กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับเดลต้าจัดงาน Angel Fund for Startups Awards 2022 มุ่งสนับสนุนสตาร์ทอัพ พร้อมมอบรางวัลและเงินทุนสนับสนุนนวัตกรรมไทย

จันทร์ ๐๓ ตุลาคม ๒๐๒๒ ๑๔:๕๑
บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ร่วมมือกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม จัดพิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศโครงการ Delta Angel Fund สำหรับสตาร์ทอัพประจำปี 2565 โดยในปีนี้ เดลต้าได้มอบเงินสนับสนุนหนึ่งล้านบาทเป็นรางวัลให้แก่ทีม RENEWSI ผู้ชนะเลิศอันดับที่ 1
กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับเดลต้าจัดงาน Angel Fund for Startups Awards 2022 มุ่งสนับสนุนสตาร์ทอัพ พร้อมมอบรางวัลและเงินทุนสนับสนุนนวัตกรรมไทย

สืบเนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 งานประกาศรางวัลโครงการ Angel Fund ในปี 2564 จึงถูกจัดผ่านระบบออนไลน์ และเพิ่งได้กลับมาจัดเต็มรูปแบบอีกครั้งในปีนี้ โดยภายในงาน นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มอบใบประกาศเกียรติคุณแก่เดลต้า ประเทศไทย

นอกจากนี้ นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และ นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ให้การต้อนรับทีมผู้เข้าแข่งขัน ทั้งยังแสดงความยินดีต่อความสำเร็จของโครงการ Delta Angel Fund สำหรับสตาร์ทอัพประจำปี 2565

จากนั้นทางกระทรวงอุตสาหกรรมและเดลต้าได้ร่วมกันมอบใบประกาศนียบัตรพร้อมเงินทุนสนับสนุนให้แก่ 6 ทีมสตาร์ทอัพผู้ชนะ โดยผู้ชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 1,000,000 บาท และผู้ชนะในลำดับถัดไปได้รับเงินรางวัลมูลค่าตั้งแต่ 800,000 บาทไปจนถึง 400,000 บาทตามลำดับ

ในปีนี้เดลต้าได้มอบเงินรางวัลทั้งหมดกว่า 4,000,000 บาท ทำให้ทุกทีมที่ชนะการแข่งขันได้รับเงินสนับสนุนเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นการดึงดูดสตาร์ทอัพไทยให้เข้าร่วมกองทุน Angel Fund และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตลาดและสังคม
โดยทีมที่ได้รับรางวัลกองทุนสนับสนุน Delta Angel Fund for Startup 2022 มีทั้งหมด 6 ทีม ได้แก่:

  1. รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1: RENEWSI
    - โปรเจกต์: กระบวนการรีไซเคิลโซลาร์เซลล์ชนิดซิลิคอน โดยสามารถเปลี่ยนขยะจากแผงโซลาร์เซลล์เป็นพลังงานใหม่ และสินค้าที่มีมูลค่าสูง เช่น นาโนซิลิโคนที่ใช้ในแบตเตอรี่และชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า
  2. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1: EMMA
    - โปรเจกต์: เครื่องตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้าแบบ 12-lead ที่ใช้เทคโนโลยีไร้สาย (Wireless Technology)
  3. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2: UPCYDE
    - โปรเจกต์: กระบวนการเปลี่ยนแปลงขยะอาหารและเศษผลผลิตจากเกษตรกรรม ไปเป็นวัสดุหนังด้วยรูปแบบห่วงโซ่อุปทานเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Supply Chain Model)
  4. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 3: NRG Trac
    - โปรเจกต์: โซลูชันสำหรับบริษัทเพื่อติดตามการปล่อยคาร์บอนแบบออนไลน์
  5. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 4: Muu
    - โปรเจกต์: ผลิตภัณฑ์นมจากเซลล์เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากวัว
  6. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 5: TEDR
    - โปรเจกต์: หลักสูตรการฝึกอบรมทักษะการพัฒนาหุ่นยนต์ ที่จัดทำโดยนักออกแบบและผู้ผลิตหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในท้องถิ่น

ทั้งนี้ นายแจ็คกี้ จาง ประธานบริษัทเดลต้า ประเทศไทย กล่าวในโอกาสนี้ว่า "ทุก ๆ ปี เดลต้าและกระทรวงอุตสาหกรรมจะร่วมกันส่งเสริมกองทุนนางฟ้า พร้อมทั้งเลือกทีมสตาร์ทอัพที่เกี่ยวข้องกับโซลูชันด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และระบบอัตโนมัติของเดลต้า รวมถึงมีศักยภาพทางการค้าในตลาด โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การแข่งขันนี้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้มีความสามารถได้มากขึ้นและน่าตื่นเต้นยิ่งกว่าเดิม ด้วยรูปแบบการแข่งขันแบบ Hackathon ทีมที่ชนะสามารถรับรางวัลเงินสดจากเดลต้า และทำให้เป็นที่รู้จักในระดับประเทศ ซึ่งถือเป็นการเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ ๆ "

ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา เดลต้าได้สนับสนุนเหล่าทีมสตาร์ทอัพผ่านกองทุนนางฟ้า ด้วยการฝึกอบรมด้านเทคนิคและธุรกิจเพื่อพัฒนาและขัดเกลาการนำเสนอโครงการของพวกเขาให้มีประสิทธิภาพในเชิงพาณิชย์ และในปีนี้ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจและที่ปรึกษาในโครงการ โดยในปีที่สองนี้ ทีมที่ชนะจะได้เข้าร่วมการเสนอขายในรายการเรียลิตี้โชว์ ธุรกิจพิชิตล้าน Shark Tank Thailand เพื่อโอกาสในการรับทุนเพิ่มเติม

เดลต้าและกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้ร่วมกันให้ทุนแก่สตาร์ทอัพผ่านทางกองทุนนางฟ้า ตั้งแต่การเปิดตัวโครงการในปี 2559 โดยมีเป้าหมายคือการพัฒนาผู้มีความสามารถในประเทศไทยและบ่มเพาะธุรกิจสตาร์ทอัพในภาคอุตสาหกรรมนวัตกรรมเพื่อสนับสนุน

นโยบายของรัฐบาลไทย ซึ่งในปีนี้ การการแข่งขันได้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อเกี่ยวกับแบบจำลองเศรษฐกิจหมุนเวียนชีวภาพ (BCG) และแนวคิดการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน ESG (Environment, Social, and Governance) ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำด้วยเศรษฐกิจสีเขียวรูปแบบใหม่เพื่อความยั่งยืน

ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนถึงปี 2565 เดลต้าได้มอบเงินทุนกว่า 23 ล้านบาทให้กับทีมที่ชนะถึง 309 ทีม (โดยร้อยละ 24 เป็นผู้หญิง) เพื่อสนับสนุนการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอัจฉริยะและพลังงานในตลาดไทย กองทุน Angel Fund นี้ เป็นส่วนสำคัญของโครงการสตาร์ทอัพของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 970 ล้านบาทและสร้างงานมากถึง 927 ตำแหน่ง

กองทุน Angel Fund สำหรับสตาร์ทอัพของเดลต้า คือเสาหลักของการร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลไทย สถาบันการศึกษา และพันธมิตรในอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในยุค New Normal ของประเทศไทย และการพัฒนาประเทศไปสู่ประเทศไทย 4.0

ที่มา: วีโร่

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ วว. ผนึกกำลัง มรภ.เพชรบุรี พัฒนา วทน. ด้านเทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าพืชผลเกษตร-สร้างระบบนิเวศงานวิจัย
๑๗:๒๙ กทม. แจงจ้างเหมาเอกชนซ่อมบำรุงเครื่องสูบน้ำที่สถานีสูบน้ำคลองช่องนนทรี หลังสิ้นสุดระยะเวลาค้ำประกัน
๑๗:๔๖ ออปโป้ชวนด้อมไทยส่งข้อความสู่ Boost Your Dreams Box เตรียมต้อนรับ 3 หนุ่ม BSS สู่งาน Boost Your Dreams Together 2
๑๗:๔๒ นนท์ ธนนท์ - อิ้งค์ วรันธร นำทัพศิลปินขี้เหงา มาฮีลใจ ชวนคนเหงาปล่อยจอย ใน LONELY LOUD FEST เปิดจองบัตร Early Bird 30 ก.ค.
๑๗:๕๙ มะเร็งรังไข่ ภัยเงียบที่ผู้หญิงควรระวัง
๑๗:๒๘ โก โฮลเซลล์ ปักหมุดภาคใต้สาขาแรก ราไวย์ จ.ภูเก็ต แล้ว! ลุยอาณาจักรค้าส่งวัตถุดิบอาหาร สร้างฟู้ด พาราไดซ์
๑๗:๓๗ How to เริ่มต้นวางแผนซื้อบ้าน/คอนโดฯ อย่างไรให้มั่นใจยุคดอกเบี้ยสูง
๑๗:๒๐ โรบินสันไลฟ์สไตล์ ในเครือเซ็นทรัล รีเทล ฉลองเทศกาลวันแม่ ส่งแคมเปญ ชวน ฮักแม่ ด้วยภาษารัก
๑๗:๔๔ เลือกฟิล์มติดกระจกออฟฟิศยังไงให้คุ้มค่าในระยะยาว ?
๑๗:๒๒ 5 เคล็ดลับเลือก Clinic เสริมความงาม ที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน