โดยพิธีลงนาม MOU ความร่วมมือฯ ในวันนี้ จะเป็นก้าวสำคัญที่สะท้อนถึงพลังการขับเคลื่อนกิจกรรมนำร่องสู่ความยั่งยืน ยกระดับกิจกรรมนำร่องให้เป็นโมเดลต้นแบบ สร้างต้นแบบของ "พื้นที่เชื่อมโยง" ระหว่างนิคมอุตสาหกรรมกับชุมชน ที่สามารถขยายผลไปยังนิคมอื่นในอีอีซี ได้อย่างเป็นระบบแห่งการบูรณาการระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในการยกระดับศักยภาพชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่อีอีซี และยังเป็นการสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ สกพอ. ในการเป็นสะพานเชื่อมให้ภาคอุตสาหกรรม และพื้นที่ชุมชน เกิดการพัฒนาอย่างรอบด้าน คู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจและการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่อย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ โครงการ EEC Connect ถือเป็นโครงการที่ สกพอ. มุ่งมั่นที่จะสร้างการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน โดยเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในพื้นที่อีอีซี เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก พัฒนาศักยภาพและสร้างรายได้ ให้ชุมชนโดยรอบนิคมฯ ในรัศมี 5 กม. ในพื้นที่ 3 จังหวัด ผ่านความร่วมมือระหว่าง สกพอ. นิคมอุตสาหกรรมและภาคีเครือข่าย โดยมีรูปแบบกิจกรรมความร่วมมือ 4 ประเภท ได้แก่
1) กิจกรรม "ชุมชนลดคาร์บอน สร้างรายได้" เป็นการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต และพัฒนากิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืน มีเป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต และส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพัฒนา "กิจกรรมลดคาร์บอน" ที่สามารถสร้างรายได้และขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน
2) กิจกรรม ดินดี พืชเด่น เกษตรเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะการจัดการดิน และการผลิตพืชปลอดภัย เพื่อส่งเสริมเกษตรเชิงนิเวศและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีเป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการฟื้นฟูพื้นที่เกษตร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและระบบนิเวศที่ยั่งยืน
3) กิจกรรม "ขยายช่องทางการตลาด" เป็นหลักสูตรการเสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจชุมชนสู่ระบบค้าปลีก และขยายช่องทางการจัดจำหน่ายอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เข้าสู่ระบบการค้าปลีกสมัยใหม่
และ 4) กิจกรรม "วางแผนการเงินให้มั่นคง ด้วยพลังชุมชน" เป็นหลักสูตรการเสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการการเงินสำหรับชุมชนและวิสาหกิจชุมชนอย่างมั่นคงและยั่งยืนมีเป้าหมาย เพื่อพัฒนาทักษะด้านการบริหารจัดการการเงิน ส่งเสริมการวางแผนการออม การวิเคราะห์ต้นทุน และการบริหารเงินทุนหมุนเวียน เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระดับครัวเรือนและระดับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
พร้อมกันนี้ ก้าวต่อไปของโครงการ EEC Connect สกพอ. จะได้ต่อยอดความร่วมมือจากเวทีนำร่องฯ ให้เกิดเป็นระบบที่เข้มแข็งและต่อเนื่องในระยะยาว โดยเริ่มจากการสร้างพื้นที่ต้นแบบที่บูรณาการระหว่างนิคมอุตสาหกรรม ชุมชน และภาคีเครือข่าย พร้อมขยายผลสู่พื้นที่อื่นในอีอีซี อย่างเป็นระบบ การพัฒนาเกณฑ์วัดผลที่ชัดเจน ส่งเสริมรายได้และศักยภาพชุมชน และปักธงเป้าหมายในการสถาปนากลไกรองรับถาวร ทั้งด้านการบริหารจัดการ ความรู้ และการลงทุน เพื่อให้ EEC Connect เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างแท้จริงและยั่งยืน
