นายกสภาวิศวกร แนะ 4 ข้อแก้ "น้ำประปาเค็ม" ตามหลักวิศวกรรม

พุธ ๓๐ มิถุนายน ๒๐๒๑ ๑๑:๑๗
ศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร และ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เสนอ 4 ข้อตามหลักวิศวกรรมด้านวิศวกรรม ช่วยปัญหา"น้ำประปาเค็ม" ในกรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วย 1. เลือกตำแหน่งสถานีสูบน้ำดิบ 2. เตรียมแหล่งน้ำดิบสำรอง 3. ต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลการปล่อยน้ำระหว่างหน่วยงาน และ 4. ปรับการบริหารจัดการเปิด-ปิดประตูน้ำ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ สายด่วนสภาวิศวกร 1303 และไลน์ไอดี @coethai หรือติดตามข่าวสารและกิจกรรมความเคลื่อนไหวของสภาวิศวกรได้ที่ www.facebook.com/coethailand, www.coe.or.th และยูทูบแชลแนล "COE Thailand"

ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร และ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า นอกจากโควิดระลอก 4 จากการตรวจพบคลัสเตอร์ในพื้นที่ต่าง ๆ จำนวนมาก ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ยังประสบกับปัญหาน้ำประปาเค็ม อันเนื่องมาจากฝนทิ้งช่วงหรือมีปริมาณฝนที่น้อย อีกทั้งยังมีน้ำทะเลหนุนสูง จึงเป็นผลให้น้ำทะเลไหลไปเจือปนกับแหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปา ดังนั้น สภาวิศวกร ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลมาตรฐานวิชาชีพวิศวกรรม และการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคมในหลากมิติ จึงขอเสนอ 4 แนวทางโดยอิงหลักวิศวกรรมได้ดังต่อไปนี้

  1. เปลี่ยนตำแหน่งสถานีสูบน้ำดิบ ของการประปานครหลวง (กปน.) จ. ปทุมธานี อาจใกล้ปลายน้ำมากไป แม้ในอดีตถือว่า เป็นตำแหน่งที่คิดว่า น้ำทะเลคงหนุนไม่ถึง แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติรุนแรง กปน.อาจต้องย้ายสถานีสูบน้ำดิบ ขึ้นเหนือไปอีก ที่น้ำทะเลหนุนไม่ถึง ด้วยเทคโนโลยีระบบท่อและอุโมงค์ จะไม่เป็นปัญหาเลย เพราะในต่างประเทศ หรือแม้แต่การประปาภูมิภาคของไทย ก็สามารถลำเลียงน้ำดิบมาผลิตน้ำประปา ในระยะทางไกล
  2. จัดหาแหล่งน้ำดิบสำรอง อาจเป็นบ่อน้ำจืดขนาดใหญ่ หรือขนาดย่อมหลายพื้นที่ เช่น เหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่มีแหล่งน้ำธรรมชาติค่อนข้างสมบูรณ์ ไว้ใช้ทำน้ำประปา ในช่วงน้ำทะเลหนุน
  3. ต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลการปล่อยน้ำระหว่างหน่วยงาน โดยการปรับระบบการปล่อยน้ำเหนือของกรมชลประทาน ต้องมีการวางแผนและวิธีการปล่อยน้ำลงมาในช่วงจังหวะที่เหมาะสม
  4. ปรับการบริหารจัดการเปิด-ปิดประตูน้ำ ตามหลักวิศวกรรม น้ำเค็มหนุนก็ต้องปิด น้ำลงก็เปิด ซึ่งต้องเชื่อมโยงข้อมูลกับการขนส่งทางเรือ ทางคลอง และทางแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงต้องพิจารณาปัจจัยของน้ำฝน เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปได้อย่างบูรณาการ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ สายด่วนสภาวิศวกร 1303 และไลน์ไอดี @coethai หรือติดตามข่าวสารและกิจกรรมความเคลื่อนไหวของสภาวิศวกรได้ที่ www.facebook.com/coethailand, www.coe.or.th และยูทูบแชลแนล "COE Thailand"

ที่มา: เจซีแอนด์โค คอมมิวนิเคชั่นส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ วว. ผนึกกำลัง มรภ.เพชรบุรี พัฒนา วทน. ด้านเทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าพืชผลเกษตร-สร้างระบบนิเวศงานวิจัย
๑๗:๒๙ กทม. แจงจ้างเหมาเอกชนซ่อมบำรุงเครื่องสูบน้ำที่สถานีสูบน้ำคลองช่องนนทรี หลังสิ้นสุดระยะเวลาค้ำประกัน
๑๗:๔๖ ออปโป้ชวนด้อมไทยส่งข้อความสู่ Boost Your Dreams Box เตรียมต้อนรับ 3 หนุ่ม BSS สู่งาน Boost Your Dreams Together 2
๑๗:๔๒ นนท์ ธนนท์ - อิ้งค์ วรันธร นำทัพศิลปินขี้เหงา มาฮีลใจ ชวนคนเหงาปล่อยจอย ใน LONELY LOUD FEST เปิดจองบัตร Early Bird 30 ก.ค.
๑๗:๕๙ มะเร็งรังไข่ ภัยเงียบที่ผู้หญิงควรระวัง
๑๗:๒๘ โก โฮลเซลล์ ปักหมุดภาคใต้สาขาแรก ราไวย์ จ.ภูเก็ต แล้ว! ลุยอาณาจักรค้าส่งวัตถุดิบอาหาร สร้างฟู้ด พาราไดซ์
๑๗:๓๗ How to เริ่มต้นวางแผนซื้อบ้าน/คอนโดฯ อย่างไรให้มั่นใจยุคดอกเบี้ยสูง
๑๗:๒๐ โรบินสันไลฟ์สไตล์ ในเครือเซ็นทรัล รีเทล ฉลองเทศกาลวันแม่ ส่งแคมเปญ ชวน ฮักแม่ ด้วยภาษารัก
๑๗:๔๔ เลือกฟิล์มติดกระจกออฟฟิศยังไงให้คุ้มค่าในระยะยาว ?
๑๗:๒๒ 5 เคล็ดลับเลือก Clinic เสริมความงาม ที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน