ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยเดินหน้าสนับสนุนสินเชื่อทางการเงิน เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตสีเขียวให้แก่ภูมิภาคอาเซียน ธนาคารพร้อมสนับสนุนสินเชื่อทางการเงินภายใต้กรอบแนวคิดเพื่อความยั่งยืนให้แก่ธุรกิจในทุกภาคอุตสาหกรรมในการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission)
โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารยูโอบี ได้เข้าร่วมงาน ฟิวเจอร์ โมบิลิตี้ เอเชีย (Future Mobility Asia) และ "ฟิวเจอร์ เอนเนอร์จี เอเชีย" (Future Energy Asia) ประจำปี 2566 เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและนำเสนอโซลูชันทางการเงินของธนาคาร ที่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืนให้แก่ภูมิภาค ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงในอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผู้กำหนดนโยบายที่เข้าร่วมงานในปีนี้
นายตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า " ธนาคารยูโอบียึดมั่นในแนวทางการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมผนึกความร่วมมือกับทุกภาคส่วนผ่านโครงการเพื่อความยั่งยืนที่หลากหลายเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น ยูโอบีในฐานะธนาคารที่ตอบโจทย์ครบในหนึ่งเดียวเพื่อเข้าถึงโอกาสเติบโตทางธุรกิจทั่วอาเซียน ยืนยันจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงินที่พร้อมสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ยั่งยืน และเพื่อสิ่งแวดล้อมให้แก่สังคม ปัจจุบันสภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องเร่งด่วนสำหรับพวกเราทุกคน ธนาคารพร้อมนำเสนอกรอบแนวคิดและโซลูชันทางการเงินเพื่อความยั่งยืนที่ช่วยส่งเสริมและสร้างโอกาสให้แก่บริษัทในทุกภาคอุตสาหกรรมในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนร่วมกัน"
รายงานการศึกษาขององค์การสหประชาชาติพบว่าภาคธุรกิจพลังงานเป็นอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 3 ใน 4 ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มีการปล่อยทั่วโลก ธุรกิจพลังงานจำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนในแหล่งพลังงานหมุนเวียนทดแทนเพิ่มขึ้น แทนที่การใช้พลังงานจากก๊าซ ถ่านหิน และน้ำมัน เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศได้อย่างมีนัยยะสำคัญ
ยูโอบีย้ำถึงบทบาทของธนาคารในการจัดสรรเงินในการลงทุนเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปใช้พลังงานสะอาดให้มากขึ้น ซึ่งรายงานการศึกษาของสำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ (International Renewable Energy Agency: IRENA) พบว่าต้องมีการจัดสรรเงินลงทุนรวมกว่า 57 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐให้แก่ธุรกิจพลังงานไปจนถึงปี 2573 เพื่อจำกัดอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสตามความตกลงปารีส (Paris Agreement)[2] โดยเงินลงทุนประมาณร้อยละ 57 มาจากการปล่อยกู้และการระดมทุนโดยสถาบันการเงิน อีกร้อยละ 25 มาจากเงินลงทุนในบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ (private equity markets) และส่วนที่เหลือมาจากเงินลงทุนของธนาคารเพื่อการพัฒนาต่างๆ และเงินลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (public equity markets)
สำหรับภาคขนส่งที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึงร้อยละ 20 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก การพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมยานยนต์พลังงานสะอาดในอนาคตเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ ยูโอบีมองว่าแนวโน้มการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าทั่วโลกจะเติบโตถึงร้อยละ 18 ภายในปี 2566 และจะมากถึงร้อยละ 35 ภายในปี 2573 โดยเฉพาะในอาเซียนที่ยอดจำหน่ายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในหลายประเทศมีแนวโน้มจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 จากนโยบายของรัฐบาลที่เกื้อหนุนต่ออุตสาหกรรมและโมเดลรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือในประเทศไทย และประเทศอินโดนิเซียที่รัฐบาลกำหนดให้การพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานรถยนต์ไฟฟ้าเป็นหนึ่งในวาระแห่งชาติเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเป็นนโยบายเศรษฐกิจหลักเพื่อส่งเสริมให้ค่ายผู้ผลิตให้ย้ายฐานการผลิต
ธนาคารยูโอบีพร้อมสนับสนุนโซลูชันทางเงินแบบครบวงจรภายใต้โครงการยู-ไดรฟ์ (U-drive) เพื่อเชื่อมต่อไปยังทุกภาคส่วนตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าของระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า ตั้งแต่ บริษัทผลิตรถยนต์ บริษัทผู้รับจ้างผลิตชิ้นส่วนรถยนต์(OEMs) ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ผู้ประกอบการสถานีชาร์จแบตเตอรี่ ไปจนถึงผู้บริโภค ให้สามารถนำระบบขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ตลอดจนขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน
นอกจากนี้ธนาคารได้ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาโซลูชันทางการเงินที่ล้ำสมัยให้ตอบสนองต่อความต้องการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาดของภูมิภาค เช่น สินเชื่อทางการเงินเพื่ออนุรักษ์พลังงานสำหรับอาคารและที่อยู่อาศัยภายใต้โครงการยู-เอนเนอร์จี (U-Energy) ควบคู่ไปกับการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร หรือส่งเสริมความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม
โครงการยู-โซลาร์ (U-Solar) โซลูชันทางการเงินแบบครบวงจรที่สนับสนุนทุกภาคส่วน ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไปให้เปลี่ยนมาใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์มากขึ้น ความสำเร็จของโครงการในประเทศไทย สิงค์โปร์ อินโดนิเซีย และมาเลเซียช่วยให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนและเร่งให้การพัฒนาด้านพลังงานแสงอาทิตย์ในอาเซียนเป็นไปอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน โครงการยู-โซลาร์ของสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 186,000 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า (tCO2e) ทั่วภูมิภาคอาเซียน
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันทางการเงินเพื่อความยั่งยืนของธนาคารยูโอบีได้ที่ https://www.uobgroup.com/uobgroup/sustainable-financing.page
ที่มา: ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย