DITP เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการไทยรุก 'คาซัคสถาน-อุซเบกิสถาน' ปลดล็อคส่งออกไทยบุกขยายฐานเจาะตลาดเอเชียกลาง

พฤหัส ๐๗ มีนาคม ๒๕๖๗ ๑๓:๐๖
สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เดินหน้าเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการสู่ตลาดใหม่ ผ่านเสวนาออนไลน์ "ปลดล็อค ตลาดแลนด์ล็อคในเอเชียกลาง: คาซัคสถานและอุซเบกิสถาน" มีผู้ประกอบการเข้าร่วมงานเสวนากว่า 144 ราย
DITP เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการไทยรุก 'คาซัคสถาน-อุซเบกิสถาน' ปลดล็อคส่งออกไทยบุกขยายฐานเจาะตลาดเอเชียกลาง

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า งานเสวนาออนไลน์ "ปลดล็อค ตลาดแลนด์ล็อคในเอเชียกลาง: คาซัคสถานและอุซเบกิสถาน" จัดขึ้นเพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงตลาดเอเชียกลาง ซึ่งเป็นตลาดใหม่ ตามนโยบาย "เร่งหาตลาดใหม่" ของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายภูมิธรรม เวชยชัย) โดยภูมิภาคเอเชียกลาง ประกอบด้วย คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน คีร์กีซสถาน เติร์กเมนิสถาน และทาจิกิสถาน ถือเป็นโอกาสและทางเลือกใหม่สำหรับผู้ประกอบการไทยที่กำลังมองหาตลาดใหม่ๆ ในการส่งออกสินค้า

ในปี 2566 การค้าระหว่างไทย-ภูมิภาคเอเชียกลาง มีมูลค่ารวม 290 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัวร้อยละ 40 ซึ่งไทยส่งออกไปเป็นมูลค่า 184 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้ามูลค่า 106 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในภาพรวม คาซัคสถานและอุซเบกิสถาน เป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงสุดในเอเชียกลาง และเป็นคู่ค้าอันดับ 1 และ 2 ของไทย ตามลำดับ โดยคาซัคสถาน เป็นตลาดที่มีกำลังซื้อ เป็นอีกหนึ่งช่องทางการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดรัสเซีย และสามารถเป็นฐานกระจายสินค้าไทยไปยังประเทศอื่น ๆ ในเอเชียกลาง รวมถึงเป็นแหล่งนำเข้าวัตถุดิบของไทย เช่น น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ และแร่ธาตุ ในขณะที่อุซเบกิสถาน เป็นตลาดใหญ่ที่สุดในเอเชียกลาง และเป็นจุดเชื่อมโยงในยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมของจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นทางการค้าเชื่อมระหว่างยุโรปและเอเชีย รวมถึงเป็นแหล่งนำเข้าวัตถุดิบสำหรับภาคอุตสาหกรรมของไทย เช่น ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืช และสินแร่ต่างๆ

ด้าน นายสุดเขต บริบูรณ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในภาพรวมแล้วอาหารไทยมีศักยภาพที่จะเข้าไปขยายตลาดในคาซัคสถานและอุซเบกิสถาน โดยเฉพาะร้านอาหารไทยและผลิตภัณฑ์อาหารไทยสำเร็จรูปที่ได้รับตราสัญลักษณ์ Thai SELECT จากกระทรวงพาณิชย์ ที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ในส่วนของคาซัคสถาน ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าที่หลากหลาย มีทัศนคติที่ดีต่อคุณภาพสินค้าไทยในระดับดีถึงดีมาก โอกาสของสินค้าไทยในคาซัคสถาน แบ่งเป็นกลุ่มสินค้าศักยภาพเดิม ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และชิ้นส่วนยานยนต์ ส่วนกลุ่มสินค้าศักยภาพใหม่ ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยงพรีเมียม เครื่องเขียนอุปกรณ์สำนักงาน ของแต่งบ้าน เสื้อผ้า สิ่งทอ รองเท้า และของเล่นเด็ก สำหรับสินค้าที่แนวโน้มเติบโตในอุซเบกิสถาน ได้แก่ อาหารไทยและผลิตภัณฑ์อาหารไทยสำเร็จรูป เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ความงามจากสมุนไพร เครื่องเขียนและอุปกรณ์สำนักงาน เสื้อผ้าและของเด็กเล่น รวมถึงชิ้นส่วนยานยนต์

สำหรับผู้ประกอบการส่งออกและผู้ที่สนใจสามารถอัปเดตข้อมูลข่าวสารและรับชมย้อนหลังได้ที่ Facebook: สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 09-5318-7085

ที่มา: มิกซ์ แอนด์ แมทซ์ คอมมิวนิเคชั่นส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๙ ดั๊บเบิ้ล เอ มอบอุปกรณ์เครื่องเขียน ช่วยเหลือฟื้นฟูโรงเรียนประสบภัยน้ำท่วม
๑๗:๑๐ เปิดประสบการณ์การทำความสะอาดห้องน้ำแบบ ไม่เปลืองแรงขัด โดยแบรนด์เป็ด และ คุณ คิมซอนโฮ
๑๗:๐๐ สพร. 42 หนองคาย มอบใบอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงาน สาขา ช่างบำรุงรักษารถยนต์ ระดับ 1
๑๗:๒๖ ไทเชฟแนะนำ ชุดรวมผงทำอาหาร อร่อยถูกใจ
๑๗:๕๐ เคทีซีร่วมกับบางกอกแอร์เวย์สและดุสิตธานี จัดกิจกรรม Exclusive Trip ขอบคุณสมาชิก บัตรเครดิต KTC-BANGKOK AIRWAYS
๑๗:๕๒ มวยไทยทีมภาคเหนือชนะทีมภาคกลาง 2:1 ในศึก Isuzu Thailand Championship 2024 แชมป์ 2 รุ่นเข้าชกเวทีมวยโลก THAI FIGHT
๑๗:๓๓ นิตยสารแพรวฉบับ ต.ค. 67 แจกของขวัญ Special Gifts 2024 ผลิตภัณฑ์แบรนด์ดัง บิวตี้ แฟชั่น และไลฟ์สไตล์ มูลค่ารวมกว่า 2
๑๗:๐๐ A5 ชูแนวทาง ESG ได้รับ Transition Loan จากกรุงไทย เดินหน้าเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืน
๑๗:๕๕ คงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ห้องอาหารอูโนมาสได้รับรางวัล Restaurantes de Espa?a Award 2024 โดยสถาบัน Spanish Institute for Foreign Trade
๑๗:๓๑ บลจ.อีสท์สปริง เปิดตัวกองทุนผสม ThaiESG เน้นหุ้นดัชนี SET ESG - ESG Bond เปิดขาย 24-29 ต.ค.นี้