ม.มหิดล ส่งเสริมบทบาทสตรีชายแดนใต้สร้างความมั่นคงตามแนวทาง UN

พุธ ๐๑ มีนาคม ๒๐๒๓ ๑๖:๕๖
กว่า 3 ทศวรรษที่องค์การสหประชาชาติ (UN) เริ่มให้ความสนใจแนวคิดของการสร้างความเป็นพลเมืองเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และได้กล่าวถึง "ความมั่นคงของมนุษย์" (Human Security) 7 ประการได้แก่ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงส่วนบุคคล ความมั่นคงของชุมชน และความมั่นคงทางการเมืองซึ่งกลายเป็นมุมมองของโลกยุคใหม่ที่เข้ามาแทนที่ความขัดแย้งจากความรุนแรงของโลกในอดีต
ม.มหิดล ส่งเสริมบทบาทสตรีชายแดนใต้สร้างความมั่นคงตามแนวทาง UN

อาจารย์ ดร.สุภาสเมต ยุนยะสิทธิ์ อาจารย์ประจำโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล คือหนึ่งในคณะทำงานเพื่อความสมานฉันท์ชายแดนใต้ ผู้ทุ่มเทเวลากว่าทศวรรษในการทำงานเพื่อยกระดับบทบาทสตรีในพื้นที่ดังกล่าว จนเมื่อเร็วๆ นี้ได้ขึ้นทำเนียบสตรีอาเซียนเพื่อสันติภาพ (ASEAN Women Peace Registry - AWPR) จัดตั้งโดยสถาบันอาเซียนเพื่อสันติภาพและความสมานฉันท์ (ASEAN Institute for Peace and Reconciliation - AIPR) ไปด้วยความภาคภูมิ

ที่ผ่านมาจากการลงพื้นที่วิจัยและบริการวิชาการในชายแดนใต้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้ทุนสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และองค์กร Religions for Peace อาจารย์ ดร.สุภาสเมต ยุนยะสิทธิ์พบว่ากลุ่มผู้หญิงในชายแดนใต้ยังมีบทบาทไม่มากในการขับเคลื่อนเพื่อความมั่นคงตามแนวคิดการสร้างความเป็นพลเมืองเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขแห่งองค์การสหประชาชาติ จึงได้ใช้กลยุทธ์ในการ "สร้างปฏิสัมพันธ์" เพื่อให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ซึ่งจะนำไปสู่การรับฟังความคิดเห็นที่เปิดกว้างมากขึ้น

"เราต้องการที่จะเห็นผู้หญิงได้เข้าไปอยู่ในโครงสร้างของสังคมเพื่อการสร้างความมั่นคง และความสมานฉันท์ ในฐานะ"พลเมือง" ที่พร้อมทำหน้าที่เพื่อสังคมด้วยความเสมอภาค" อาจารย์ ดร.สุภาสเมต ยุนยะสิทธิ์ กล่าว

จุดหมายปลายทางนอกจากเพื่อสร้างความสมานฉันท์ในชายแดนใต้แล้ว ยังมุ่งผลักดันแผนเร่งด่วนระดับชาติในการพัฒนาประเทศเพื่อส่งเสริมบทบาทสตรีไทย ซึ่งประกอบด้วยด้านความเสมอภาคบทบาทในการตัดสินใจ และด้านสุขภาวะที่ไม่อาจมองข้าม

มหาวิทยาลัยมหิดล โดย โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาพร้อมทำหน้าที่ "ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานฯ แปลงเปลี่ยน "ความขัดแย้ง" สู่"ความมั่นคง" โดยเชื่อมั่นว่าด้วยความเป็นพลเมืองที่รู้จักบทบาทหน้าที่ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม จะนำพาประเทศชาติสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีได้ต่อไปในอนาคต

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไปสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดลโทร. 0-2849-6210

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๙ ม.กรุงเทพ เห็นถึงคุณค่าพลังงานที่ยั่งยืนเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสร้างสกิลตรง
๑๖:๐๗ แอลจีเผยผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2024 ผลักดันธุรกิจด้วยนวัตกรรมพร้อมรักษาสมดุลระหว่างธุรกิจหลักและการเติบโตในอนาคตเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ
๑๖:๓๕ ฮั้วฟง รับเบอร์ฯ (HFT) จัดประชุมผู้ถือหุ้นปี 2567 ผถห.โหวตผ่านฉลุยทุกวาระ
๑๖:๕๒ ซีเอ็ด เปิดสาขาใหม่ที่ตราด! บริจาคหนังสือ 2 แสนบาท หนุนการอ่านในท้องถิ่น
๑๖:๕๙ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ทั้งปีที่อัตราหุ้นละ 0.52
๑๖:๕๙ ปรับการนอนหลับของคุณให้มีคุณภาพดีขึ้นด้วยฟีเจอร์ใน HUAWEI Band 9
๑๖:๓๔ ไฮเออร์ ประเทศไทย โชว์ศักยภาพแกร่ง พาเหรดทัพนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ร่วมจัดแสดงในงาน China Enterprise Product Resources
๑๖:๑๐ สถานทูตอิตาลี เปิดศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าแห่งใหม่ในกรุงเทพ
๑๖:๕๒ CHAYO จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ไฟเขียวทุกวาระ
๑๖:๑๓ ผู้บริหารบางจากฯ แชร์แนวทางขับเคลื่อนการรับมือวิกฤตสภาพภูมิอากาศ 2 เวที