ยูโอบีเผยรายงานสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคฉบับล่าสุด ชี้ผู้บริโภคในอาเซียนยังคงกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอยในยามเงินเฟ้อ ขณะที่การใช้ช่องทางธนาคารและการชำระเงินดิจิทัลมีแนวโน้มสดใส

อังคาร ๒๒ สิงหาคม ๒๐๒๓ ๑๒:๕๐
รายงานศึกษาความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอาเซียน (ASEAN Consumer Sentiment Study หรือ ACSS) ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นการศึกษาชิ้นสำคัญโดยยูโอบี (UOB) พบว่าเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีความหวาดกลัวภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอาเซียนมากขึ้น ขณะที่การรับนำไปใช้และการใช้งานช่องทางธนาคารและการชำระเงินดิจิทัลเติบโตอย่างคึกคัก

กว่า 70% ของผู้ตอบแบบสำรวจในการศึกษา ACSS ปี 2566 คาดว่า ประเทศของตนจะประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปีหน้า[1] ดับความหวังที่จะเกิดการฟื้นตัว ขณะที่ความรู้สึกหดหู่ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงเท่าใดนักจากปีก่อน การศึกษานี้ยังเผยให้เห็นความนิยมที่เพิ่มขึ้นในการใช้ช่องทางธนาคารดิจิทัล อย่างแอปธนาคารในมือถือ ตลอดจนวิธีการชำระเงินแบบใหม่ ๆ เช่น อีวอลเล็ตหรือการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ด แพลตฟอร์มชำระเงินอีคอมเมิร์ซ และบัตรเดบิตหรือเครดิตการ์ดผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล

การศึกษา ACSS ของยูโอบีจัดทำขึ้นเป็นปีที่ 4 แล้วในปีนี้ ซึ่งดำเนินการระหว่างวันที่ 1 ถึง 26 มิถุนายน 2566 โดยสำรวจผู้ตอบแบบสอบถามทางออนไลน์จำนวน 3,400 คนจากสิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม ครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ยูโอบีร่วมมือกับบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการระดับโลกอย่างบอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (Boston Consulting Group) ในการศึกษานี้ด้วย

คุณแจ็กเกอลีน ตัน (Jacquelyn Tan) หัวหน้าฝ่ายบริการการเงินส่วนบุคคลของเครือยูโอบี กล่าวว่า "แม้การศึกษา ACSS ปี 2566 ของยูโอบีจะชี้ว่า ผู้บริโภคในอาเซียนมีมุมมองที่มีลักษณะระมัดระวังเกี่ยวกับแนวโน้มในอนาคต เมื่อภาวะเงินเฟ้อในสิงคโปร์และตลาดพัฒนาแล้วแห่งอื่น ๆ ยังคงอยู่ในระดับสูง แต่เรายังยินดีที่ได้เห็นว่าความกระตือรือร้นในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลและการเปิดรับยุคใหม่แห่งเทคโนโลยียังคงไม่แผ่วลง ทั้งนี้ ในการเป็นเครื่องวัดความรู้สึกในระดับภูมิภาคต่อเศรษฐกิจ รวมถึงด้านสำคัญที่เป็นที่สนใจอย่างพฤติกรรมการใช้จ่ายและพฤติกรรมทางการเงิน และเทคโนโลยี ข้อค้นพบจากการศึกษา ACSS ปี 2566 ของยูโอบีนี้มอบมุมมองเชิงลึกที่มีค่า ให้ผู้บริโภคและธุรกิจได้ปรับตัวและเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนในขณะนี้"

"ในฐานะสถาบันทางการเงินแห่งหนึ่ง กระแสแนวโน้มและมุมมองเชิงลึกที่เห็นได้เด่นชัดในการศึกษาเกี่ยวกับความกังวลหลักของผู้บริโภค การออมเงิน พฤติกรรมและความต้องการทางการเงินและดิจิทัล จะช่วยให้เราเข้าใจลูกค้าของเราในภูมิภาคนี้ได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เราตอบสนองความต้องการของลูกค้า และยกระดับความพยายามในการมีปฏิสัมพันธ์ เพื่อสนับสนุนลูกค้าของเราในการปรับตัวเข้าสู่ภูมิทัศน์ใหม่ด้านการธนาคารและดิจิทัล ตลอดจนในการคว้าโอกาสในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจปัจจุบันเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเงินที่มั่นหมายไว้"

เงินเฟ้อดับฝันเศรษฐกิจฟื้นตัว แต่ยังคงมีเรื่องดี ๆ อยู่บ้าง

เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเป็นข้อกังวลหลักในอาเซียน โดย 63% ของผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความกังวลในเรื่องนี้ ขณะที่ 57% กังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายครัวเรือนที่สูงขึ้น ชาวสิงคโปร์มีความกังวลในสองเรื่องนี้มากที่สุด โดย 71% และ 64% ของผู้ตอบแบบสอบถามกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายครัวเรือนที่สูงขึ้นตามลำดับ ข้อกังวลทางการเงิน 3 อันดับแรกในภูมิภาคนี้ ได้แก่ ความสามารถที่จะกันเงินเป็นเงินออม (37%) ความสามารถที่จะซื้อของจำเป็น (31%) และความสามารถที่จะรักษาระดับการดำเนินวิถีชีวิตในปัจจุบัน (28%) ในขณะที่ค่าสาธารณูปโภค (42%) และการซื้อของกินของใช้ในครัวเรือน (34%) เป็นรายการที่ผู้บริโภคใช้จ่ายสูงสุด 2 อันดับแรก ตามด้วยการสั่งอาหารหรือซื้ออาหาร และการศึกษาของบุตรอยู่ในอันดับสามร่วมกัน (31%) สำหรับค่าใช้จ่ายที่ไม่มีความจำเป็นนั้น คนส่วนใหญ่ลดรายจ่ายด้านเครื่องประดับ (38%) และการรับประทานอาหารที่ร้าน (34%) ตามด้วยเครื่องใช้ในบ้านและเฟอร์นิเจอร์ (32%)

แม้จะเป็นเช่นนั้น แต่ก็ยังมีมุมมองเชิงบวกอยู่บ้าง โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 3 ใน 5 ทั่วภูมิภาคนี้คาดว่าตนเองจะมีสถานภาพทางการเงินที่ดีขึ้นภายในเดือนมิถุนายนปีหน้า มากที่สุดคือเวียดนาม (76%) ตามด้วยอินโดนีเซีย (74%) และไทย (68%) สอดคล้องกับการคาดการณ์แนวโน้มครึ่งปีหลังของปี 2566 โดยยูโอบีว่าความเชื่อมั่นจะดีขึ้น เมื่ออัตราดอกเบี้ยในภูมิภาคมีเสถียรภาพและเศรษฐกิจเติบโตอย่างมั่นคง

ในสิงคโปร์ สถานการณ์ทางการเงินที่เป็นข้อกังวลสูงสุด 2 ประการ ได้แก่ ความสามารถที่จะกันเงินเป็นเงินออม (42%) และความสามารถในการวางแผนเกษียณล่วงหน้า (37%) ส่วนความสามารถที่จะซื้อของจำเป็นและความสามารถที่จะรักษาระดับการดำเนินวิถีชีวิตปัจจุบันอยู่ในอันดับ 3 ร่วมกัน (31%) โดย 43% ของผู้บริโภคในการสำรวจระบุว่า ตนมีการจ่ายค่าสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา ส่วน 34% รายงานว่าค่าใช้จ่ายในการซื้อของกินของใช้ในครัวเรือนเพิ่มขึ้น และ 32% ใช้จ่ายด้านการเดินทางประจำวันเพิ่มขึ้น กว่า 1 ใน 4 ของชาวสิงคโปร์จัดสรรงบประมาณสำหรับการใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งเพิ่มขึ้น 6% จากปีก่อน ส่งผลให้ผู้บริโภคกันเงินสำหรับการออมน้อยลง โดย 23% ระบุว่าเป็นเช่นนั้น คนรุ่นเจนซี (Gen Z)[2] เป็นกลุ่มประชากรที่ยึดหลักระมัดระวังมากที่สุด โดย 48% วางแผนที่จะออมเงินมากขึ้นในปีนี้ เทียบกับค่าเฉลี่ยระดับประเทศที่ 35% ส่วนคนรุ่นเจนวาย (Gen Y)[3] ให้ความสำคัญกับการลงทุน โดย 30% จัดสรรเงินสำหรับลงทุน เทียบกับค่าเฉลี่ยระดับประเทศที่ 24%

ไม่ว่าความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร ยูโอบีให้ความสำคัญกับมุมมองระยะยาวในการวางแผนทางการเงิน โดยมีความระมัดระวังรอบคอบและการบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นรากฐานสำคัญ ในทุกห้วงขณะของวงจรเศรษฐกิจ ยูโอบีจะแนะนำให้ลูกค้ามีแผนทางการเงินที่แข็งแรง รองรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น การคุ้มครอง ตลอดจนการสะสมเพิ่มพูนความมั่งคั่งของตน ตัวอย่างเช่นนักลงทุนที่อายุยังน้อยควรรู้จักที่จะก้าวเล็ก ๆ แต่มั่นคงในการบรรลุเป้าหมายทางการเงิน สะสมเพิ่มพูนเงินออม พร้อมทั้งคว้าประโยชน์ของการลงทุนตั้งแต่เนิ่น ๆ หนทางหนึ่งที่จะทำเช่นนี้ได้คือด้วยยูโอบี ซิมเปิลอินเวสต์ (UOB SimpleInvest) แพลตฟอร์มการลงทุนดิจิทัลที่สร้างขึ้นโดยให้ความสำคัญกับเป้าหมายและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของลูกค้า ซึ่งมอบ 4 โซลูชันการลงทุนที่มีการบริหารจัดการอย่างแข็งขัน โดย 2 โซลูชันใช้ข้อมูลเชิงลึกจากสำนักงานการลงทุนหลักของธนาคารส่วนบุคคลยูโอบี โดยยูโอบีงัดใช้โซลูชันและผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ชีวิตในระยะต่าง ๆ เพื่อมอบข้อเสนอสำหรับทุกกลุ่มประชากรเพื่อทำให้แน่ใจว่าความต้องการทางการเงินของพวกเขาจะได้รับการรองรับอย่างเพียงพอ

ช่องทางธนาคารและการชำระเงินดิจิทัลเป็นที่นิยมใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ผู้บริโภคในอาเซียนใช้บริการธนาคารในมือถือเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการทางการเงินของตน และเปิดรับเทคโนโลยีอย่างเช่นแพลตฟอร์มแบบผนวกรวมในการดูแลข้อมูลทางการเงินของตนมากขึ้น เกือบ 55% ของผู้ตอบแบบสอบถามได้เพิ่มการใช้งานแอปธนาคารในมือถือในช่วงปีที่ผ่านมา ส่วนการใช้ธนาคารทางอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บเบราเซอร์เป็นที่สองรองมาที่ 35% แพลตฟอร์มข้อมูลทางการเงินแบบผนวกรวมมีการใช้งานเพิ่มขึ้น 20% ในทั้งภูมิภาค โดยไทยและเวียดนามใช้บริการเหล่านี้คึกคักที่สุดในภูมิภาค ขณะที่ในสิงคโปร์ 1 ใน 5 ของคนรุ่นเจนวายใช้งานแพลตฟอร์มอย่างเช่นเอสจีฟินเด็กซ์ (SGFinDex) เพิ่มขึ้น ซึ่งเปิดโอกาสให้ดูข้อมูลทางการเงินของผู้ใช้ได้อย่างครอบคลุม นอกจากลูกค้าของยูโอบีจะสามารถเข้าถึงเอสจีฟินเด็กซ์ผ่านแอปยูโอบี ทูมอร์โรว์ (UOB TMRW) ได้แล้ว ธนาคารยูโอบียังเป็นที่แรกที่บูรณาการแพลตฟอร์มเช่นนี้เข้ากับเครื่องมือให้คำปรึกษาพอร์ตฟอลิโอ (Portfolio Advisory Tools) ของยูโอบีเอง จึงช่วยให้ที่ปรึกษาของลูกค้าสามารถติดตามดู บริหารจัดการ และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับพอร์ตโฟลิโอความมั่งคั่งของลูกค้าได้อย่างเป็นองค์รวมมากขึ้น

อีกข้อมูลที่โดดเด่นคือ สาขาธนาคารมีการใช้งานเพิ่มขึ้น 17% ในทั้งภูมิภาค ซึ่งบ่งชี้ว่าผู้บริโภคยังคงให้คุณค่ากับปฏิสัมพันธ์แบบต่อหน้า เพิ่มเติมจากหลากหลายช่องทางดิจิทัลที่มีอยู่ ในสิงคโปร์นั้น กว่าครึ่งหนึ่งเลือกที่จะใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับบริการง่าย ๆ อย่างเช่นการสมัครบัตรเครดิตและบัตรเดบิต และตรวจสอบสถานะรางวัล แต่ชอบที่จะใช้ช่องทางออฟไลน์หรือหลายช่องทางร่วมกันสำหรับธุรกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้น อย่างเช่นธุรกรรมมูลค่าสูง การยื่นขอและรีไฟแนนซ์เงินกู้ธนาคาร ตลอดจนการซื้อประกัน เช่นนี้สอดรับอย่างลงตัวกับแนวทางการเชื่อมรวมหลากหลายช่องทางของยูโอบี[4] ซึ่งธนาคารยูโอบีเสนอโมเดลปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างไร้รอยต่อจากออนไลน์สู่ออฟไลน์ ประสิทธิภาพของแนวทางการเชื่อมรวมหลากหลายช่องทางนั้นปรากฏอย่างชัดเจน เนื่องจากลูกค้ากลุ่มนี้มีปฏิสัมพันธ์กับธนาคารมากที่สุด โดยถือครองและดำเนินธุรกรรมมากกว่าลูกค้าแบบดั้งเดิมถึง 20 เท่า[5]

ในด้านการชำระเงินนั้น ผู้บริโภคในอาเซียนแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ที่พร้อมนำเทคโนโลยีล่าสุดไปใช้งาน โดยการชำระเงินผ่านอีวอลเล็ตหรือคิวอาร์โค้ดเป็นวิธีการชำระเงินที่ได้รับความนิยมสูงสุดในภูมิภาค โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 56% ใช้วิธีชำระเงินดังกล่าวนี้ในปีที่ผ่านมา แพลตฟอร์มการชำระเงินอีคอมเมิร์ซอยู่ในอันดับที่สองที่ 49% ขณะที่บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตในกระเป๋าเงินดิจิทัลอยู่ในอันดับสามที่ 48% อีกทั้งยังเป็นวิธีการชำระเงินที่ผู้บริโภคมีความสนใจมากที่สุดที่จะลองใช้ โดย 22% ระบุความประสงค์ที่จะลองใช้ในปีหน้า

ในสิงคโปร์ ผู้บริโภคยังคงเลือกที่จะชำระเงินผ่านแพลตฟอร์มของธนาคารมากกว่าแพลตฟอร์มภายนอกของบุคคลที่สาม โดยบัตรเครดิตและบัตรเดบิตที่เป็นตัวบัตรเป็นวิธีการชำระเงินที่มีผู้เลือกใช้อันดับสูงสุดที่ 62% บัตรเครดิตและบัตรเดบิตในกระเป๋าเงินดิจิทัลและบริการชำระเงินระหว่างบุคคล (Peer-to-Peer) อยู่ในอันดับสองร่วมกันที่ 50% เช่นเดียวกับเพื่อนร่วมภูมิภาค ชาวสิงคโปร์มีความสนใจที่จะลองใช้การชำระเงินด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตในกระเป๋าเงินดิจิทัลมากที่สุดในปีถัดไป โดย 20% ระบุว่าจะทำเช่นนั้น

ยูโอบีมีบทบาทการดำเนินงานใหญ่ที่สุดในอาเซียน โดยอยู่ในตำแหน่งเหมาะสมที่จะรองรับความต้องการข้ามพรมแดนของลูกค้าในภูมิภาค ข้อเสนอบัตรระดับภูมิภาคที่ไม่เหมือนที่อื่นใดของยูโอบีทำให้ผู้ถือบัตรได้รับรางวัลและสิทธิประโยชน์จากผู้ค้าที่เป็นคู่ค้าได้ทั่วทั้งอาเซียน นอกจากนี้ การขยายโซลูชันการชำระเงินและการโอนเงินทุนระหว่างประเทศไปสู่ตลาดสำคัญอย่างมาเลเซียและไทย ทำให้ธนาคารยูโอบีพร้อมที่จะเป็นธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยที่เป็นตัวเลือกสำหรับผู้บริโภคในภูมิภาคนี้ บทบาทของยูโอบีในการเชื่อมโยงการชำระเงินข้ามพรมแดนซึ่งนำโดยรัฐบาลเช่นนี้จะเสริมสร้างความตระหนักรู้และการใช้บริการของยูโอบีในอาเซียน ทั้งยังมอบความสะดวกที่เพิ่มมากขึ้นให้กับลูกค้าทั้งภูมิภาคด้วย

การธนาคารแบบเฉพาะบุคคล

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในอาเซียนพร้อมที่จะเผยข้อมูลทางการเงินของตนกับธนาคาร และเห็นชอบกับการที่ข้อมูลของตนได้รับการนำไปใช้เพื่อคัดสรรผลิตภัณฑ์และบริการที่สอดรับกับความจำเป็นและความต้องการของตนโดยเฉพาะ กว่า 70% ของผู้ตอบแบบสอบถามสบายใจที่จะให้ข้อมูลทางการเงินให้ธนาคารนำไปรวมบนแพลตฟอร์มเดียว โดย 83% เลือกที่จะทำเช่นนั้นผ่านแอปธนาคาร เมื่อเทียบกับผู้ให้บริการแอปรายอื่น ๆ อย่างเช่นแอปอีคอมเมิร์ซหรือแอปชอปปิง และแอปรวมหลายบริการ ในบรรดาผู้ตอบแบบสอบถามเหล่านี้ กว่า 90% ระบุความต้องการที่จะรับข้อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการแบบปรับแต่งเฉพาะบุคคลในแอปธนาคารของตน ความต้องการที่แข็งแกร่งสำหรับการปรับแต่งเฉพาะบุคคลยังปรากฏอย่างทั่วถึงในทุกกลุ่มอายุ ระดับรายได้ และเพศในการสำรวจนี้

การปรับแต่งเฉพาะบุคคลเป็นเสาหลักสำคัญของยูโอบี ตั้งแต่ดีลและรางวัลที่เสนอให้กับลูกค้าโดยอิงจากการซื้อที่ผ่านมา ไปจนถึงอินไซต์การ์ด (insight card) ที่ส่งมอบผ่านแอปยูโอบี ทูมอร์โรว์โดยอิงจากพฤติกรรมการใช้จ่าย และการแจ้งเตือนเมื่อใกล้จะบรรลุขั้นเกณฑ์ที่จะได้อัตราดอกเบี้ยบัญชีเงินฝากที่สูงขึ้น ยูโอบียึดมั่นในการทำสิ่งที่ถูกต้องให้แก่ลูกค้าด้วยการเชิดชูลูกค้าในตัวตนที่เป็น

เกี่ยวกับยูโอบี

ธนาคารยูโอบีเป็นธนาคารชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย มีสำนักงานใหญ่ที่ประเทศสิงคโปร์และมีการดำเนินธุรกิจในจีน อินโดนิเซีย มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม อีกทั้งยังมีเครือข่ายระดับโลกที่ประกอบด้วยสำนักงานประมาณ 500 แห่ง ใน 19 ประเทศและเขตการปกครอง ทั้งในเอเชียแปซิฟิก ยุโรป และอเมริกาเหนือ นับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ 2478 ธนาคารยูโอบีได้พัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่องผ่านการควบรวมกิจการที่สำคัญ ปัจจุบันธนาคารยูโอบีได้รับการจัดลำดับให้เป็นธนาคารที่มีความแข็งแกร่งในระดับสากลจากบริษัทจัดลำดับความน่าเชื่อถือระดับโลก ได้แก่ ความน่าเชื่อถือระดับ Aa1 โดย มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส และความน่าเชื่อถืออยู่ในลำดับ AA- จากเอสแอนด์พี โกลบอล เรทติงส์ และฟิทช์ เรทติงส์

ตลอดระยะเวลาเกือบ 9 ทศววรษ ธนาคารยูโอบีดำเนินธุรกิจโดยยึดความต้องการของลูกค้าเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างคุณค่าให้แก่ธุรกิจในระยะยาวโดยการปรับกลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคผ่านพลังงานแห่งความสร้างสรรค์และความมุ่งมั่นในการทำสิ่งที่ถูกต้องแก่ลูกค้า ยูโอบีพร้อมที่จะพัฒนาอนาคตของภูมิภาคอาเซียนในเติบโต ทั้งประชากรและธุรกิจให้มีความเชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึงในภูมิภาค

เรายังมีส่วนในการเชื่อมต่อโอกาสทางธุรกิจภายในภูมิภาคนี้ ผ่านเครือข่ายทางการเงินที่แข็งแกร่ง เรามีการจัดทำฐานข้อมูลและรวบรวมข้อมูลเชิงลึกสำหรับพัฒนาและนำเสนอประสบการณ์ทางการเงินส่วนบุคคล และบริการทางการเงินที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลง ยูโอบีมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจให้แก่ลูกค้า ผ่านกิจกรรมการมีส่วนร่วมทางสังคม สร้างผลกระทบที่ดีต่อสื่งแวดล้อม พร้อมไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ธนาคารเชื่อมั่นในการเป็นผู้บริการทางการเงินที่มีความรับผิดชอบ พร้อมทำสิ่งที่ถูกต้องเพื่อชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผ่านการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมด้านศิลปะ เยาวชน และการศึกษา

[1] ปีหน้าหมายถึง 12 เดือนถัดไป โดยเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566[2] คนรุ่นเจนซีหมายถึงผู้ที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 24 ปี[3] คนรุ่นเจนวายหมายถึงผู้ที่มีอายุระหว่าง 25 ถึง 40 ปี[4] ลูกค้าประเภทเชื่อมรวมหลากหลายช่องทาง หมายถึงลูกค้าที่ใช้งานช่องทางแบบกายภาพและดิจิทัลผสมผสานกัน รวมถึงธนาคารออนไลน์และแอปธนาคารในมือถือ ส่วนลูกค้าแบบดั้งเดิมหมายถึงลูกค้าที่ใช้เฉพาะช่องทางแบบกายภาพ อย่างเช่นสาขาและคอลเซ็นเตอร์[5] สำหรับปีปฏิทิน 2565

ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๖ ก.ค. วว. ผนึกกำลัง มรภ.เพชรบุรี พัฒนา วทน. ด้านเทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าพืชผลเกษตร-สร้างระบบนิเวศงานวิจัย
๒๖ ก.ค. กทม. แจงจ้างเหมาเอกชนซ่อมบำรุงเครื่องสูบน้ำที่สถานีสูบน้ำคลองช่องนนทรี หลังสิ้นสุดระยะเวลาค้ำประกัน
๒๖ ก.ค. ออปโป้ชวนด้อมไทยส่งข้อความสู่ Boost Your Dreams Box เตรียมต้อนรับ 3 หนุ่ม BSS สู่งาน Boost Your Dreams Together 2
๒๖ ก.ค. นนท์ ธนนท์ - อิ้งค์ วรันธร นำทัพศิลปินขี้เหงา มาฮีลใจ ชวนคนเหงาปล่อยจอย ใน LONELY LOUD FEST เปิดจองบัตร Early Bird 30 ก.ค.
๒๖ ก.ค. มะเร็งรังไข่ ภัยเงียบที่ผู้หญิงควรระวัง
๒๖ ก.ค. โก โฮลเซลล์ ปักหมุดภาคใต้สาขาแรก ราไวย์ จ.ภูเก็ต แล้ว! ลุยอาณาจักรค้าส่งวัตถุดิบอาหาร สร้างฟู้ด พาราไดซ์
๒๖ ก.ค. How to เริ่มต้นวางแผนซื้อบ้าน/คอนโดฯ อย่างไรให้มั่นใจยุคดอกเบี้ยสูง
๒๖ ก.ค. โรบินสันไลฟ์สไตล์ ในเครือเซ็นทรัล รีเทล ฉลองเทศกาลวันแม่ ส่งแคมเปญ ชวน ฮักแม่ ด้วยภาษารัก
๒๖ ก.ค. เลือกฟิล์มติดกระจกออฟฟิศยังไงให้คุ้มค่าในระยะยาว ?
๒๖ ก.ค. 5 เคล็ดลับเลือก Clinic เสริมความงาม ที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน