นวัตกรรม "แพลตฟอร์มกลางสร้างเครื่องมือบำบัดจิตวิทยาด้วยปัญญาประดิษฐ์" คว้ารางวัลเหรียญทองงานนักประดิษฐ์นานาชาติ เจนีวา

พุธ ๑๙ กรกฎาคม ๒๐๒๓ ๑๖:๕๓
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี พร้อมด้วย รศ. ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ และ รศ. ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา  แสดงความยินดีกับทีมนักวิจัยไทย ดร.กลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรี ผศ.ดร.นริศ หนูหอม และ ดร.สุเมธ ยืนยง ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และนางสาวพณิดา โยมะบุตร นักจิตวิทยาคลินิก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เจ้าของผลงานนวัตกรรม 'แพลตฟอร์มกลางสำหรับการสร้างเครื่องมือบำบัดทางจิตวิทยาด้วยปัญญาประดิษฐ์' (AI Phychological Open Platform) ในโอกาสคว้ารางวัลเหรียญทอง จากงานนักประดิษฐ์นานาชาติเจนีวา ประจำปี 2566 (International Exhibition of Inventors Geneva 2023) ในเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ดร.กลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรี หัวหน้าทีมวิจัยและอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ขณะที่สังคมและเศรษฐกิจมีความซับซ้อนอ่อนไหวและผันผวน ปัญหาสุขภาพจิตมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและคุณภาพชีวิตของผู้ประสบปัญหาและคนใกล้ตัว หลายหน่วยงานที่ให้บริการดูแลสุขภาพจิตทั้งภาครัฐ เอกชนและหน่วยงานอิสระต่างก็ช่วยเหลือให้คำแนะนำปรึกษาแก่ประชาชน แต่ยังมีข้อจำกัด เช่น จำนวนบุคคลากรไม่เพียงพอ ค่าใช้จ่ายสูง ขาดเทคโนโลยีที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของบริการ ดังนั้น โดยทีมวิจัยคณะวิศวะมหิดล จึงได้ริเริ่มพัฒนา 'แพลตฟอร์มกลางสำหรับการสร้างเครื่องมือบำบัดทางจิตวิทยาด้วยปัญญาประดิษฐ์' (AI Psychological Intervention Open Platform) เป็นแพลตฟอร์มกลางเพื่อช่วยให้บริการสุขภาพจิตของหน่วยงานต่างๆ สามารถมีเครื่องมือและเทคโนโลยีในการพัฒนาบริการดูแลสุขภาพจิตให้ก้าวหน้าทันสมัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นับเป็นงานวิจัยนวัตกรรมที่สร้างความเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัลเฮลแคร์และเสริมสร้างความก้าวหน้าของวงการสุขภาพจิตในประเทศไทย ทั้งนี้โดยได้รับทุนวิจัยสนับสนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ปัจจุบันมีหน่วยงานสุขภาพจิตจำนวนกว่า 30 องค์กร ที่ได้ร่วมโครงการอบรมและใช้ประโยชน์ในการพัฒนาบริการดูแลสุขภาพจิต

ประโยชน์ของแพลตฟอร์ม ช่วยยกระดับงานบริการดูแลสุขภาพจิตของไทยให้ก้าวหน้า  ช่วยให้บุคลากรของหน่วยงานดูแลสุขภาพจิตในประเทศไทยสามารถสร้าง 'หุ่นยนต์โต้ตอบ (Chatbot)' แบบอัตโนมัติได้ง่าย สามารถออกแบบพัฒนาแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ด้านสุขภาพจิตได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย เพื่อตอบโจทย์ประชาชนผู้รับบริการ ตรงวัตถุประสงค์ และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของหน่วยงาน  เป็น Open Platform ที่หน่วยงานหนึ่งสามารถแชร์แบบให้แก่หน่วยงานอื่นนำไปปรับใช้ประโยชน์ต่อได้ นอกจากนี้ยังมี 'ปัญญาประดิษฐ์ (AI)' ที่ช่วยประเมินวิเคราะห์อารมณ์หรือปัญหาทางสุขภาพจิต ผลงานนวัตกรรมนี้นับเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ชุมชนและประชาชนคนไทยทั่วประเทศสามารถเข้าถึงการบริการและได้รับการดูแลด้านสุขภาพจิตอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ได้ทุกที่ทุกเวลา สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ในอนาคตยังเป็นฐานข้อมูล Big Data ด้านสุขภาพจิตของไทย ที่สามารถนำมาวิเคราะห์ วางแผนหรือกำหนดแนวทางและนโยบายการพัฒนาสุขภาพจิตต่อไปอีกด้วย

การได้รับรางวัลเหรียญทอง จากงานนักประดิษฐ์นานาชาติเจนีวา ประจำปี 2566 (International Exhibition of Inventors Geneva 2023) ในเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ครั้งนี้ เป็นสิ่งที่ตอกย้ำฝีมือของคนไทยในเวทีนานาชาติ

ที่มา: เบรนเอเซีย คอมมิวนิเคชั่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน