"ขยะดิจิทัลสะสม" (Digital clutter) คืออะไร
ขยะดิจิทัลสะสม คือของเหลือที่เป็นผลพลอยได้จากยุคดิจิทัล เกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้งานดีไวซ์ได้สร้างเอกสารและไฟล์ดิจิทัลในปริมาณที่ไม่อาจหยุดยั้งได้เช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตติดตั้งแอปจำนวนมากกว่าที่ใช้งานจริง ไม่ค่อยได้อัปเดตแอป และมักจะไม่ปรับการตั้งค่าความปลอดภัย / ความเป็นส่วนตัวของแอปอย่างถูกต้อง ในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้ใช้จะไม่กังวลเรื่องขีดจำกัดพื้นที่เก็บข้อมูล เฉยเมยเรื่องการตรวจสอบไฟล์และการอัปเดตแอป ตัวอย่างเช่น โดยทั่วไปผู้ใช้จะติดตั้งแอปแอนดรอยด์ใหม่จำนวน 12 แอปทุกเดือน แต่ลบออกเพียง 10 แอป ดังนั้นจึงกลายเป็นการเพิ่มแอป 2 แอปในดีไวซ์ของตนทุกเดือน ซึ่งมักจะไม่ได้ใช้งาน ซึ่งหมายความว่าขยะดิจิทัลจะสะสมอยู่ในดีไวซ์หรือในระบบคลาวด์ตลอดไป ซึ่งเราเรียกว่า "ขยะดิจิทัลสะสม"
การดูแลเนื้อหาในดีไวซ์ไม่ดียังก่อให้เกิดขยะดิจิทัลสะสมอีกด้วย ข้อมูลของแคสเปอร์สกี้แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้ 55% จะแก้ไขเนื้อหาในดีไวซ์ของตน ลบเอกสารและแอปที่ไม่ได้ใช้เป็นประจำ ขณะที่ผู้ใช้ 32% จะจัดการขยะดิจิทัลเป็นครั้งคราว และผู้ใช้ 13% ไม่พยายามลบเอกสารและแอปใดๆ เลยด้วยซ้ำ
รายงานของแคสเปอร์สกี้ระบุว่า ข้อมูลห้าอันดับแรกที่ผู้ใช้โดยทั่วไปจะจัดเก็บไว้ในดีไวซ์ ได้แก่ ภาพถ่ายและวิดีโอทั่วไป (90%) ภาพถ่ายและวิดีโอการเดินทางและอีเมลส่วนตัว (เท่ากันที่ 89%) ข้อมูลที่อยู่ / ข้อมูลติดต่อ (84%) และข้อความส่วนตัวทาง SMS/IM (79%)
การวิจัยที่แคสเปอร์สกี้ดำเนินการร่วมกับ OnePoll ในปี 2019 แสดงให้เห็นว่า ตู้เย็นสามารถสื่อถึงความเสี่ยงด้านความปลอดภัยจากพฤติกรรมของมนุษย์ได้ โดยผู้ที่ซื้อสินค้าชนิดเดียวกันมาเก็บในตู้เย็นสองครั้งโดยบังเอิญจำนวน 2 ใน 3 คน (66%) จะทำงานค้นหาเอกสารหรือไฟล์ได้ยาก
ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2022 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2023 สำนักงานตำรวจแห่งชาติรายงานว่ามีการยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์บนเว็บไซต์จำนวน 336,896 เรื่อง ก่อความเสียหายประมาณ 45.73 พันล้านบาท เคสที่ได้รับการรายงานส่วนใหญ่ คือการหลอกให้ติดตั้งไดรเวอร์ระบบ การกระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูล หลอกให้เหยื่อลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ภัยคุกคามทางโทรศัพท์ และการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยการฉ้อโกง
จากข้อมูลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ของประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึง 10 ธันวาคม 2023 ได้ทำการบล็อกหน้าเว็บผิดกฎหมาย 25,601 เว็บ รวมถึงการพนัน กระทรวงยังได้กระตุ้นให้มีแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขข้อมูลบุคคลที่รั่วไหลจากองค์กรและหน่วยงานต่างๆ รวมถึงการซื้อข้อมูลในเว็บมืด นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPC) และสำนักงานความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (NCSA) ได้ร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ผ่านการฝึกอบรมและการประชุมเชิงปฏิบัติการ
นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า "เมื่อพูดถึงเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ การศึกษาถือเป็นรูปแบบการป้องกันที่ทรงพลังที่สุด ยิ่งเราให้ความรู้และเตรียมตัวมากเท่าใด เราก็สามารถลดความเสี่ยงต่อข้อมูลส่วนบุคคลและเงินของเราได้มากขึ้นเช่นกัน"
"ข้อมูลระบุว่ามีผู้คนเพียง 8% เท่านั้นที่บรรลุเป้าหมายปีใหม่ได้ เนื่องจากส่วนมากจะขาดการควบคุมตนเอง ความเครียดที่มากเกินไป และอารมณ์เชิงลบต่างๆ ผมเห็นว่า การเริ่มต้นจากเล็กๆ น้อยๆ จนเป็นนิสัย การเปลี่ยนแปลงง่ายๆ เพียงเล็กน้อยในช่วงเริ่มต้น จะช่วยปกป้องตัวคุณเองและข้อมูลของคุณได้อย่างมาก ขอให้มุ่งมั่น และที่สำคัญที่สุดคือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เพราะผู้เชี่ยวชาญมีทรัพยากร เครื่องมือ และผู้คนมากมายที่ไว้วางใจได้สำหรับการสนับสนุนเพื่อช่วยให้คุณรักษาปณิธานนี้ได้" นายโยวกล่าวเสริม
แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำให้ปฏิบัติตามเคล็ดลับเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งข้อเพื่อให้ปลอดภัยในโลกดิจิทัลในปีใหม่นี้
- บอกลารหัสผ่าน เราเห็นการปรับปรุงที่สำคัญอย่างหนึ่งในการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายในปี 2022 นั่นคือ บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Apple, Google และ Microsoft เปิดตัวการลงชื่อเข้าใช้แบบไร้รหัสผ่าน (passwordless sign-ins) แทนการใช้รหัสผ่าน ดีไวซ์ของคุณจะจัดเก็บคีย์การเข้ารหัสที่ไม่ซ้ำกันสำหรับแต่ละเว็บไซต์ ไม่จำเป็นต้องพิมพ์รหัสลงไปและทำให้ถูกขโมยยากมาก คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่น่าสนใจนี้ได้ เราขอแนะนำให้เปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีนี้ในทุกที่ที่มีให้บริการ เนื่องจากจะช่วยลดความเสี่ยงที่บัญชีของคุณจะถูกบุกรุก นอกจากนี้ยังสะดวก เพราะคุณไม่จำเป็นต้องคิด จดจำ และป้อนรหัสผ่านอีกต่อไปในภายหลัง เบราว์เซอร์ Chrome, Edge และ Safari ก็รองรับเทคโนโลยีนี้ทั้งบนแพลตฟอร์มเดสก์ท็อปและมือถือ
- ใช้แล้วทิ้ง การรั่วไหลของข้อมูลยังคงเป็นหนึ่งในความเสี่ยงทางดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดสำหรับเราทุกคน ข้อมูลผู้ใช้ถูกขโมยจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต บริษัทประกันภัย บริการจัดส่ง โซเชียลเน็ตเวิร์ก และแม้แต่ฐานข้อมูลของโรงเรียน ข้อมูลที่ถูกขโมยจะถูกนำมาใช้เพื่อกระทำการหลอกลวงต่างๆ น่าเสียดายที่แท้จริงแล้วผู้ใช้สามารถทำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เพื่อป้องกันการรั่วไหลได้ แต่ก็มั่นใจได้ว่ามีข้อมูลเกี่ยวกับเราน้อย และทำให้จับคู่ได้ยาก กล่าวคือ การเปรียบเทียบชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ในฐานข้อมูลที่ถูกขโมยสองฐานข้อมูล จะไม่ทำให้ผู้โจมตีได้รับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรามากขึ้น แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำให้ผู้ใช้ให้ข้อมูลน้อยที่สุดแก่บริการที่ไม่สำคัญ (โดยเฉพาะร้านค้าออนไลน์และบริการดิจิทัลเชิงพาณิชย์) โดยไม่ระบุนามสกุลหรือบัญชีโซเชียลมีเดียของคุณ และโดยทั่วไปแล้วให้ข้ามช่องที่ไม่บังคับ และใช้อีเมลแอดเดรสและหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้แล้วทิ้งเป็นข้อมูลติดต่อ บริการจำนวนมากมีหมายเลขโทรศัพท์ชั่วคราวสำหรับรับข้อความยืนยัน เช่นเดียวกับที่อยู่อีเมลแบบใช้ครั้งเดียว เพียงแค่ลองค้นกูเกิ้ลว่า "หมายเลขโทรศัพท์ / อีเมลแอดเดรสแบบที่ใช้แล้วทิ้ง" บริการชำระเงินบางประเภทอาจมีหมายเลขบัตรเครดิตแบบใช้แล้วทิ้ง ซึ่งทำให้การช้อปปิ้งออนไลน์ปลอดภัยยิ่งขึ้น
หลีกหนีจากโซเชียลมีเดียที่เป็นพิษ (toxic) ปีแล้วปีเล่า เราเผชิญกับเหตุการณ์เชิงลบมากเกินไป บวกกับคลื่นแห่งความเกลียดชังบนโซเชียลมีเดียยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ หากโซเชียลมีเดียทำให้คุณรู้สึกกระวนกระวายใจในปีก่อน ปีใหม่นี้ก็ถึงเวลาที่จะลด ละ เลิกเพื่อสิ่งที่ดี แคสเปอร์สกี้ได้รวบรวมเคล็ดลับในการเลิกใช้งานโซเชียลมีเดียโดยไม่สูญเสียข้อมูลอันมีค่า สำหรับผู้ใช้บางคนที่ไม่ต้องการเลิก แต่ต้องการย้ายไปยังแอป Telegram หรือ Mastodon แทน
- หยุดไถฟีดเลื่อนดูความหายนะ ผู้ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์และเว็บไซต์ข่าวอาจใช้เวลาหลายชั่วโมงและใช้พลังงานไปกับความวิตกกังวลอย่างมาก ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับข่าวสารและโพสต์อย่างไม่สิ้นสุด ให้กำหนดเวลาบนโทรศัพท์ของคุณสำหรับเครือข่ายโซเชียลและแอปข่าว เริ่มต้นด้วยหนึ่งชั่วโมงต่อวัน และพยายามทำต่อไป ผู้จำหน่ายหลายรายเสนอคุณสมบัตินี้ เช่น Apple มีฟีเจอร์ Screen Time สำหรับ Google ก็มี Digital Wellbeing และ Huawei เรียกว่า Digital Balance และหากบุตรหลานของคุณใช้เวลาบนโซเชียลเน็ตเวิร์กมากเกินไป Kaspersky Safe Kids สามารถช่วยได้ ผู้ใช้ที่มีแนวโน้มที่จะหลอกลวงตัวเองด้วยการชดเชยเวลาที่หายไปในดีไวซ์ของตน ควรเปิดใช้งานเครื่องมือควบคุมตนเองเพิ่มเติมในการตั้งค่าของเครือข่ายโซเชียล และแม้แต่ YouTube ก็มีฟีเจอร์ที่เรียกว่า Take a Break
- แยกชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงานออกจากกัน การแยกงานและชีวิตส่วนตัวเป็นสิ่งที่ดีด้วยเหตุผลหลายประการ ช่วยทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต เพราะงานจะไม่รบกวนเวลาของครอบครัวและเพื่อนฝูง และเรื่องในบ้านก็จะไม่รบกวนคุณในช่วงเวลาทำงาน อีกทั้งนายจ้างของคุณก็ได้รับการปรับปรุงความปลอดภัยทางไซเบอร์ เนื่องจากพนักงานไม่ผสมผสานข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลงาน แอป และอื่นๆ ตามหลักการแล้ว การแยกกันควรเป็นแบบทางกายภาพ ซึ่งหมายความว่าควรใช้โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันสำหรับการทำงานและชีวิตส่วนตัว สิ่งเดียวที่ต้องจำไว้คืออย่าใช้เว็บไซต์ส่วนตัว อีเมล และโซเชียลเน็ตเวิร์กบนดีไวซ์ที่ทำงาน และในทางกลับกัน อย่าใช้เว็บไซต์และอีเมลงานบนดีไวซ์ส่วนตัว
- สังเกตสุขอนามัยทางไซเบอร์ ใช้ซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยบนคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ทุกเครื่อง ใช้รหัสผ่านที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละเว็บไซต์ อัปเดตแอปและระบบปฏิบัติการทั้งหมดเป็นประจำ เคล็ดลับเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ผู้คนนับล้านยังคงเพิกเฉยต่อเคล็ดลับเหล่านี้ บ้างก็เพราะความไม่รู้ และบ้างก็เพราะความเกียจคร้าน คุณสามารถหลีกเลี่ยงความยุ่งยากทั้งหมดได้ด้วยการใช้โซลูชันที่ครอบคลุมอย่าง Kaspersky Premium เพื่อดูแลกิจวัตรทั้งหมด
Kaspersky Premium มีฟีเจอร์ตัวล้างฮาร์ดดิสก์และการตรวจสุขภาพ (Hard Disk Cleaner and Health Monitor)
- สามารถลบไฟล์ที่ซ้ำกันและไฟล์ขนาดใหญ่ออกจากพีซีของคุณ และแยกแอปที่ไม่ได้ใช้ออกจากโทรศัพท์ แอนดรอยด์
- แจ้งเตือนหากฮาร์ดไดรฟ์ของคุณกำลังจะเสียหาย เพื่อให้คุณสามารถสำรองรูปภาพ ไฟล์ และข้อมูลของคุณได้
- การลบรายการ Windows Registry ที่ไม่ถูกต้อง
โซลูชันนี้ยังมีการปรับประสิทธิภาพให้เหมาะสม (Performance Optimization) ซึ่งช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานเร็วขึ้น
- การลบรายการ Windows Registry ที่ไม่ถูกต้อง
- ทำความสะอาดโฟลเดอร์และล้างโฟลเดอร์ถังขยะรีไซเคิล
- ปิดแอปที่กินข้อมูลมากและหยุดแอปบางแอปไม่ให้เปิดเมื่อคุณเปิดพีซี
- แจ้งให้ติดตั้งการอัปเดตแอปและซอฟต์แวร์ เพื่อให้อุปกรณ์ได้รับการรักษาความปลอดภัยล่าสุด
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับฟีเจอร์การรักษาความปลอดภัยของ Kaspersky Premium สำหรับทั้งครอบครัวได้ที่ https://www.kaspersky.co.th/
ที่มา: พิตอน คอมมิวนิเคชั่น