เสวนาแผนงานบูรณาการอีอีซี สร้างโอกาสการพัฒนาประเทศ

พุธ ๐๗ ธันวาคม ๒๐๒๒ ๑๗:๐๐
อีอีซี เปิดความสำเร็จแผนบูรณาการ ฯ ต้นแบบเชื่อมร่วมมือ รัฐ - เอกชน - ท้องถิ่น ใช้งบประมาณคุ้มค่า เดินหน้าสร้างลงทุน BCG สานต่อความมุ่งมั่นเวทีผู้นำเอเปค คู่พัฒนาพื้นที่ ยกระดับเศรษฐกิจชุมชน เกิดรายได้มั่นคงตรงสู่คนไทย
เสวนาแผนงานบูรณาการอีอีซี สร้างโอกาสการพัฒนาประเทศ

เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2565 นายคณิศ แสงสุพรรณ ประธานที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี กล่าวปาฐกถาพิเศษ "แผนงานบูรณาการ อีอีซี สู่การสร้างโอกาสในการพัฒนาประเทศ" โดยมีผู้บริหาร สกพอ. ได้แก่ นางธัญรัตน์ อินทร รองเลขาธิการฯ รักษาการเลขาธิการฯ นางสาวพจณี อรรถโรจน์ภิญโญ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านนโยบายและแผน นางนงนุช เพ็ชรรัตน์ ที่ปรึกษาพิเศษด้านต่างประเทศ และดร. ธัชพล กาญจนกูล รองเลขาธิการฯ พร้อมด้วยผู้บริหารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย นางพันพร โตวิริยะเวช รักษาการที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา นายมนตรี ชนะชัยวิบูลวัฒน์ ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง ร่วมเสวนาเพื่อเผยแพร่ความสำเร็จการพัฒนาพื้นที่อีอีซี และชี้แจงสร้างความเข้าใจ ทิศทางดำเนินการแผนงานบูรณาการ ปีงบประมาณ 2567 มีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้

  • รวมพลัง รัฐ เอกชน ท้องถิ่น ขับเคลื่อน 5 ภารกิจหลัก ตอบโจทย์พัฒนาอีอีซีครบรอบด้าน

การจัดเสวนา ฯ ครั้งนี้ จะสร้างการขับเคลื่อนพื้นที่อีอีซีอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับ "แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก" และจะได้ร่วมกันนำเสนอแผนงานบูรณาการอีอีซี ในปีงบประมาณ 2567 โดยเฉพาะการขับเคลื่อนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถจัดทำข้อเสนอโครงการ และงบประมาณปี 2567 ให้การใช้งบประมาณเกิดประสิทธิภาพสูงสุดพัฒนาพื้นที่อีอีซีอย่างสมดุลและยั่งยืน  

แนวทางขับเคลื่อนแผนบูรณาการอีอีซี ได้กำหนด 5 ภารกิจหลักเชื่อมโยงความร่วมมือทุกภาคส่วน ได้แก่  

  1. สานต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง สาธารณูปโภค และดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบคมนาคมแบบไร้รอยต่อ ให้ทันสมัย คู่กับวางโครงข่ายดิจิทัล 5G เพื่อจูงใจภาคเอกชน
  2. พัฒนาบุคลากร การศึกษา วิจัย และนวัตกรรม สร้างทักษะบุคลากรให้เพิ่มขึ้น สู่การปฏิบัติงานจริง รองรับความต้องการภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งพัฒนานวัตกรรมเพื่อนำไปขยายผลเชิงพาณิชย์
  3. พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ให้ทันสมัย มีมาตรฐาน ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุข ที่มีประสิทธิภาพในการรักษา และเสริมสร้างสุขภาพของประชาชน รวมถึงสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัย
  4. พัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ ยกระดับเศรษฐกิจชุมชน ให้เกิดการพัฒนาทัดเทียมนานาชาติ พัฒนาศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ ขับเคลื่อนการใช้นวัตกรรมเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร และส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ยกระดับสินค้าโอทอปพื้นที่ สร้างรายได้ให้ชุมชนต่อเนื่อง
  5. มุ่งให้เกิดการลงทุนด้านเศรษฐกิจ BCG ในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มี และสร้างการรับรู้สู่ประชาชน ผลักดันให้เกิดการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มุ่งเน้นเศรษฐกิจ BCG ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับผลการประชุมผู้นำเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) ที่ได้ประกาศร่วมกัน
  • ความสำเร็จแผนงานบูรณาการอีอีซี พร้อมอัตราขยายตัวของ GDP ในพื้นที่ อีอีซี เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8

แผนบูรณาการอีอีซี ภายใต้แนวคิด "ร่วมคิด ร่วมลงทุน ร่วมพัฒนา" เป็นต้นแบบการจัดทำแผนงานบูรณาการของประเทศ โดยเน้นการมีส่วนร่วมระหว่าง รัฐ-เอกชน-ท้องถิ่น-ประชาชน พึ่งพางบประมาณแผ่นดินให้น้อยที่สุด ไม่เน้นการใช้งบประมาณจำนวนมาก เพื่อให้เกิดการใช้งบประมาณที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด ซึ่งการจัดทำแผนบูรณาการอีอีซี ตั้งแต่ปี 2561 - 2566 ได้มีหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วม 15 กระทรวง รวมกว่า 44 หน่วยงาน ปัจจุบันได้รับอนุมัติงบประมาณ (จนถึงปีงบประมาณ 2568) รวม 94,514 ล้านบาท และสามารถดึงดูดการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายจากมูลค่าการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนรวม 1,182,538 ล้านบาท ซึ่งทำให้สามารถสร้างมูลค่าลงทุนจริงได้สูงกว่า 747,509 ล้านบาท

นอกจากนี้ แผนบูรณาการอีอีซี ยังเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาพื้นที่และชุมชน โดยให้ความสำคัญการพัฒนาทักษะบุคลากรตามหลัก "Demand Driven" ให้ตรงความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม มุ่งเน้นเรื่องเกษตรสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตผลทางการเกษตร การขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ เป็นศูนย์ธุรกิจรองรับและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายและการเติบโตของธุรกิจ การพัฒนาระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน รับส่งต่อผู้ป่วยจากจุดเกิดเหตุได้รวดเร็ว รวมทั้งการรักษาแบบแพทย์แม่นยำ และยังได้ดึงงานที่มีชื่อเสียงระดับโลกเข้ามาจัดในพื้นที่ อีอีซี เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและกระตุ้นการท่องเที่ยวทั่วโลก รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนโดยร่วมมือกับท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการจ้างงาน และสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยเป้าหมายหลัก แผนงานบูรณาการอีอีซี จะสร้างมูลค่าการลงทุนไม่น้อยกว่า 500,000 ล้านบาทต่อปี และเป็นกลไกสนับสนุนให้อัตราขยายตัวของ GDP ในพื้นที่ อีอีซี เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ในปี 2567 เป็นต้นไป

ที่มา: แบงค์คอกไรเตอร์ แอนด์ พาร์ทเนอร์ส

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐:๕๙ ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ให้การต้อนรับอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม
๒๐:๓๑ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๒๐:๕๒ Vertiv เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์ไมโครโมดูลาร์รุ่นใหม่ที่มี AI ในเอเชีย
๒๐:๐๙ พิธีขึ้นเสาเอก เปิดไซต์ก่อสร้าง โครงการ แนชเชอแรล ภูเก็ต ไพรเวท พูลวิลล่า บ้านเดี่ยวบนทำเลทองใจกลางย่านเชิงทะเล
๒๐:๔๖ เขตบางพลัดประสาน รฟท.-กทพ. ปรับภูมิทัศน์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวหน้าสถานีรถไฟบางบำหรุ
๒๐:๕๘ ร่วมแสดงความยินดีแก่อธิบดีกรมยุโรป ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
๒๐:๐๓ กทม. เดินหน้าจัดกิจกรรมริมคลองโอ่งอ่าง ส่งเสริมอัตลักษณ์ กระตุ้นเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยว
๒๐:๔๙ พาราไดซ์ พาร์ค ร่วมกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พาคุณไปสัมผัสการนวดเพื่อสุขภาพจาก 4 ภูมิภาคของไทย
๒๐:๒๔ Digital CEO รุ่นที่ 7 เรียนรู้เข้มข้นต่อเนื่อง จากวิทยากรชั้นนำของวงการ
๒๐:๒๔ เด็กไทย คว้ารางวัลระดับโลก โดรนไทย ชนะเลิศนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางด้านอากาศยานไร้คนขับ UAV ณ กรุงเจนีวา