ทรินาแทรกเกอร์คว้าคำสั่งซื้อระบบติดตามแสงอาทิตย์อัจฉริยะรวม 108 เมกะวัตต์ในโคลอมเบีย

อังคาร ๑๙ กันยายน ๒๐๒๓ ๑๔:๔๐
ทรินาแทรกเกอร์ (TrinaTracker) ผู้ให้บริการโซลูชันโซลาร์เซลล์ตามแสงอาทิตย์ (Solar Tracker) ในเครือบริษัท ทรินา โซลาร์ จำกัด (Trina Solar Co Ltd) (SHA: 688599) ได้ลงนามในข้อตกลงจัดหาแผงเซลล์โซลาร์เซลล์แบบปรับมุมองศาหมุนตามทิศทางดวงอาทิตย์ (Solar Tracking System) ร่วมกับบริษัท พาวเวอร์ คอนสตรักชัน คอร์ปอเรชัน ออฟ ไชน่า หรือ พาวเวอร์ ไชน่า (Power Construction Corporation of China หรือ POWERCHINA) เพื่อจัดหาระบบติดตามแสงอาทิตย์อัจฉริยะขนาด 108 เมกะวัตต์ ให้กับนิคมพลังงานแสงอาทิตย์เตปูอี (Tepuy Solar PV Park) ซึ่งรวมถึง แทรกเกอร์ แวนการ์ด 1พี (Vanguard 1P tracker) รุ่นบุกเบิกของทรินาแทรกเกอร์ อัลกอริทึมอัจฉริยะ และแพลตฟอร์มคลาวด์อัจฉริยะทรินา (Trina Smart Cloud)

นิคมพลังงานแสงอาทิตย์เตปูอีตั้งอยู่ในจังหวัดแอนติโกเกีย (Antioquia) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของโคลอมเบีย ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทผลิตพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอย่างบริษัทเมเดลลิน อิเล็กทริค พาวเวอร์ (Medellin Electric Power Company) โดยพาวเวอร์ ไชน่า รับหน้าที่ดำเนินการออกแบบและก่อสร้างทางด้านวิศวกรรมอย่างครอบคลุม (EPC) ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการออกแบบ จัดหาซัพพลาย ก่อสร้าง ติดตั้ง และดำเนินการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งนี้ ทรินาแทรกเกอร์เป็นซัพพลายเออร์แต่เพียงผู้เดียวในโครงการนี้

แทรกเกอร์ แวนการ์ด 1พี ของทรินาแทรกเกอร์ ได้รับการออกแบบให้เหมาะสำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่บนพื้นราบ โดยใช้ระบบขับเคลื่อนและตัวควบคุมต่อเมกะวัตต์น้อยลง จึงช่วยลดต้นทุนด้านวัสดุและประหยัดชั่วโมงแรงงานระหว่างการติดตั้งในโครงการได้ นอกจากนี้ ฐานที่มีเสาน้อยลงช่วยให้ผลิตภัณฑ์เหมาะกับหุ่นยนต์ทำความสะอาดมากขึ้น และระบบแดมเปอร์คู่ (Bi-Damper) ช่วยลดโอกาสที่ตัวติดตามจะเสียหายเมื่อมีลมแรง

ระบบติดตามแสงอาทิตย์อัจฉริยะของทรินาแทรกเกอร์ เป็นการผสมผสานกันของโครงสร้างแทรกเกอร์ อัลกอริทึม และแพลตฟอร์ม  ซึ่งประกอบด้วยหน่วยควบคุมแทรกเกอร์ ซูเปอร์แทรก (SuperTrack) และแพลตฟอร์มติดตามคลาวด์อัจฉริยะทรินา โดยระบบสามารถเพิ่มการผลิตพลังงานได้มากถึง 8% เมื่อเทียบกับระบบติดตามแสงอาทิตย์แบบธรรมดา นอกจากนี้ ยังมีฟังก์ชันที่ทำให้แทรกเกอร์ตรวจสอบติดตามได้ดีขึ้นขณะทำงาน จึงช่วยลดต้นทุนด้านการดำเนินงานและการบำรุงรักษาของลูกค้า และลดการสูญเสียการผลิตพลังงานได้

ภูมิภาคลาตินอเมริกาเป็นหนึ่งในตลาดโซลาร์เซลล์ตามแสงอาทิตย์ที่สำคัญที่สุด และโคลอมเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ในภูมิภาค มีศักยภาพอย่างมากด้านการพัฒนาการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ เอสแอนด์พี โกลบอล (S&P Global) บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก เปิดเผยว่า กว่า 80% ของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ภาคพื้นดินในลาตินอเมริกาใช้โซลาร์เซลล์ตามแสงอาทิตย์ โดยมีอัตราเจาะตลาดสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 45% อยู่มาก

ความร่วมมือของทรินาแทรกเกอร์ในโครงการเตปูอี ส่งผลดีต่อการเติบโตในตลาดลาตินอเมริกา โดยการเปิดตัวเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์ตามแสงอาทิตย์อัจฉริยะที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาค ประกอบกับการออกแบบระบบ ส่งมอบ และบริการหลังการขายที่ครอบคลุมนั้น เปิดโอกาสให้ทรินาแทรกเกอร์เดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในลาตินอเมริกา และเพิ่มพลังงานสะอาดที่จำเป็นให้กับภูมิภาคนี้ได้มากขึ้น



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน