กทม. เร่งสร้างสะพานเกียกกายคาดแล้วเสร็จปี 69 พร้อมศึกษาทางแก้ปัญหาจราจรหลังยกเลิกก่อสร้างสะพาน 2 แห่ง

อังคาร ๐๔ มีนาคม ๒๕๖๘ ๑๖:๑๓
นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม. กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างสะพานที่อยู่ในความดูแลของ กทม. ตามแผนแม่บทสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลว่า โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณแยกเกียกกาย กทม. ได้แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 ก่อสร้างทางยกระดับและถนนฝั่งธนบุรี เริ่มจากถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันอยู่ระหว่างงานก่อสร้างเสาเข็มและฐานราก คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน พ.ย. 69 ผลการดำเนินงานมีความคืบหน้าร้อยละ 9.03 ช้ากว่าแผนงาน เนื่องจากการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินยังไม่แล้วเสร็จ ทำให้ผู้รับจ้างไม่สามารถเข้าพื้นที่บางส่วนได้ ส่วนช่วงที่ 2 ก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยารวมทางขึ้น - ลง ผลการดำเนินงานมีความคืบหน้าร้อยละ 33.20 คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ธ.ค.69 ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้ง Tower Crane เพื่อใช้ประกอบและติดตั้งงาน Form Traveler P2 และวางเหล็กเสริมคอนกรีต Pier Head P3 และช่วงที่ 3 ก่อสร้างทางยกระดับและถนนฝั่งพระนคร จากแม่น้ำเจ้าพระยา-แยกสะพานแดง อยู่ระหว่างนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่ออนุมัติก่อหนี้ผูกพันโครงการฯ และขอจัดสรรงบประมาณต่อไป
กทม. เร่งสร้างสะพานเกียกกายคาดแล้วเสร็จปี 69 พร้อมศึกษาทางแก้ปัญหาจราจรหลังยกเลิกก่อสร้างสะพาน 2 แห่ง

ทั้งนี้ สนย. อยู่ระหว่างศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาจราจร กรณีที่มีการยกเลิกการก่อสร้างสะพานจันทน์-เจริญนคร และโครงการสะพานลาดหญ้า-มหาพฤฒาราม เนื่องจากพบอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินโครงการได้ โดยโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนจันทน์-ถนนเจริญนคร สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีหนังสือด่วนที่สุดที่ นร 0505/33604 ลงวันที่ 26 ต.ค. 64 เรียนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แจ้งว่า คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 64 มีมติรับทราบเห็นชอบและอนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการเสนอแผนการใช้ที่ดินและผังแม่บท ศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งแผนการใช้ที่ดินและผังแม่บทศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย ตั้งอยู่บริเวณถนนเจริญนคร แขวงบางลำพูล่าง เขตคลองสาน บนที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน ที่ กท. 1989 (บางส่วน) เดิมเป็นพื้นที่ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้และเป็นพื้นที่เดียวกันกับพื้นที่โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนจันทน์-ถนนเจริญนคร อีกทั้งยังมีโบราณสถานตั้งอยู่ในบริเวณรัศมี 1 กิโลเมตรโดยรอบโครงการฯ ได้แก่ วัดเศวตฉัตรวรวิหาร จึงต้องศึกษารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) อย่างละเอียดรอบคอบ รวมทั้งมีการคัดค้านจากประชาชนจำนวนมาก

ส่วนโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนลาดหญ้า-ถนนมหาพฤฒาราม เนื่องจากกายภาพบริเวณจุดตัดถนนเจริญนครกับถนนลาดหญ้ามีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ โรงพยาบาลตากสินมีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีทองบนถนนเจริญนครใกล้จุดก่อสร้างทางขึ้น-ลงสะพาน ซึ่งตัดกับทางลาดสะพาน และที่ดินเอกชนบริเวณทางแยกมีการก่อสร้างเป็นอาคารสูง จึงทำให้เหลือพื้นที่สำหรับก่อสร้างทางขึ้น-ลงของสะพานไม่เพียงพอ รวมทั้งมีโบราณสถานตั้งอยู่ในบริเวณรัศมี 1 กิโลเมตรโดยรอบโครงการ ได้แก่ วัดทองนพคุณ วัดทองธรรมชาติ ป้อมป้องปัจจามิตร มัสยิดเชฟี และโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งต้องศึกษารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) อย่างละเอียดรอบคอบ และมีการคัดค้านจากประชาชนจำนวนมาก

ที่มา: กรุงเทพมหานคร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๔ ยันม่าร์ ประกาศอย่างเป็นทางการในการสนับสนุนสมาคมฟุตบอลอาเซียน
๑๗:๑๔ รู้ใจชวนทำความรู้จักเทเลเมติกส์ เทคโนโลยีลดอุบัติเหตุ ขับเคลื่อนท้องถนนปลอดภัย
๑๗:๐๙ The Food School Bangkok ผนึก 2 พันธมิตรยักษ์ใหญ่ มอบทุนกว่า 1.5 ล้านบาท เปิดตัว Future Chef of the World 2025
๑๗:๓๔ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง ทำงานอย่างไรให้มีความสุข
๑๗:๑๗ JGAB 2025 เปิดเวที The Next Gem Awards 2025 เฟ้นหาดีไซน์เนอร์เครื่องประดับรุ่นใหม่
๑๖:๐๙ ผถห. LEO ไฟเขียวปันผล 0.14 บาท/หุ้น รับทรัพย์ 14 พ.ค.นี้ เดินหน้ายุทธศาสตร์ LEO Go Green - รุกขยายธุรกิจใหม่ ดันกำไรขั้นต้นโตต่อเนื่อง
๑๖:๕๗ เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ เปิดตัวโซลูชันคลังสินค้าและโลจิสติกส์อัจฉริยะ ยกระดับการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB)
๑๖:๔๖ กระทรวง อว. โดย สวทช. - กรมควบคุมโรค กระทรวง สธ. ผนึกกำลังใช้ระบบ DDC-Care Platform เทคโนโลยีรับมือโรคระบาดข้ามพรมแดน
๑๖:๕๙ สจล. ร่วมมือมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ ขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการอย่างยั่งยืน
๑๖:๓๕ KOAN ในเครือ CPW บุกตลาด Smart Home เปิดตัวนวัตกรรมบ้านอัจฉริยะในงานสถาปนิก'68 ภายใต้แนวคิด Touch And