KTAM แนะเสริมพอร์ตด้วยตราสารหนี้ระยะสั้นกับกองทุน "KTSTPLUS" มองโอกาสการลงทุนตราสารหนี้ในภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงปรับสูงขึ้น

จันทร์ ๑๕ พฤษภาคม ๒๐๒๓ ๑๕:๔๐
KTAM มองโอกาสการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น จากอานิสงค์การปรับขึ้นดอกเบี้ยกำลังเข้าใกล้ระดับสูงสุด ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อภาวะการลงทุนในตราสารหนี้ โดยมีสัญญาณที่เงินเฟ้อไทยกำลังปรับลดลงสู่กรอบนโยบาย และแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณถดถอย/ชะลอตัวมาก จึงได้แนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ โดยแนะนำกองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้น พลัส (KTPLUS) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการโอกาสสร้างผลตอบแทนจากตราสารหนี้ระยะสั้นจากทั้งในและต่างประเทศ
KTAM แนะเสริมพอร์ตด้วยตราสารหนี้ระยะสั้นกับกองทุน KTSTPLUS มองโอกาสการลงทุนตราสารหนี้ในภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงปรับสูงขึ้น

นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในปี 2565 เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยต่างเผชิญภาวะเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นมากจากหลายปัจจัย กดดันให้ธนาคารประเทศต่างๆ นำโดยสหรัฐฯ และยุโรป เร่งขึ้นดอกเบี้ยอย่างมากและต่อเนื่องเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ส่งผลให้ประเทศต่างๆ รวมทั้งคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทย ต้องเริ่มปรับดอกเบี้ยขึ้นตามตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565 จากระดับต่ำสุดที่ 0.50% ต่อปี เพิ่มขึ้นมาถึง 1.75% ต่อปี และมุมมองตลาดตราสารหนี้ระยะถัดไป คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอาจจะปรับเพิ่มสูงสุดที่ 2.00% ต่อปี เพื่อสอดรับกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่กำลังฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อไทยที่กำลังลดลง (Dis-inflation) เข้าสู่กรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศ รวมถึงความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่สัญญาณจะเข้าสู่ภาวะถดถอยและชะลอตัวลงมาก จะเป็นปัจจัยให้วงจรดอกเบี้ยถึงระดับสูงสุดในอนาคตอันใกล้และมีโอกาสปรับสู่ขาลงในระยะถัดไป ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวนับว่าเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความสัมพันธ์กับดอกเบี้ยโดยตรง

สำหรับกองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้น พลัส (KTPLUS) (ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4) มีนโยบายกระจายลงทุนในพันธบัตรภาครัฐ ตราสารหนี้ภาคเอกชน ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับที่สามารถลงทุนได้เฉลี่ยอายุตราสารไม่เกิน 1 ปี และเงินฝากสถาบันการเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยกองทุนอาจพิจารณาลงทุนในต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้ กองทุนอาจพิจารณาลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) จากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน

กองทุน KTSTPLUS เป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีความยืดหยุ่นในการปรับพอร์ตการลงทุน และสามารถปรับให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้ค่อนข้างเร็ว โดยมีอายุเฉลี่ยตราสารของกองทุนค่อนข้างต่ำเพื่อเตรียมพร้อมรับการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และเมื่อรอบการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสิ้นสุดลง กองทุนก็จะสามารถปรับไปลงทุนในตราสารหนี้ที่ยาวขึ้นเพื่อเพิ่มผลตอบแทนกองทุนได้ ทั้งนี้ ได้เปิดให้นักลงทุนได้เลือกลงทุน 4 ชนิด ได้แก่ 1) ชนิดสะสมมูลค่า (KTSTPLUS-A) 2) ชนิดผู้ลงทุนกลุ่ม/บุคคล (KTSTPLUS-P) 3) ชนิดผู้ลงทุนสถาบัน (KTSTPLUS-I) และ 4) ชนิดเพื่อการออม (KTSTPLUS-SSF) โดยสามารถซื้อได้ในทุกช่องทางรวมถึงผู้สนับสนุนการขายทุกราย

นางชวินดา กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจัยที่เป็นตัวช่วยสนับสนุนให้กองทุน KTSTPLUS มีโอกาสเติบโต มาจากการที่กองทุนมีความเสี่ยงจากความผันผวนของผลตอบแทนค่อนข้างต่ำ โดยมีการควบคุมอายุเฉลี่ยเงินลงทุนไว้ไม่เกิน 1 ปี เมื่อวงจรดอกเบี้ยขาขึ้นใกล้จะถึงระดับสูงสุด ทำให้ความผันผวนของผลตอบแทนจะไม่สูงเหมือนปีก่อนหน้าที่อยู่ในช่วงการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ กนง. ประกอบกับกองทุนมีการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต ทำให้มีความเสี่ยงด้านเครดิตค่อนข้างต่ำ รวมถึงข้อได้เปรียบจากขนาด จึงทำให้มีโอกาสเข้าถึงตราสารหนี้ในตลาดแรกทั้งในและต่างประเทศในระดับอัตราผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล สอดคล้องกับภาวะตลาด นอกจากนี้ กองทุนมุ่งเน้นรักษาความยืดหยุ่นในการปรับพอร์ต กระจายลงทุน และมีบริหารสภาพคล่องให้เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจากสงครามระหว่างประเทศ และความผันผวนของราคาน้ำมันอาจส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจและเงินเฟ้อผิดไปจากการคาดการณ์ รวมถึงความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อของไทยหลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวเต็มที่ อาจจะทำให้กนง.ตัดสินปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ได้

ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการได้ที่ บลจ.กรุงไทย โทร. 0-2686-6100 กด 9 หรือธนาคารกรุงไทยและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) หรือศึกษารายละเอียดได้ที่ www.ktam.co.th สนใจเปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชั่น KTAM Smart Trade ได้ที่ https://bit.ly/KTSTSignIn

ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุน KTSTPLUS ที่สำคัญ : ความเสี่ยงทางตลาด ความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของหลักทรัพย์ ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงในเรื่องคู่สัญญาในการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงจากการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยง ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน และความเสี่ยงจากข้อจำกัดการนำเงินลงทุนกลับประเทศ

คำเตือน กองทุนนี้มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงโดยดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนเพื่อการออม และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน / ทั้งนี้ หากลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด อาจจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเสียเงินเพิ่ม

ที่มา: หลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย

KTAM แนะเสริมพอร์ตด้วยตราสารหนี้ระยะสั้นกับกองทุน KTSTPLUS มองโอกาสการลงทุนตราสารหนี้ในภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงปรับสูงขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4