ม.มหิดลวิจัยพบสารสกัด"สาหร่ายผมนาง" มีฤทธิ์ยับยั้งโรคระบาดในกุ้ง

พุธ ๐๑ มีนาคม ๒๐๒๓ ๑๖:๑๑
วิชา "กายวิภาคศาสตร์" ไม่เป็นเพียงวิชาสำหรับนักศึกษาแพทย์ หรือนักศึกษาในสาขาที่เตรียมพร้อมสู่วิชาชีพบุคลากรทางการแพทย์ แต่ยังครอบคลุมไปถึงการศึกษาโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่รวมถึงในสัตว์ และพืช
ม.มหิดลวิจัยพบสารสกัดสาหร่ายผมนาง มีฤทธิ์ยับยั้งโรคระบาดในกุ้ง

รองศาสตราจารย์ ดร.กนกพรรณ วงศ์ประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ได้รับทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มุ่งศึกษาวิจัยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคระบาด ในกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำ ซึ่งเป็นสัตว์น้ำเค็มเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ตั้งแต่เมื่อครั้งที่เกิดการระบาดของ "โรคตัวแดงดวงขาว" และ "โรคตายด่วน" ที่ก่อความเสียหายทางเศรษฐกิจให้กับผู้เพาะเลี้ยงอย่างมากมายมหาศาล

จนมาถึงวิกฤติการณ์ระบาดของโรค"EHP" (Enterocytozoon hepatopenaei) ที่ปัจจุบันกรมประมงประกาศเป็นโรคระบาดสำคัญเร่งด่วนในอุตสาหกรรมเลี้ยงกุ้ง ซึ่งเกิดจากเชื้อปรสิตไมโครสปอริเดีย(Microsporidia) ที่เข้าทำลายตับของกุ้งทำให้กุ้งกินอาหารเท่าไหร่ก็ไม่โต ไม่ได้ขนาดตรงตามที่ต้องการ เกิดอาการขี้ขาวและทยอยตาย ผลผลิตลดลงอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อการสูญเสียโอกาสการส่งออกกุ้งเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท

เริ่มต้นจากการสังเกตว่ากุ้งที่เลี้ยงในบ่อซึ่งมี "สาหร่ายผมนาง" อยู่ในบ่อเดียวกันมีสุขภาพดี แข็งแรง รอดพ้นจากโรคต่างๆได้ ผู้วิจัยจึงได้นำสาหร่ายผมนางมาสกัดและวิเคราะห์หาสารสำคัญในห้องปฏิบัติการจนค้นพบสารสำคัญที่สามารถยับยั้งการติดเชื้อ "โรคตัวแดงดวงขาว" และ"โรคตายด่วน" และนำสารมาทดสอบในกุ้งที่ติดเชื้อไมโครสปอริเดียในฟาร์มกุ้งพบกุ้งเจริญได้ขนาดใกล้เคียงปกติ จนเกิดความคิดที่จะต่อยอดสร้างสรรค์สู่ผลิตภัณฑ์

"สาหร่ายผมนาง" (Gracilaria fisheri) เป็นพืชท้องถิ่นประเภทสาหร่ายสีแดงน้ำเค็มที่พบมากทางภาคใต้ของไทย จากการค้นพบดังกล่าว ผู้วิจัยไม่ได้หยุดอยู่เพียงเพื่อการต่อสู้วิกฤติโรคระบาดกุ้ง แต่ยังได้นำสารสกัดสาหร่ายมาศึกษาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์โดยทดสอบฤทธิ์สำคัญของสารต่อเซลล์ต่างๆ ของมนุษย์ พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ในหลอดทดลอง และกระตุ้นการปิดบาดแผลในสัตว์ทดลอง ผลงานวิจัยสามารถนำไปต่อยอดเป็นสารสำคัญทางการแพทย์ได้

บนหนทางสู่การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ อาจต้องใช้เวลาในการสะสมจิ๊กซอ เพื่อรอวันประกอบขึ้นเป็นรูปร่างที่ชัดเจนและทำให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้อย่างแท้จริง ขอเพียงไม่ปิดกั้นที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ด้วยความเพียรอย่างสม่ำเสมอ

มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ พร้อมมุ่งจัดการเรียนการสอน วิจัย และบริการวิชาการเพื่อเสริมรากฐานของวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ซึ่งจะนำไปสู่การค้นพบเพื่อสุขภาวะของมวลมนุษยชาติ ตลอดจนการใช้งานวิจัยสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ของประเทศชาติ เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในวันข้างหน้า

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไปสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดลโทร. 0-2849-6210

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ม.มหิดลวิจัยพบสารสกัดสาหร่ายผมนาง มีฤทธิ์ยับยั้งโรคระบาดในกุ้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๐๓ พ.ค. มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๐๓ พ.ค. รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๐๓ พ.ค. กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว