STI ปรับรอบงบปี โชว์ผลงานปี 66 ทำรายได้ 1,746 ล้านบาท ชูนวัตกรรม สะท้อนผู้นำควบคุมงานก่อสร้างครบวงจร

พุธ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๐๒๓ ๑๐:๓๔
บมจ. สโตนเฮ้นจ์ อินเตอร์ หรือ STI ปรับรอบระยะเวลาบัญชี เป็นเริ่มต้น 1 ต.ค. - 30 ก.ย.ของทุกปี โชว์ฟอร์มดี เปิดรายได้ปี 2566 มีรายได้จากการให้บริการ 1,746 ล้านบาท กำไร 133 ล้านบาท มองภาพรวมเติบโตต่อเนื่อง จากงานภาครัฐที่กลับมาฟื้นตัวหลังตั้งรัฐบาลและมีการจัดสรรงบประมาณในรอบการดำเนินงานใหม่นี้ พร้อมชูนวัตกรรมมาใช้ในการควบคุมงานก่อสร้าง เพิ่มความแม่นยำและลดเวลา สร้างโอกาสในการรับงาน พร้อมเดินหน้าประมูลงานใหม่ โดยปัจจุบันมี Backlog อยู่ที่ 3,800 ล้านบาท ด้านบอร์ดบริษัท ไฟเขียวจ่ายปันผลเป็นเงินสดให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.10 บาท กำหนดจ่าย 23 ก.พ. 67
STI ปรับรอบงบปี โชว์ผลงานปี 66 ทำรายได้ 1,746 ล้านบาท ชูนวัตกรรม สะท้อนผู้นำควบคุมงานก่อสร้างครบวงจร

นายสมเกียรติ ศิลวัฒนาวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สโตนเฮ้นจ์ อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ STI ผู้นำในกลุ่มธุรกิจวิศวกรที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานก่อสร้างครบวงจร เผยผลการดำเนินงานของปี 2566 ที่โชว์ฟอร์มได้อย่างแข็งแกร่ง เดินหน้ารับงานตุนพอร์ตในมืออย่างต่อเนื่อง ทั้งจากงานโปรเจกต์ภาครัฐและเอกชน งานโครงสร้างพื้นฐาน งานโรงพยาบาลต่างๆ ที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญในหลายกลุ่มธุรกิจ โดยมีการใช้ระบบฐานข้อมูลงานออกแบบและงานก่อสร้าง (BIG DATA) และมีทีมวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญในการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 กลุ่ม STI มีงานในมือ (Backlog) อยู่ที่ 3,800 ล้านบาท

ทั้งนี้ บริษัทฯ มีมติอนุมัติเปลี่ยนแปลงรอบระยะเวลาบัญชีจากเดิมเริ่มต้นในวันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี เป็นเริ่มต้นในวันที่ 1 ตุลาคม และสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายนของทุกปี โดยเริ่มเปลี่ยนรอบบัญชีในปี 2566 ดังนั้นงบการเงินสำหรับรอบบัญชีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 จึงจัดทำขึ้นสำหรับรอบระยะเวลาเก้าเดือนเท่านั้น

โดยงบเสมือนที่จัดทำขึ้นสำหรับรอบระยะเวลา 12 เดือน กลุ่ม STI มีผลการดำเนินงานในปี 2566 (1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566) จากรายได้จากการให้บริการจำนวน 1,746.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.9 ล้านบาท คิดเป็น 0.6% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน (1 มกราคม 2565 - 31 ธันวาคม 2565) ปัจจัยมาจาก รายได้ของธุรกิจบริหารและควบคุมงานก่อสร้างลดลง 2.1% ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากโครงการภาครัฐขนาดใหญ่หลายโครงการยังไม่สามารถเดินหน้าพัฒนาได้ตามแผน แต่เริ่มเห็นสัญญาณกลับมาฟื้นตัวในช่วงโค้งสุดท้ายของปี ในทางกลับกันรายได้จากธุรกิจออกแบบสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมและธุรกิจอื่นมีจำนวนเพิ่มขึ้น 39.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 12.4% สาเหตุหลักเนื่องมาจากงานบริการส่วนนี้สามารถดำเนินการเพื่อส่งมอบได้มากขึ้นภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดที่มีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะในส่วนของบริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด (AEC) (บริษัทในกลุ่ม)

ทั้งนี้ บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้น จำนวน 514.4 ล้านบาท ลดลง 4.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ส่งผลให้มีอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 29.4% และมีกำไรสุทธิ จำนวน 133.4 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ 7.6%

