมนักวิจัย KEETA จากสหสถาบัน ร่วมพัฒนาอาหารอวกาศส่งประกวด NASA

พฤหัส ๒๙ กันยายน ๒๐๒๒ ๑๖:๔๙
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดแถลงข่าว เปิดตัวทีมนักวิจัย KEETA จากประเทศไทย เป็น 1 ใน 10 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบการแข่งขันเฟสแรก "โครงการพัฒนาระบบผลิตอาหารอัตโนมัติและครบวงจรสำหรับนักบินอวกาศ Deep Space Food Challenge" เป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นโดยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) และองค์การอวกาศแคนาดา (Canadian Space Agency) โดยมีโจทย์สุดท้าทายคือ ให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันสร้างระบบที่สามารถผลิตอาหารได้ในระยะยาว โดยไม่ต้องพึ่งการขนส่งไปเติมเพิ่ม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจเดินทางไป-กลับดาวอังคารของนักบินอวกาศ โดยมีเครือข่ายความร่วมมือจากสหสถาบันให้การสนับสนุน ประกอบด้วย สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมกันนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้เตรียมพื้นที่ในอาคารวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ไว้เป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านอวกาศร่วมกันในระดับนานาชาติ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ในอนาคต
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดตัวทีมนักวิจัย KEETA จากสหสถาบัน ร่วมพัฒนาอาหารอวกาศส่งประกวด NASA

ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีความภาคภูมิใจและยินดีเป็นอย่างยิ่งในการสนับสนุน "โครงการพัฒนาระบบผลิตอาหารอัตโนมัติและครบวงจรสำหรับนักบินอวกาศ" ให้กับ ทีม KEETA (กีฏะ) ซึ่งมี อาจารย์จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และนักวิจัยจากสหสถาบันร่วมกันพัฒนาโครงการนี้จนผ่านเข้าไปสู่เฟสที่ 2 ได้สำเร็จ โดยเป็น 1 ใน 9 ทีมที่ได้รับการคัดเลือก ทั้งนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้เตรียมพื้นที่ห้องปฏิบัติการสำหรับทำงานวิจัยนี้ร่วมกัน ณ อาคารวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยคาดหวังว่าที่นี่จะเป็นศูนย์กลางเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกันต่อไป

ศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงจิรายุ เอื้อวรากุล คณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โครงการ Deep Space Food Challenge เป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นโดย องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) และองค์การอวกาศแคนาดา (Canadian Space Agency) โดยมีโจทย์สุดท้าทายคือ ให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันสร้างระบบที่สามารถผลิตอาหารได้ในระยะยาว โดยไม่ต้องพึ่งการขนส่งไปเติมเพิ่ม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจเดินทางไป-กลับดาวอังคารของนักบินอวกาศ ทีม KEETA (กีฏะ) ใช้จุดเด่นของวัฒนธรรมอาหารไทยอย่างโดยใช้ประโยชน์จากแมลงผสมผสานกับเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เพื่อสร้างระบบผลิตอาหารที่มีรูปลักษณ์และคุณสมบัติตามต้องการ จนแนวคิดนี้ไปถูกใจคณะกรรมการและได้เป็น 1 ใน 9 ทีมที่ผ่านเข้าเฟส 2 ของรอบการแข่งขัน โดยในที่สุดจะมีการคัดเลือกเหลือ 3 ทีมสุดท้ายในต้นปี 2566

วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน อาจารย์ ดร.วเรศ จันทร์เจริญ และ ทีม KEETA (กีฏะ) ในการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติสู่เวทีนานาชาติครั้งนี้ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้นักวิจัยรุ่นใหม่ได้ทำผลงานวิจัยที่นำไปพัฒนาต่อยอดและนำไปใช้ได้จริง

อาจารย์ ดร.วเรศ จันทร์เจริญ อาจารย์ประจำวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ หัวหน้าทีม KEETA (กีฏะ) โครงการ Deep Space Food Challenge เป็นอีกหนึ่งความท้าทายในรอบ 100 ปีของ NASA Centennial Challenges (การแข่งขันด้านอวกาศของนาซ่า) โดยมีเป้าหมายคือกระตุ้นนวัตกรรมการวิจัยทั้งพื้นฐานและประยุกต์ การพัฒนาเทคโนโลยี หรือการสร้างธุรกิจใหม่ๆ ขึ้น โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องผลิตอาหารสำหรับภารกิจทางอวกาศเป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อเพียงพอต่อนักบินอวกาศ 4 คนโดยไม่มีเสบียงเพิ่ม ที่สำคัญคือใช้เวลาการเตรียมอาหารให้ 'น้อย' ที่สุด มีความปลอดภัย มีโภชนาการสูง เป็นมิตรกับอวกาศและบนโลกอย่างเสมอภาคกัน

โดยความตั้งใจของทีม KEETA (กีฏะ) นอกจากเข้าร่วมการแข่งขันแล้ว เราต้องการสร้าง เทคโนโลยีทางอวกาศ ซึ่งต้องใช้กินได้ กินได้ในที่นี้ไม่ได้กินเป็นอาหาร แต่สามารถสร้างรายได้ ทำให้เกิดธุรกิจต่อประเทศ หรือทำให้เกิดเศรษฐกิจอวกาศ (Space Economy หรือ Space Business) นั่นคือความตั้งใจหลักของทีม โดยจะเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอวกาศ (Space Economy) ในประเทศไทย เพื่อใช้กับภาคเกษตรกรรม ปศุสัตว์ และภาควิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง และถ้าเราชนะในเฟสที่สามต่อไปนั้น คนที่ได้ผลงานคือ คนทั้งประเทศ

ที่มา: ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดตัวทีมนักวิจัย KEETA จากสหสถาบัน ร่วมพัฒนาอาหารอวกาศส่งประกวด NASA

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๙ PROS จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2567 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวอนุมัติทุกวาระ
๐๙:๔๙ ซีพี - ซีพีเอฟ สนับสนุนโครงการ สานใจไทย สู่ใจใต้ รุ่นที่ 42 ส่งเสริมเยาวชนรุ่นใหม่ ตอบแทนคุณแผ่นดิน
๐๙:๑๓ นักวิชาการ TEI แนะมุมมองการสร้าง Urban Climate Resilience ต้องเร่งปรับตัวและเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๐๙:๓๙ TEI เปิดวงเสวนา บทเรียนและทางออกการจัดการกากแคดเมียม ? พร้อมเร่งแก้ปัญหา โจทย์ใหญ่กากแคดเมียม จัดการอย่างไรให้ปลอดภัยและถูกต้อง
๐๙:๒๔ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับสตรีที่ด้อยโอกาสในโครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรี ณ
๐๙:๑๑ เขตปทุมวันกำชับเจ้าของพื้นที่ตั้งวางสิ่งของ-อุปกรณ์การค้าริมกำแพงส่วนบุคคลให้เรียบร้อย
๐๙:๓๔ ม.หอการค้าไทย ปฐมนิเทศสำหรับผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านนวัตกรรมการบริการ รุ่นที่ 5 (Top Executive Program for Creative Amazing Thai Services :
๐๙:๐๒ เฮงลิสซิ่ง รับรางวัล หน่วยงานส่งเสริมสุขภาพการเงินพนักงาน ระดับดีเด่น โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
๐๙:๔๕ มูลนิธิเฮอริเทจ (ประเทศไทย) ส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสมุทรสาคร
๐๙:๔๔ พาราไดซ์ พาร์ค ต้อนรับ The Little Gym เปิดสาขาที่ 3