นักวิจัยกรมพัฒนาที่ดินสุดเจ๋ง ขับเคลื่อนระบบมาตรฐานห้องปฏิบัติการทดสอบดิน เข้าสู่มาตรฐานสากล

อังคาร ๒๖ กันยายน ๒๐๒๓ ๑๗:๕๖
กรมพัฒนาที่ดิน โชว์ความสำเร็จของการขับเคลื่อนระบบมาตรฐานห้องปฏิบัติการทดสอบดินสู่มาตรฐานสากล ISO/IEC 17025: 2017 กรณีการวิเคราะห์ค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน และค่าการนำไฟฟ้าของดิน ฝีมือคณะวิจัยสำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน พร้อมคัดเลือกให้ได้รางวัลชนะเลิศภาคบรรยาย สาขาวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2566
นักวิจัยกรมพัฒนาที่ดินสุดเจ๋ง ขับเคลื่อนระบบมาตรฐานห้องปฏิบัติการทดสอบดิน เข้าสู่มาตรฐานสากล

นายปราโมทย์ ยาใจ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า เพื่อพัฒนาวิธีวิเคราะห์ และตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ค่าความเป็นกรด-ด่าง และค่าการนำไฟฟ้าของดิน และพัฒนาระบบบริหารงาน(ด้านวิชาการและด้านบริหาร) ของห้องปฏิบัติการทดสอบกรมพัฒนาที่ดิน ให้มีมาตรฐานในระดับสากล นำมาซึ่งความมั่นใจแก่ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้ ทั้งเกษตรกร ภาครัฐ และภาคเอกชน ได้รับการยอมรับทั้งในระดับชาติและระดับสากล ตามนโยบายการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการวิจัย และนวัตกรรมกรมพัฒนาที่ดิน คณะนักวิจัยของสำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ประกอบด้วย ดร.จุฑามาศ ไกรเพิ่ม, นางจิราพร สวยสม, นางอัจจิมา พงษ์จินดา และนางสาวกรกรนก เปรี่ยมหมื่นไวย์ ได้ดำเนินการศึกษาวิจัย และประสบผลสำเร็จในการขับเคลื่อนระบบมาตรฐานห้องปฏิบัติการทดสอบดิน และได้นำเสนอเป็นผลงานวิชาการ ภายใต้หัวข้อ "ความสำเร็จของการพัฒนาระบบมาตรฐานห้องปฏิบัติการทดสอบดินสู่มาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2017 กรณีการวิเคราะห์ค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน และค่าการนำไฟฟ้าของดิน" ในการประชุมวิชาการประจำปี 2566 "ฟื้นฟูปฐพี สร้างสรรค์ดินดี ด้วยเทคโนโลยีพัฒนาที่ดิน" ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 4 - 6 กันยายน 2566 ณ โรงแรมเดอะกรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

          "ด้วยเป็นผลงานที่ก่อประโยชน์ช่วยทำให้เกษตรกรมีความมั่นใจในผลการวิเคราะห์ และคำแนะนำการจัดการดิน สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการวิเคราะห์จะต้องมีความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ดังนั้น กรมพัฒนาที่ดิน จึงคัดเลือกให้ผลงาน "ความสำเร็จของการพัฒนาระบบมาตรฐานห้องปฏิบัติการทดสอบดินสู่มาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2017 กรณีการวิเคราะห์ค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน และค่าการนำไฟฟ้าของดิน" ได้รับรางวัลชนะเลิศภาคบรรยาย สาขาวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ในการประชุมวิชาการประจำปี 2566 "ฟื้นฟูปฐพี สร้างสรรค์ดินดี ด้วยเทคโนโลยีพัฒนาที่ดิน" อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าว

ด้าน ดร.จุฑามาศ ไกรเพิ่ม ผู้อำนวยการกลุ่มวิทยบริการ สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า การวิเคราะห์ค่าความเป็นกรด-ด่างของดินและค่าการนำไฟฟ้าของดิน ถือว่า มีความสำคัญต่อการให้คำแนะนำแก่เกษตรกรในการปรับปรุงดินให้มีความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช ด้วยดินเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญในการเพาะปลูกพืช ความเป็นกรด (Acidity) และความเป็นด่าง (Alkalinity) ของดิน เป็นสมบัติทางด้านเคมีดินที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการทางเคมีและชีวภาพในดิน ส่งผลกระทบต่อความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืช รวมถึงความเค็มของดินซึ่งมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืช เพราะทำให้กระบวนการเมแทบอลิซึมของพืชผิดปกติ ส่งผลทำให้การงอกและการเจริญของพืชลดลง การวิเคราะห์ค่าความเป็นกรด-ด่างของดินและค่าการนำไฟฟ้าของดิน จึงมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงบำรุงดินให้มีความเหมาะสมกับการปลูกพืชแต่ละชนิด เพื่อให้เกษตรกรมีความมั่นใจในคำแนะนำการจัดการดิน สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดร.จุฑามาศ กล่าวต่อไปว่า ในฐานะที่ห้องปฏิบัติการกลุ่มวิทยบริการ สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการให้บริการตรวจสอบดิน และประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินให้แก่เกษตรกร ภาครัฐ และภาคเอกชน จำเป็นต้องขับเคลื่อนระบบมาตรฐานห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025:2017 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้รับบริการ โดยสิ่งสำคัญ คือ พัฒนาวิธีการวิเคราะห์ค่าความเป็นกรด-ด่างของดินและค่าการนำไฟฟ้าของดิน เพื่อให้ได้วิธีการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง โดยการเปรียบเทียบวิธีวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการกับวิธีวิเคราะห์ตามมาตรฐานสากล พร้อมมีการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีที่ได้พัฒนาขึ้น ด้วยการทดสอบคุณลักษณะด้านความแม่น (Accuracy) ความเที่ยง (Precision) และความคงทนของวิธีทดสอบ (Robustness) และพัฒนาระบบการบริหารงานของห้องปฏิบัติการทดสอบทั้งด้านวิชาการและด้านบริหารตามข้อกำหนดในระบบมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 อย่างเคร่งครัด

"จากการดำเนินการ ได้พัฒนาจนประสบผลสำเร็จใน 3 แนวทางสำคัญ ได้แก่ หนึ่ง ได้วิธีวิเคราะห์ค่าความเป็นกรด-ด่างของดินและค่าการนำไฟฟ้าของดินที่เป็นมาตรฐานสากล สอง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองความสามารถตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2017 รวม 2 ขอบข่าย ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าความเป็นกรด-ด่างของดินและค่าการนำไฟฟ้าของดิน ในปี 2562 จนถึงปัจจุบัน และสาม รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ดินของห้องปฏิบัติการกลุ่มวิทยบริการมีความถูกต้อง แม่นยำ เป็นการสร้างความมั่นใจแก่ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้ ทั้งเกษตรกร ภาครัฐและภาคเอกชน ทำให้ได้รับการยอมรับทั้งในระดับชาติและระดับสากล" ดร.จุฑามาศ กล่าว

ที่มา: กรมพัฒนาที่ดิน

นักวิจัยกรมพัฒนาที่ดินสุดเจ๋ง ขับเคลื่อนระบบมาตรฐานห้องปฏิบัติการทดสอบดิน เข้าสู่มาตรฐานสากล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๗ เม.ย. อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud