ม.มหิดล ผนวกทักษะศาสตร์และศิลป์บรรลุคุณภาพเทคนิคการแพทย์และรังสีเทคนิค

ศุกร์ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๓ ๑๓:๓๙
กว่าครึ่งศตวรรษแล้วที่คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ผลิตบุคลากรทางการแพทย์เพื่อให้บริการประชาชน ในฐานะสถาบันที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานในการจัดการเรียนการสอนทางเทคนิคการแพทย์ และรังสีเทคนิคที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องด้วยคุณภาพ
ม.มหิดล ผนวกทักษะศาสตร์และศิลป์บรรลุคุณภาพเทคนิคการแพทย์และรังสีเทคนิค

ศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยถึงหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักที่ใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของคณะฯ ได้แก่ "กลยุทธ์การพัฒนา Outcome-based Education" ที่ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อ ELO หรือExpected Learning Outcome ของบัณฑิตที่จะผลิตออกไปโดยมุ่งเน้นให้ครอบคลุมความคาดหวังของผู้ป่วยในการได้รับบริการที่ทันสมัย มีคุณภาพ และตอบโจทย์โลกแห่งอนาคต

จนได้กลายเป็นก้าวสำคัญในการเป็นคณะเทคนิคการแพทย์แห่งแรกของประเทศไทยที่สามารถผ่านการรับรองมาตรฐานนานาชาติ AUN-QA (ASEAN University Network Quality Assurance) ทั้งในสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ และสาขาวิชารังสีเทคนิค โดยเริ่มต้นที่สาขาวิชารังสีเทคนิค เมื่อปี 2563 และสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ เมื่อปี 2564 ช่วงเวลาการรับรองของแต่ละสาขาภายใน 5 ปี

รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธพล วิเชียรอินทร์ หัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล คือหนึ่งในเบื้องหลังสำคัญที่ได้ผลักดันให้สาขาวิชารังสีเทคนิคคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถพิชิตมาตรฐาน AUN-QA โดยกล่าวว่า รังสีเทคนิคเป็นหัวใจสำคัญของการวินิจฉัยโรค ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันมีความรุดหน้าอยู่ตลอดเวลา ทำให้การถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้นไปด้วย

นักรังสีเทคนิคจึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้เพื่อให้ก้าวทันเทคโนโลยีอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์นำมาประยุกต์เพื่อให้สามารถให้บริการผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม และบรรลุวัตถุประสงค์ในการวินิจฉัย

ลำพังความรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีนั้นไม่เพียงพอ จะต้องมีการเรียนรู้ถึงวิธีการสื่อสารและการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อผู้ป่วยจึงจะสามารถเข้าถึงความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างแท้จริงโดยรวมทั้งการดูแลความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย ซึ่งล้วนเป็นทักษะสำคัญที่ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยมหิดล ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนานักศึกษา

"ยกตัวอย่างเช่น ในการถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์ แม้จะมีท่ามาตรฐานกำหนดไว้อยู่แล้ว แต่หากผู้ป่วยมีข้อจำกัด ทำแล้วรู้สึกเจ็บ นักรังสีเทคนิคจะต้องสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความจำเป็น โดยจะต้องสามารถใช้ทักษะในการสื่อสารกับผู้ป่วยด้วย" รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธพล วิเชียรอินทร์ กล่าว

นับเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่คณะเทคนิคการแพทย์ สามารถก้าวสู่มาตรฐานในระดับที่สูงยิ่งขึ้นไป มั่นใจได้ในองค์ความรู้ที่ได้มาตรฐานและพร้อมโอบกอดผู้ป่วยด้วยคุณภาพการบริการที่ดีที่สุดตลอดไป

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ม.มหิดล ผนวกทักษะศาสตร์และศิลป์บรรลุคุณภาพเทคนิคการแพทย์และรังสีเทคนิค

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4