การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และซึมเศร้าในคนท้อง

พฤหัส ๓๐ มีนาคม ๒๐๒๓ ๑๑:๕๖
คุณแม่ตั้งครรภ์จะได้รู้ทันการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของตนเองและรู้วิธีในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ร่วมไปถึงคุณพ่อและคนใกล้ชิดจะได้เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นและรู้วิธีที่จะช่วยประคับประคองให้คุณแม่ที่มีปัญหาผ่านเรื่องนี้ไปได้ บทความโดย นายแพทย์ธิติพันธุ์ น่วมศิริ สูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (MFM) ศูนย์สุขภาพผู้หญิง (Women's Health Center) โรงพยาบาลนวเวช ได้อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และซึมเศร้าในคนท้อง พร้อมทั้งนำเสนอข้อมูลความสำคัญที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรตระหนักในหลากหลายประการ นำไปสู่การตั้งครรภ์ที่ราบรื่น รวมทั้งช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีระหว่างตั้งครรภ์ของคุณแม่และลูกน้อย
การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และซึมเศร้าในคนท้อง

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ขณะตั้งครรภ์ มีหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุโดยฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงเป็นสาเหตุหลัก รวมไปถึงอาการเจ็บป่วยขณะตั้งครรภ์ ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ปัญหาส่วนตัวต่าง ๆ ก็เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ได้

สิ่งที่คุณแม่ต้องทำ คือ ระลึกไว้ว่าเมื่อมีการตั้งครรภ์ก็จะมีความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อาการจะดีขึ้นเมื่อฮอร์โมนคงที่ อย่าโทษตัวเองและคนอื่น ดูแลสุขภาพกายให้แข็งแรงพักผ่อน และรับประทานอาหารให้เพียงพอ คุณพ่อและคนรอบข้างต้องเข้าใจบทบาทของตน คอยช่วยเหลือดูแลภรรยาในด้านต่าง ๆ เช่น ช่วยเหลืองานบ้าน ดูแลจัดสถานที่ในบ้าน ที่นอน เครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับคุณแม่ตั้งครรภ์ ช่วยประคับประคองทางจิตใจ ทำกิจกรรมที่ช่วยให้คุณแม่อารมณ์ดีและผ่อนคลาย เช่น พาไปเที่ยวพักผ่อน ช่วยนวดผ่อนคลายความเมื่อยล้า เป็นต้น รวมถึงช่วยเลี้ยงลูกในช่วงหลังคลอด

แต่ถ้าหากอาการที่ผิดปกติทางอารมณ์ไม่ดีขึ้น อย่าปล่อยให้กลายเป็นปัญหาครอบครัว สามารถปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์ได้

ภาวะซึมเศร้าขณะตั้งครรภ์ และ หลังคลอด สามารถพบได้บ่อยกว่าที่เราคิด ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงและสามารถดีขึ้นได้เอง โดยคุณแม่และคนรอบข้างต้องช่วยกันปรับตัวและแก้ไขปัญหา แต่หากไม่ดีขึ้นหรือมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบแจ้งให้คุณหมอที่ฝากครรภ์ทราบ

  • ซึมเศร้า หม่นหมอง หดหู่ ร้องไห้
  • ความรู้สึกสนุก สนใจ ทำกิจวัตรประจำวันที่เคยชอบลดลง หรือรู้สึกเบื่อหน่ายในการดูแลลูก
  • เบื่ออาหารหรืออยากกินอาหารตลอดเวลา
  • ไม่มีกะจิตกะใจทำอะไร เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียตลอดเวลา
  • การนอนเปลี่ยนแปลง อาจง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา หรือนอนไม่หลับ
  • รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า เป็นแม่ที่ไม่มีความสามารถ
  • ไม่มีสมาธิ จดจ่อในสิ่งที่ทำลดลง
  • มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย

ถ้าคุณหมอตรวจแล้ว สงสัยว่าจะมีภาวะซึมเศร้าแบบรุนแรงจำเป็นต้องส่งปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อช่วยในการดูแลอย่างเหมาะสม และอาจต้องใช้ยารักษา โดยคุณหมอก็จะเลือกยาที่ปลอดภัยกับทั้งแม่และลูกมากที่สุด

"โรงพยาบาลนวเวช" มุ่งมั่นให้บริการทางการแพทย์ที่ดี และเข้าถึงง่าย (Accessible Quality Healthcare) พร้อมดูแลสุขภาพของทุกคนอย่างเข้าอกเข้าใจ ด้วยบริการทางการแพทย์ที่ครอบคลุมทุกช่วงวัย และทีมแพทย์เฉพาะทาง หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามรายละเอียดและขอรับคำปรึกษาได้ที่ ศูนย์สุขภาพผู้หญิง (Women's Health Center) โรงพยาบาลนวเวช โทร. 02 483 9999 I Line: @navavej I www.navavej.com

ที่มา: โรงพยาบาลนวเวช

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และซึมเศร้าในคนท้อง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital