"มทร.ล้านนา" เติมทักษะรู้เท่าทัน รอบรู้ เข้าใจการใช้ AI แก่นศ. อาจารย์ และบุคลากร

พฤหัส ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ ๑๓:๒๐
รศ.ดร.อุเทน คำน่าน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา) กล่าวว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) มีความสำคัญอย่างมากในการใช้ชีวิตประจำวัน และการทำงานของผู้คน ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตที่นักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ดังนั้น ทุกภาคส่วนจะต้องมีทักษะของการรู้เท่าทัน ที่ไม่ใช่เพียงเรื่องของดิจิทัลเท่านั้น แต่รู้เท่าทัน ความรอบรู้ และความเข้าใจเทคโนโลยี AI โดยเฉพาะในเรื่องของการใช้ AI เพราะตอนนี้ทุกๆ เรื่องของการใช้ชีวิตประจำวัน อย่าง การปลดล็อกหน้าจอโทรศัพท์ด้วย Face ID การใช้โซเชียลมีเดีย การส่งอีเมล์ หรือข้อความต่างๆ หรือการค้นหาบน Google ทุกอย่างล้วนเป็นการใช้ AI ทั้งสิ้น
มทร.ล้านนา เติมทักษะรู้เท่าทัน รอบรู้ เข้าใจการใช้ AI แก่นศ. อาจารย์ และบุคลากร

"มหาวิทยาลัยมีการอบรมและให้ความรู้แก่นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย ให้มีทักษะรู้เท่าทัน รอบรู้ และมีความเข้าใจเทคโนโลยี AI รวมถึงอบรมการใช้ชุดซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี AI โดยมีสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.ล้านนา เป็นผู้จัดโครงการอบรมบริการแก่อาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ให้สามารถมีทักษะ เข้าใจ และใช้โปรแกรม ชุดซอฟต์แวร์ AI ใหม่ๆ ได้ เหมือนใช้ โปรแกรม Microsoft Office Word เพราะเราคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยี AI ได้" รศ.ดร.อุเทน กล่าว

รศ.ดร.อุเทน กล่าวต่อว่านอกจากการใช้งานเทคโนโลยี AI แล้ว จะมีการสร้างความตระหนักและใช้ AI อย่างชาญฉลาด ไม่ใช่สร้างความตกใจ เพราะเมื่อทำให้ทุกคนรู้เท่าทันว่า AI สามารถทำอะไรได้ เรียนรู้ไปทำไม จะทำให้เกิดการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ขณะเดียวกัน การใช้เทคโนโลยีมีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากใช้มากเกินไปจนปล่อยปะละเลย เนื่องจากรู้ว่าเทคโนโลยีทำงานแทนคนได้อาจทำให้เวลาทำงานไม่ได้ละเอียดเท่าที่ควร ยิ่งเป็นงานเอกสารหรืองานที่ต้องมีการตรวจสอบ หากตรวจสอบไม่ถี่ถ้วนจะทำให้เกิดความผิดพลาดเรื่องการทำงาน หรือการติดต่อสื่อสารได้ ดังนั้น การใช้งาน AI อยากให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยใช้เป็นอย่างรู้เท่าทัน

ทั้งนี้ ในส่วนการเรียนการสอนของมทร.ล้านนา ขณะนี้แม้จะยังไม่เปิดหลักสูตรที่มีชื่อ AI โดยตรง แต่ในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ซอฟต์แวร์ หรือหลักสูตรวิศวกรรม หลักสูตรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงรูปแบบการเรียนการสอน มีการนำAI มาใช้ โดยเฉพาะในการเรียนรู้ของนักศึกษาปริญญาโท และปริญญาเอก มีการนำ AI มาใช้ทั้งในด้านการทำงานวิจัย การสืบค้น การเขียนบทความภาษาอังกฤษ และในส่วนของบุคลากรมีการสนับสนุนการนำ AI มาใช้ในสำนักงานและการทำงานต่างๆ รวมทั้งการเปิดโอกาสให้อาจารย์ในภาควิชาต่างๆ ได้ไปทำงานร่วมกับภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรมในประเทศจีนให้มีความเชี่ยวชาญ และสร้างความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตร จัดทำชุดโมดูลที่เกี่ยวกับ AI มาใช้ในการเรียนการสอน ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ AI มีชุดองค์ความรู้สมัยใหม่ๆ และเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี.

ที่มา: แมวกวัก

มทร.ล้านนา เติมทักษะรู้เท่าทัน รอบรู้ เข้าใจการใช้ AI แก่นศ. อาจารย์ และบุคลากร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

เม.ย. ๒๐๒๔ SAK จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น (E-AGM) ประจำปี 2567 พร้อมอนุมัติจ่ายปันผล 0.15 บาทต่อหุ้น
๑๕:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๕:๐๖ เคยไหม มีเสมหะ น้ำมูก เสลดเหนียวในคอแม้ไม่ได้เป็นหวัด? วันนี้แพทย์จีนหัวเฉียวมีคำตอบมาฝากทุกท่าน
๑๕:๒๗ สัมผัสเรื่องราวความอร่อยรอบจานจากเมนูดังประจำจังหวัดฟุกุอิ ณ ห้องอาหารญี่ปุ่น สึ
๑๕:๕๑ KTAM ร่วมส่งเสริมการลงทุนเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี ปล่อย 3 กองทุน Thai ESGX IPO 2 - 8 พ.ค.นี้
๑๕:๕๘ DHOUSE แต่งตั้ง 4 บล. ร่วมจัดจำหน่ายหุ้นกู้มีประกัน ครั้งที่ 2/68 ชูดอกเบี้ย 7.25% พร้อมขาย 6-8 พ.ค. นี้
๑๕:๕๐ ธ.ทิสโก้ จับมือ สมาคมนักวางแผนการเงินไทย เสริมแกร่ง 'Holistic Advisory' ยกระดับคุณภาพคำแนะนำให้ได้มาตรฐานสากล
๑๕:๒๑ กลุ่มสมอทอง ยื่นไฟลิ่ง ขาย IPO 231.60 ล้านหุ้น เข้า SET ระดมทุน ยกระดับผู้นำอุตสาหกรรมผลิต น้ำมันปาล์มดิบ
๑๕:๓๖ คุรุสภาขับเคลื่อน Thailand Teacher Academy พัฒนาครูด้วยองค์ความรู้เฉพาะด้านอย่างมืออาชีพ
๑๕:๒๑ กรมวิทย์ฯ บริการ เสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพยางแท่ง เอสทีอาร์ (STR) ตามมาตรฐานสากล