รัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน มุ่งมั่นเสริมสร้างความร่วมมือในฐานะศูนย์กลางการเติบโตของโลก

ศุกร์ ๐๑ กันยายน ๒๐๒๓ ๑๗:๒๐
อินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน (ASEAN Finance Ministers and Central Bank Governors Meeting หรือ AFMGM) ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566 ณ กรุงจาการ์ตา การประชุมครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดการกับความท้าทายระดับโลกหลังยุคโควิด-19 ด้วยการกำหนดนโยบายร่วมกันเพื่อแก้ไขข้อกังวลต่าง ๆ อย่างเร่งด่วน ตลอดจนสานต่อความพยายามเพื่อรักษาระดับการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาวของภูมิภาคอาเซียน

การประชุม AFMGM ได้ติดตามความก้าวหน้าของประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจที่อินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จ (Priority Economic Deliverables) ตลอดจนจัดการกับปัญหาเร่งด่วนในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงการฟื้นตัวและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (การฟื้นฟู-การสร้างใหม่) การเข้าถึงบริการทางการเงินดิจิทัลเพื่อการเติบโต (เศรษฐกิจดิจิทัล) และการส่งเสริมการเงินสีเขียว (ความยั่งยืน)

เศรษฐกิจอาเซียนมีความโดดเด่นท่ามกลางความไม่แน่นอนทั่วโลก โดยคาดการณ์ว่าจะเติบโต 4.5% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก อาเซียนสามารถบริหารจัดการอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนได้เป็นอย่างดี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก

การอภิปรายหลักในการประชุม AFMGM ประกอบด้วยประเด็นการรักษาแรงผลักดันเชิงกลยุทธ์ท่ามกลางความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ แรงกดดันจากหนี้สิน และความท้าทายด้านความยั่งยืน นอกจากนี้ การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการประสานงานด้านนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและการบริหารความเสี่ยง ก็ถือเป็นประเด็นสำคัญในระดับภูมิภาคเช่นกัน

นางศรี มุลยานี (Sri Mulyani) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า "ที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงความสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่แตกต่างกันไปในประเทศอาเซียน ด้วยการใช้เครื่องมือทั้งหมดที่มีเพื่อรับประกันเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาค นอกจากนั้นยังมีการเน้นย้ำถึงความสำคัญของนโยบายที่มีการประสานงานกันเป็นอย่างดีเพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่มีอยู่"

เพื่อสนับสนุนการเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาวของภูมิภาคอาเซียน ที่ประชุม AFMGM ได้เน้นย้ำถึงความพยายามในการปรับปรุงการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาค โดยมีการปรับเปลี่ยนสถานะของกองทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Infrastructure Fund หรือ AIF) ให้เป็นกองทุนสีเขียวอาเซียน (ASEAN Green Fund) และประเทศสมาชิกเห็นพ้องต้องกันที่จะส่งเสริมการจัดหาเงินทุนของ AIF ให้สอดคล้องกับเกณฑ์การจัดหมวดหมู่ด้านการเงินที่ยั่งยืนของอาเซียน (ASEAN Taxonomy for Sustainable Finance) รวมถึงปรับปรุงขั้นตอนการทำงานของ AIF ตลอดจนกำหนดแผนการปรับโครงสร้างเงินทุนและเพิ่มประสิทธิภาพเงินทุนที่มีอยู่

ที่ประชุม AFMGM ยังเน้นย้ำเรื่องการส่งเสริมการจัดหาเงินทุนเพื่อความสำเร็จของเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำในภูมิภาคอาเซียน โดยที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับเกณฑ์การจัดหมวดหมู่ด้านการเงินที่ยั่งยืนของอาเซียน เวอร์ชัน 2 ซึ่งสะท้อนถึงความพยายามในการเปลี่ยนผ่านอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และเป็นระเบียบเรียบร้อยในภูมิภาค

ขณะเดียวกัน การดำเนินการภายใต้กรอบความร่วมมือทางการเงินอาเซียนปี 2566 (ASEAN Finance Process 2023) ได้ส่งเสริมความร่วมมือข้ามภาคส่วน โครงการริเริ่มด้านการเงิน-สุขภาพ และความมั่นคงทางอาหาร โดยเหล่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้กล่าวถึงการป้องกัน การเตรียมความพร้อม และการอุดช่องว่างด้านเงินทุนในการตอบสนองต่อโรคระบาด ผ่านการระดมทรัพยากรต่าง ๆ เช่น กองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโควิด-19 (ASEAN COVID-19 Response Fund) นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร อาเซียนยังตั้งเป้าว่าจะปรับปรุงนโยบายด้านอาหาร การเข้าถึงเงินทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และการอำนวยความสะดวกทางการค้า

ในส่วนของการเงินนั้น นายเพอร์รี วาร์จิโย (Perry Warjiyo) ผู้ว่าการธนาคารกลางอินโดนีเซีย ได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นด้านการบูรณาการของอาเซียนผ่านข้อริเริ่มการทำธุรกรรมด้วยสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency Transaction หรือ LCT) และการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินในภูมิภาค (Regional Payment Connectivity หรือ RPC) ซึ่งผ่านการรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อเดือนพฤษภาคม 2566

สำหรับประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธนาคารกลางประกอบด้วย การปรับปรุงนโยบายเศรษฐกิจมหภาค รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อรองรับการเติบโต การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล การปฏิรูปโครงสร้าง และการเงินสีเขียว ขณะเดียวกันยังมีการอภิปรายเกี่ยวกับกรอบการทำธุรกรรมด้วยสกุลเงินท้องถิ่นและการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินในภูมิภาค ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๙ อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud