กรมวิชาการเกษตรลุยวิจัยพืชไร่ดูดซับก๊าซเรือนกระจกและกักเก็บคาร์บอน พบพันธุ์อ้อยให้ผลผลิตสูงมีศักยภาพกักเก็บคาร์บอน

ศุกร์ ๒๐ มกราคม ๒๐๒๓ ๑๕:๐๖
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาวิจัยพืชไร่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยที่มีศักยภาพในการดูดซับก๊าซเรือนกระจกและกักเก็บคาร์บอนไว้ในพืชและในดินเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการร่วมมือเพื่อป้องกันปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งเป็นบทบาทและภารกิจที่สำคัญอีกด้านหนึ่งของกรมวิชาการเกษตร โดยนอกเหนือจากพื้นที่ป่าไม้แล้วพื้นที่เพาะปลูกพืชยังเป็นแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจกและกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญเช่นกัน
กรมวิชาการเกษตรลุยวิจัยพืชไร่ดูดซับก๊าซเรือนกระจกและกักเก็บคาร์บอน พบพันธุ์อ้อยให้ผลผลิตสูงมีศักยภาพกักเก็บคาร์บอน

อ้อย เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย โดยข้อมูลในปี 2563/2564 ที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยรวม 10.8 ล้านไร่ ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะกักเก็บคาร์บอนไว้ในระบบปลูกอ้อยได้ และสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศ โดยกระบวนการสังเคราะห์แสงและนำมาสะสมในรูปของมวลชีวภาพในส่วนต่าง ๆ ของอ้อย จากการประเมินศักยภาพการดูดซับก๊าซเรือนกระจกและการกักเก็บคาร์บอนในพืช พบว่า อ้อยแต่ละพันธุ์มีศักยภาพการดูดซับก๊าซเรือนกระจกและการกักเก็บคาร์บอนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับระยะการเจริญเติบโตของพืช ตำแหน่งใบ สภาพพื้นที่ปลูกและการจัดการดินและน้ำ เป็นต้น

นอกจากนี้ งานวิจัยยังสรุปได้ว่าการปลูกอ้อย 1 ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 18.1 ตัน สามารถดูซับคาร์บอนในรูปส่วนเหนือดินอ้อยเฉลี่ย 3,698 กก.CO2 หรือช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศได้ 13,559 กก.CO2 โดยอ้อย 1 ตันสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 581 กก.CO2 ดังนั้นในปีการผลิต 2563/2564 ที่มีพื้นที่ปลูก 10.8 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 7.21 ตัน/ไร่จะสามารถช่วยดูดซับคาร์บอนในบรรยากาศมาอยู่ในรูปของลำอ้อยทั้งหมดได้ 215.1 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม การเลือกพันธุ์อ้อยและการจัดการแปลงปลูกที่เหมาะสมนอกจากจะช่วยเพิ่มผลผลิตของอ้อยแล้วยังสามารถเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในพืชได้อีกด้วย

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า จากงานวิจัยบ่งชี้ได้ว่าปริมาณอินทรีย์คาร์บอนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณชีวมวล ดังนั้นการปลูกอ้อยให้ได้อินทรีย์คาร์บอนจำนวนมากจึงต้องใช้หลักการเดียวกันกับการเพิ่มผลผลิต ซึ่งมีลักษณะทางการเกษตรที่เกี่ยวข้อง คือ จำนวนลำกับความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางลำ และน้ำหนักลำ ดังนั้นเมื่อพิจารณาพันธุ์อ้อยที่มีศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนสูงควรเป็นพันธุ์อ้อยที่ให้ผลผลิตสูง และมีการจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและการสร้างผลผลิต ส่งผลให้มีการดูดซับก๊าซเรือนกระจกและกักเก็บคาร์บอนได้สูงขึ้น ผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ [email protected] โทรศัพท์ 0813998209

ที่มา: กรมวิชาการเกษตร

กรมวิชาการเกษตรลุยวิจัยพืชไร่ดูดซับก๊าซเรือนกระจกและกักเก็บคาร์บอน พบพันธุ์อ้อยให้ผลผลิตสูงมีศักยภาพกักเก็บคาร์บอน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๙ PROS จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2567 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวอนุมัติทุกวาระ
๐๙:๔๙ ซีพี - ซีพีเอฟ สนับสนุนโครงการ สานใจไทย สู่ใจใต้ รุ่นที่ 42 ส่งเสริมเยาวชนรุ่นใหม่ ตอบแทนคุณแผ่นดิน
๐๙:๑๓ นักวิชาการ TEI แนะมุมมองการสร้าง Urban Climate Resilience ต้องเร่งปรับตัวและเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๐๙:๓๙ TEI เปิดวงเสวนา บทเรียนและทางออกการจัดการกากแคดเมียม ? พร้อมเร่งแก้ปัญหา โจทย์ใหญ่กากแคดเมียม จัดการอย่างไรให้ปลอดภัยและถูกต้อง
๐๙:๒๔ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับสตรีที่ด้อยโอกาสในโครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรี ณ
๐๙:๑๑ เขตปทุมวันกำชับเจ้าของพื้นที่ตั้งวางสิ่งของ-อุปกรณ์การค้าริมกำแพงส่วนบุคคลให้เรียบร้อย
๐๙:๓๔ ม.หอการค้าไทย ปฐมนิเทศสำหรับผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านนวัตกรรมการบริการ รุ่นที่ 5 (Top Executive Program for Creative Amazing Thai Services :
๐๙:๐๒ เฮงลิสซิ่ง รับรางวัล หน่วยงานส่งเสริมสุขภาพการเงินพนักงาน ระดับดีเด่น โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
๐๙:๔๕ มูลนิธิเฮอริเทจ (ประเทศไทย) ส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสมุทรสาคร
๐๙:๔๔ พาราไดซ์ พาร์ค ต้อนรับ The Little Gym เปิดสาขาที่ 3