อย่างไรก็ตาม โครงการหลักๆในปัจจุบันของกลุ่ม STI ยังคงมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการ One Bangkok โครงการรถไฟฟ้ารางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ โครงการรถไฟรางคู่สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ เตาปูน-ราษฎร์บูรณะโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 เป็นต้น

ไม่เพียงเท่านี้ กลุ่ม STI ได้กระจายในทุกกลุ่มธุรกิจที่หลากหลาย โดยไฮไลท์ที่โดดเด่นในปีนี้ของ STI อยู่ที่กลุ่มงานโรงพยาบาล ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ถือเป็นผู้นำในด้านการควบคุมงานโรงพยาบาลที่มีผลงานมากที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งจะต้องใช้ความเชี่ยวชาญขั้นสูงของวิศวกรเฉพาะทาง ที่จะต้องเข้าใจเครื่องมือเทคโนโลยีทางการแพทย์ รวมถึงการนำนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ในการทำงานเพื่อให้สะดวกและแม่นยำของงาน

อีกทั้งปัจจุบัน ทุกภาคส่วนต่างให้ความสำคัญกับงานโครงการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานอาคารสีเขียว (GREEN BUILDING) ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์สู่ความยั่งยืน โดยวิศวกรของ STI พร้อมทำงานด้วยความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง มีความเข้าใจกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อส่งมอบอาคารที่มีคุณสมบัติสอดคล้องตามมาตรฐานสากล

นายสมเกียรติ กล่าวทิ้งท้ายว่า "STI เรามั่นใจว่ายังมีโอกาสเติบโตต่อเนื่องในปีหน้า จากงานของภาครัฐที่เริ่มฟื้นตัวหลังจัดตั้งรัฐบาลใหม่แล้วเสร็จ งบประมาณเริ่มมีการเคลื่อนไหว อีกทั้ง STI เรายังนำนวัตกรรมต่างๆ มาใช้สำหรับการควบคุมงานก่อสร้าง พร้อมเดินหน้าลุยงานทั้งภาครัฐและเอกชน สะท้อนจากงานในมือที่เราได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง"

อย่างไรก็ดี คณะกรรมการบริษัทเห็นชอบให้จ่ายปันผลเป็นเงินสดให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.10 บาท จากกำไรสุทธิในงวดผลประกอบการวันที่ 1 มกราคม - 30 กันยายน 2566 โดยกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผล (Record Date) วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 และกำหนดจ่ายปันผลภายใน 23 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งการให้สิทธิในการรับเงินปันผลยังมีความไม่แน่นอน เนื่องจากต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 โดยมีกำหนดจัดขึ้นในวันพุธที่ 24 มกราคม 2567

ที่มา: ไออาร์ พลัส

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๙ ม.กรุงเทพ เห็นถึงคุณค่าพลังงานที่ยั่งยืนเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสร้างสกิลตรง
๑๖:๐๗ แอลจีเผยผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2024 ผลักดันธุรกิจด้วยนวัตกรรมพร้อมรักษาสมดุลระหว่างธุรกิจหลักและการเติบโตในอนาคตเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ
๑๖:๓๕ ฮั้วฟง รับเบอร์ฯ (HFT) จัดประชุมผู้ถือหุ้นปี 2567 ผถห.โหวตผ่านฉลุยทุกวาระ
๑๖:๕๒ ซีเอ็ด เปิดสาขาใหม่ที่ตราด! บริจาคหนังสือ 2 แสนบาท หนุนการอ่านในท้องถิ่น
๑๖:๕๙ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ทั้งปีที่อัตราหุ้นละ 0.52
๑๖:๕๙ ปรับการนอนหลับของคุณให้มีคุณภาพดีขึ้นด้วยฟีเจอร์ใน HUAWEI Band 9
๑๖:๓๔ ไฮเออร์ ประเทศไทย โชว์ศักยภาพแกร่ง พาเหรดทัพนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ร่วมจัดแสดงในงาน China Enterprise Product Resources
๑๖:๑๐ สถานทูตอิตาลี เปิดศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าแห่งใหม่ในกรุงเทพ
๑๖:๕๒ CHAYO จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ไฟเขียวทุกวาระ
๑๖:๑๓ ผู้บริหารบางจากฯ แชร์แนวทางขับเคลื่อนการรับมือวิกฤตสภาพภูมิอากาศ 2 เวที