กรมวิชาการเกษตรขับเคลื่อนต่อยอดผลงานวิจัย สู่โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สร้างรายได้ให้เกษตรกรในโครงการกว่า 2 ล้านบาท/ปี

พุธ ๑๘ มกราคม ๒๐๒๓ ๑๔:๕๒
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2525 เพื่อศึกษาทดลองงานพัฒนาการเกษตรต่างๆ สำหรับเป็นตัวอย่างให้ราษฎรนำไปใช้ในพื้นที่ของตัวเอง และพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ให้เป็นศูนย์ให้บริการในด้านเทคนิคและวิชาการครบวงจร เพื่อให้ราษฎรเข้ามาเรียนและมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน "สร้างน้ำ เพิ่มป่า พัฒนาชีวิตที่พอเพียง"
กรมวิชาการเกษตรขับเคลื่อนต่อยอดผลงานวิจัย สู่โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สร้างรายได้ให้เกษตรกรในโครงการกว่า 2 ล้านบาท/ปี

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสกลนคร กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม มี 6 กิจกรรมเด่น ได้แก่ เพาะเห็ด ศึกษาและพัฒนาระบบเกษตรผสมผสาน พืชสวน พืชไร่ ยางพารา และกิจกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ผ่านการสาธิต ทดสอบ ฝึกอบรมให้ความรู้เกษตรกร และขยายผลการดำเนินงานสู่เกษตรกรในพื้นที่

กิจกรรมเพาะเห็ด พัฒนาการผลิตเชื้อเห็ดเพื่อให้บริการแก่เกษตรกรในพื้นที่ ทั้งเห็ดเศรษฐกิจและเห็ดพื้นเมืองที่สำคัญ ได้แก่เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดขอนขาว โดยใช้เชื้อพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร และเห็ดที่คัดเลือกสายพันธุ์จากเทือกเขาภูพาน ได้แก่ เห็ดบด ซึ่งเป็นเห็ดที่ได้รับความนิยมบริโภคในพื้นที่ โดยมีราคาเฉลี่ย 150-200 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งส่งผลทำให้เกิดกลุ่มเกษตรกรทั้งหมด 5 กลุ่ม มีสมาชิกทั้งสิ้น 85 คน ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนธุรกิจเกษตรครบวงจร (IAC) บ้านนาขาม กลุ่มเพาะเห็ดบ้านโนนสมบูรณ์ กลุ่มเพาะเห็ดบ้านตากแดด กลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพนก้างปลา และ กลุ่มเพาะเห็ดบ้านนานกเค้า สามารถผลิตก้อนเชื้อเห็ดได้ 153,000 ก้อนต่อปี มูลค่ามากกกว่าปีละ 1,530,000 บาท มีเกษตรกรนำไปเปิดดอกเพื่อจำหน่าย สร้างรายได้ไม่น้อยกว่า 2,544,000 บาทต่อปี

กิจกรรมศึกษาและพัฒนาระบบเกษตรผสมผสาน เน้นให้เกิดการพึ่งพาตนเอง สร้างความมั่นคงให้คนที่ต้องการทำอาชีพเกษตรกรรม ลดรายจ่ายด้านอาหารในครัวเรือน และเสริมรายได้ การใช้ปุ๋ย PGPR 2 ในข้าว ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง 25 เปอร์เซ็นต์ และยังนำแหนแดงไปเลี้ยง เป็ด ห่าน สุกร และจิ้งหรีด ซึ่งช่วยลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ลงได้

กิจกรรมพืชสวน สาธิตการผลิตไม้ผลพันธุ์ดี ได้แก่ ลิ้นจี่นครพนม 1 ลองกอง มังคุด เงาะ ฝรั่ง มะนาว แก้วมังกร ยกระดับการผลิตไม้ผล โดยการขอรับรองมาตรฐานแหล่งผลิต GAP พืช ชนิดพืชที่ผ่านการรีบรองแล้ว ได้แก่ ลิ้นจี่ ลองกอง มังคุด และ เงาะ นำไม้ผลแปรรูป ได้แก่ มะขามเปรี้ยว มะขามป้อม กล้วย เสาวรส นอกจากนี้ยังมีแปลงสาธิตการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ เช่น ปทุมมา แพงพวย ดาวเรืองเพื่อการตัดดอก มีการขยายพันธุ์พืชสวนพันธุ์ดี กว่า 5,400 ต้น ประกอบด้วย ลิ้นจี่ 500 ต้น ลำไย 200 ต้น มะม่วง 200 ต้น กล้วย 200 หน่อ เสาวรส 300 ต้น มะละกอ 1,000 ต้น และต้นกล้าผักต่างๆ 3,000 ต้น และผลิตเมล็ดพันธุ์พืชผักพระราชทาน ได้แก่ พริก มะเขือเปาะ มะเขือยาว มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว กะเพรา แมงลัก เพื่อสำรองกรณีภัยพิบัติฉุกเฉิน

กิจกรรมพืชไร่ สาธิตการผลิตพืชไร่พันธุ์ดี บนพื้นที่ลาดเอียง แปลงตัวอย่างใช้หญ้าแฝกป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน การผลิตพืชไร่อินทรีย์เพื่อการแปรรูป การผลิตเมล็ดพันธุ์พืชไร่ การปลูกพืชไร่เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ได้แก่ ข้าวโพดเทียนพันธุ์สุโขทัย 1 ข้าวโพดพื้นเมืองพันธุ์ตักหงาย ข้าวฟ่าง งา ถั่วพุ่มดำ ถั่วลิสง มันเทศ ปอโมโรเฮยะ กระเจี๊ยบ อ้อยคั้นน้ำ ทานตะวัน เป็นต้น ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชไร่พระราชทาน และกระจายพืชไร่พันธุ์ดีแก่เกษตรกร ได้แก่ ข้าวโพดเทียน และถั่วพุ่ม เพื่อสำรองภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน

กิจกรรมยางพารา ส่วนแปลงแสดงพันธุ์ยางและเทคโนโลยีการปลูกสร้างสวนยาง 7 สายพันธุ์ พื้นที่ 15 ไร่ โดยปลูกในปี 2543 ปี 2564 มีผลผลิตยางแผ่นชั้น 3 รวม 1,915 กิโลกรัม นอกจากนั้นยังมีการเพาะเห็ด และเลี้ยงปลาดุกในสวนยาง มีแปลงสาธิตการปลูกแซม และพืชร่วมกับยางพารา เช่น กระชายขาว พริกไทย ดีปลี กาแฟ เหลียง สละสายพันธุ์อินโด และคอนแคน ซึ่งคอนแคนเป็นพืชท้องถิ่นในเขตเทือกเขาภูพาน ใช้ดอกและยอดเป็นอาหาร ผลผลิตมีมูลค่าสูง

กิจกรรมแปรรูปเพิ่มมูลค่า ผลผลิตทางการเกษตร เป็นกิจกรรมที่สาธิต การแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตทางการเกษตร ที่มีในพื้นที่ให้มีมูลค่าสูงขึ้น ได้แก่ การผลิตน้ำตาลแดงจากอ้อย การแปรรูปเห็ด การแปรรูปกล้วย การแปรรูปผลไม้ตามฤดูกาล เช่น มะม่วง มะขาม กระท้อน เป็นต้น

ในการนี้ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ ยังได้ให้คำแนะนำ สนับสนุน แนวทางในการทดสอบพืชทางเลือกใหม่ มูลค่าสูงไปทดสอบการปรับตัวในพื้นที่โครงการ เช่น มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวกะทิ และสนับสนุนการใช้สารชีวภัณฑ์ เพื่อลดเลิก การใช้สารเคมีในโครงการให้มากขึ้น

อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวในตอนท้ายว่า กรมวิชาการเกษตรจะสนองตอบพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 และในหลวงรัชกาลที่ 10 สืบสาน รักษา ต่อยอด เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ให้เป็นศูนย์ให้บริการในด้านเทคนิคและวิชาการครบวงจร เพื่อให้ราษฎรเข้ามาเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานต่อไป

ที่มา: กรมวิชาการเกษตร

กรมวิชาการเกษตรขับเคลื่อนต่อยอดผลงานวิจัย สู่โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สร้างรายได้ให้เกษตรกรในโครงการกว่า 2 ล้านบาท/ปี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๑๕:๑๓ เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๑๕:๐๘ อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๑๕:๒๐ กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๑๕:๐๖ สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๑๕:๕๖ SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๑๕:๔๓ 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๑๕:๔๑ โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