กทม. ขอประชาชนช่วยสอดส่องดูแลเครื่อง AED - แนะค้นหาจุดติดตั้งผ่านเว็บ Bangkok Health Map

ศุกร์ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ ๐๙:๕๑
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวกรณีมีข้อสังเกตเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) บริเวณสะพานเขียวและสุขุมวิท นานาพลาซ่าสูญหายว่า จากการตรวจสอบพบว่า เครื่อง AED ทั้ง 2 จุด ไม่ได้เป็นทรัพย์สินที่อยู่ในความดูแลของ สนพ. จึงไม่สามารถทราบสถานะเครื่องได้ หากหน่วยงานมิได้แจ้งเข้าสู่ระบบค้นหาของเว็บไซต์ Bangkok Health Map ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมตำแหน่งของหน่วยบริการและสถานพยาบาลทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เช่น ค้นหาจุดติดตั้งเครื่อง AED ที่ใกล้ที่สุด ค้นหาคลินิกชุมชนอบอุ่นที่ให้บริการดูแลสุขภาพอย่างเป็นมิตรและมีมาตรฐาน ค้นหาสถานที่ตรวจสุขภาพเพื่อรับการตรวจร่างกายและการวินิจฉัยโรค รวมถึงค้นหาร้านขายยาที่ได้รับการจดทะเบียนการันตีความน่าเชื่อถือและคุณภาพ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลการให้บริการทางการแพทย์ได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ ปัจจุบันเครื่อง AED ที่เป็นทรัพย์สินของ สนพ. จะติดตั้งเฉพาะในอาคารของภาครัฐเท่านั้น เพื่อป้องกันการสูญหาย โดยมีหน่วยงานสังกัด กทม. เป็นผู้ดูแลรายงานและติดตามสถานะความพร้อมใช้ของตัวเครื่องเป็นระยะตามกำหนด สามารถตรวจสอบจุดติดตั้งผ่านเว็บไซต์

นอกจากนี้ สนพ. ยังได้ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนตระหนักถึงความจำเป็นและประโยชน์ของเครื่องกระตุกหัวใจ AED รวมถึงอันตรายจากการใช้ที่ไม่ถูกวิธี เนื่องจากเครื่องกระตุกหัวใจ AED เป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ซึ่งหากเกิดอาการ เช่น ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวและหมดสติ มีอาการแน่นหน้าอก สงสัยว่าโรคหัวใจกำเริบที่ไม่รู้สึกตัว รวมถึงได้รับอุบัติเหตุจากไฟฟ้าซ็อกที่ไม่รู้สึกตัว หากไม่ได้รับการช่วยเหลือภายใน 4 นาที อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต การใช้เครื่อง AED ควบคู่กับการทำ CPR ทันทีจะช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตได้มากขึ้น โดยเครื่อง AED ออกแบบมาให้บุคคลทั่วไปใช้งานง่าย มีคำแนะนำเป็นเสียงและภาพตามขั้นตอนอย่างชัดเจน ทำให้การช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ก่อนที่ทีมแพทย์จะมาถึงตัวผู้ป่วยที่หมดสติ ดังนั้น หากพบผู้หมดสติและไม่มีชีพจร ให้รีบแจ้งศูนย์เอราวัณ โทร. 1669 และเริ่มทำ CPR ทันที พร้อมทั้งใช้เครื่อง AED ที่อยู่ใกล้เคียงช่วยฟื้นคืนชีพอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่อง AED มีข้อควรระวัง ดังนี้ ห้ามวางแผ่นนำไฟฟ้าผิดตำแหน่ง ไม่ใช้ในพื้นที่เปียกน้ำ หรือหากจำเป็นต้องใช้ขณะอยู่ในพื้นที่เปียกควรเช็ดตัวให้แห้งก่อน ห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วยขณะช็อกไฟฟ้า และต้องทำ CPR ควบคู่เสมอ

อย่างไรก็ตาม กทม. ขอความร่วมมือประชาชนช่วยสอดส่องดูแลเครื่อง AED ที่ติดตั้งในที่สาธารณะ หากพบตู้ติดตั้งไม่มีเครื่องอยู่ภายใน หรือเครื่องอยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งาน สามารถแจ้งให้เจ้าของสถานที่ หรือรายงานไปยังศูนย์เอราวัณ โทร. 1669 เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงและแก้ไขสถานะเครื่อง AED ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

ที่มา: กรุงเทพมหานคร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๓๒ Electronic Nose นวัตกรรมตรวจวัดกลิ่น! เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี กรมอนามัย ร่วม MOU กรมควบคุมมลพิษ และ 4 หน่วยงานรัฐ - เอกชน
๑๗:๐๑ ITEL ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 68 ไฟเขียวอนุมัติแจกวอร์แรนต์ฟรี ลุยขยายธุรกิจ
๑๗:๐๓ สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง
๑๗:๕๙ คาเฟ่ แคนทารี ชวนมาลิ้มลองเมนูพิเศษประจำเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2568 อร่อยครบเครื่องทั้งรีซอตโตต้มยำ เครป
๑๗:๑๗ ซีพี ออลล์ x มูลนิธิชาวปักษ์ใต้ ร่วมสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่ออาชีพแก่เยาวชนในจังหวัดภาคใต้
๑๗:๑๑ ซีพีแรม ดีเดย์ เปิดเวที FINNOVA 2025 : ยกระดับความรู้สู่นวัตกรรมอาหาร ปักหมุดไทยศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารโลก
๑๗:๑๙ ดีไซน์เพื่อชีวิตที่ไม่หยุดนิ่ง: อาดิดาส ออริจินอลส์ เผยโฉม ADIZERO ARUKU พร้อมพื้นรองเท้าแบบโปรเกรสซีฟ
๑๖:๒๘ พรีโม จับมือ Q-CHANG จัดทัพทีมช่างกว่า 2,000 ทีม! ยกระดับบริการซ่อมห้องชุด ตอกย้ำแนวคิด Primo Happy Maker
๑๖:๓๙ ครั้งแรก กับ Dance (แดนซ์) Glossy Body Hair Perfume Mist น้ำหอม 2-in-1 พร้อมเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ เก๋ไก๋ บุกใจกลางกรุง ชวนสาวๆ
๑๖:๕๓ SCB CIO ชี้ 3 ปัจจัยกระทบตลาดการเงินฉุดสินทรัพย์ทั่วโลกผันผวน แนะระวังการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เพิ่มน้ำหนักหุ้นกู้ระยะสั้นคุณภาพดี และ