วว. ร่วมมือกับ ส.ขอนแก่น/สจล. วิจัยและพัฒนากล้าเชื้อแหนม ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพและการอาหาร

อังคาร ๑๑ กรกฎาคม ๒๐๒๓ ๑๕:๑๘
ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการวิจัยและพัฒนากล้าเชื้อแหนม ส. ขอนแก่น กับ ดร.เจริญ รุจิราโสภณ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ส.ขอนแก่นฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) และรศ.ดร.นภัสรพี เหลืองสกุล คณบดี คณะอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านเทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีการอาหาร การพัฒนาศักยภาพบุคลากร เทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชื้อจุลินทรีย์สำหรับอาหารและศึกษาคุณสมบัติในการเป็นโพรไบโอติกส์ของกล้าเชื้อ ส.ขอนแก่น และ วว. พร้อมผลักดันให้งานวิจัยสามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ โอกาสนี้ผู้บริหารและบุคลากรทั้งสามหน่วยงานร่วมเป็นเกียรติและแสดงความยินดีด้วย ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 ณ อาคาร ส. ทาวเวอร์ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
วว. ร่วมมือกับ ส.ขอนแก่น/สจล. วิจัยและพัฒนากล้าเชื้อแหนม ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพและการอาหาร

"...เป้าหมายที่สำคัญของ วว.  คือ การนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม อันเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม นวัตกรรม และขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศ ไปใช้ในการสนับสนุน ส่งเสริม และร่วมดำเนินการกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเชิงบูรณาการ เพื่อพัฒนาภาคเศรษฐกิจควบคู่กับสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ  ความร่วมมือในครั้งนี้ จึงเป็นการร่วมมือกันเพื่อส่งเสริม พัฒนาความรู้ งานวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สนับสนุนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพของประชากรในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อประโยชน์ขององค์กรและประเทศต่อไป..." ดร.โศรดา  วัลภา   กล่าว

ทั้งนี้ วว. วิจัยและพัฒนา พร้อมให้บริการด้านโพรไบโอติกส์ ภายใต้ความเชี่ยวชาญของ ศูนย์นวัตกรรมการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม หรือ ICPIM 1  ซึ่งเป็นศูนย์นวัตกรรมและเป็นหน่วยงานในสังกัด ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ ของ วว. ที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแบบครบวงจร (Research and Development, Innovation and Manufacturing : RDIM) ประกอบด้วยนักวิจัยที่มีประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีจุลินทรีย์โพรไบโอติกและจุลินทรีย์ในอุตสาหกรรมอาหาร พร้อมทั้งมีโครงสร้างพื้นฐานสำหรับงานวิจัยพัฒนาตั้งแต่ระดับต้นทาง (Upstream unit) ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการเฉพาะทาง ตั้งแต่ในระดับห้องปฏิบัติการ ระดับสัตว์ทดลอง จนถึงการศึกษาในระดับมนุษย์ (Clinical trial) ถึงระดับปลายทาง (Downstream unit) มีกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐานสากล ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งถือว่าเป็นสายการผลิตที่ครบวงจรเป็นแห่งแรกของประเทศ เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน ทำให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหาร อาหารสุขภาพ ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขัน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอรับคำแนะนำปรึกษาจาก ศูนย์นวัตกรรมการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม (ICPIM 1 ) วว. ติดต่อได้ที่ โทร. 061 414 3934, 0 2577 9771 โทรสาร 0 2577 9058 E-mail : [email protected] และ ID Line : @brc_tistr

นำเสนอข่าวโดย กองประชาสัมพันธ์ สำนักสื่อสารองค์กร วว. โทร. 0 2577 9360 E-mail : [email protected] Line@tistr IG : tistr_ig YouTube / TIKTOK : @tistr2506

ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

วว. ร่วมมือกับ ส.ขอนแก่น/สจล. วิจัยและพัฒนากล้าเชื้อแหนม ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพและการอาหาร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๐ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๑๖:๑๔ เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๑๖:๕๘ ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๑๖:๓๕ หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๑๖:๓๘ ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๑๖:๓๖ YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๑๖:๕๗ คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๑๖:๔๒ กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๑๕:๒๒ ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๑๕:๐๖ PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น