ภาคธุรกิจไทย TBCSD : พลังความร่วมมือ มุ่งสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ สู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ สู่อนาคตที่ยั่งยืน

จันทร์ ๑๙ กรกฎาคม ๒๐๒๑ ๑๐:๓๒
องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) ได้จัดงานเสวนา เรื่อง "ภาคธุรกิจไทย TBCSD : พลังความร่วมมือ มุ่งสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ สู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ สู่อนาคตที่ยั่งยืน" ขึ้น โดยเป็นการจัดงานเสวนาผ่านระบบออนไลน์ Zoom เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด COVID-19 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานที่ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึง บทบาทของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ (Country Issue) ด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ และได้เข้าใจเกี่ยวกับบทบาทองค์กรภาคธุรกิจไทยในการยกระดับมาตรฐานขององค์กรภาคธุรกิจไทยไปสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืนในอนาคต พร้อมทั้ง ได้เห็นมุมมองพลังความร่วมมือของคนรุ่นใหม่ในสังคม

โดยงานเสวนาในวันนี้มี ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และ เลขาธิการองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวต้อนรับและความเป็นมาของการจัดงานเสวนาฯ โดยมี นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงานเสวนา

ภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาร่วมบรรยายพิเศษ เรื่อง "Thailand Climate Action" กล่าวว่า สถานการณ์ปัจจุบันและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บทบาทของภาครัฐและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สำคัญของประเทศ เช่น ความสำเร็จในการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย การจัดทำ (ร่าง) พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. …. เป็นต้น รวมทั้ง การดำเนินงานเพื่อให้ประเทศไทยมุ่งสู่ Net Zero Emission ในอนาคต และบทบาทของภาคเอกชนที่จะเป็นกำลังสำคัญในการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานภายในประเทศ เพื่อบรรลุเป้าหมายการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับประชาคมโลกต่อไป

การเสวนาแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก การเสวนา เรื่อง "ยกระดับมาตรฐานขององค์กรธุรกิจไทยไปสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืนในอนาคต" ได้รับเกียรติจากผู้บริหารทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน มาร่วมเป็นวิทยากรเพื่อร่วมนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการยกระดับมาตรฐานขององค์กรภาคธุรกิจไทยไปสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืนในอนาคต อันเป็นการยกระดับประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนี้

ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน เป็นการทำธุรกิจที่ตอบสนองต่อผู้บริโภคยุคใหม่ที่กังวลถึงผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากจากกิจกรรมในชีวิตประจำวันต่าง ๆ มีเสียงเรียกร้องในระดับนานาชาติให้ธุรกิจแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตผลิตภัณฑ์และบริการและการจัดการของเสีย จนกระทั่งไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยสุทธิ (Carbon Neutral) เลย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาตัวชี้วัดธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืนขึ้น เพื่อจัดระดับองค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินงานด้านบริหารจัดการและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งเป็นการเชิดชูเกียรติให้แก่องค์กรธุรกิจนั้น ตลอดจนนำเสนอแบบอย่างที่ดีให้แก่องค์กรธุรกิจอื่น ๆ อีกด้วย

นางอรวดี โพธิสาโร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่ม ปตท. ได้ให้ความสำคัญกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก (Climate Change) และได้ปรับวิสัยทัศน์ให้สอดรับกับทิศทางอนาคต โดยปรับเป็น "ขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต (Powering Life with Future Energy and Beyond)" อันประกอบด้วย จุดมุ่งหมาย (Purpose) : มุ่งสร้างการเติบโตด้วยการดำเนินธุรกิจควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คน วัฒนธรรม วิถีชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม (Powering Life) และทิศทางการเติบโต (Strategic Positioning) : มุ่งสู่ธุรกิจพลังงานอนาคต และเติบโตในธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน (Future Energy and Beyond)

ในแง่การดำเนินงานที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ปตท. ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความยั่งยืนในด้านต่าง ๆ (ESG) โดยในมิติของสิ่งแวดล้อม ได้กำหนดกลยุทธ์ "PTT Group Clean and Green Strategy" ในการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจ โดยอยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดเป้าหมายการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 ลงร้อยละ 15 จากระดับปี 2020

การดำเนินงานตามกลยุทธ์ดังกล่าวมุ่งเน้นการพัฒนาธุรกิจสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพและใช้พลังงานหมุนเวียนในกระบวนการผลิต การปลูกและดูแลป่าเพื่อช่วยในการดูดซับก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง

ดร.ชญาน์ จันทวสุ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารความยั่งยืน และภาพลักษณ์องค์กร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็น 1 ใน 3 ยุทธศาสตร์สำคัญของ GC หรือ Step up โดยบริษัทฯ ได้กำหนดนโยบาย เป้าหมาย และตัวชี้วัด ที่สอดคล้องกับ (1) NDCs เป้าหมายการมีส่วนร่วมการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย (2) COP21 การตั้งเป้าหมายเพื่อไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 ?C และ (3) ยังเป็นผู้สนับสนุน TCFD มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นทางการ

สำหรับการตั้งเป้าหมาย และกำกับการดำเนินงาน บริษัทฯ มีการตั้งเป้าหมายตาม GHG Protocol ทั้ง Scope 1 2 และ 3 ผลสำเร็จที่ผ่านมา บริษัทฯ เป็นต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อมยั่งยืนในระดับโลก โดยได้รับการจัดอันดับดัชนีวัดความยั่งยืนดาวน์โจนส์ที่ 1 ของโลก และได้รับการจัดอันดับในระดับ A Level (สูงสุด) จากสถาบันจัดอันดับสิ่งแวดล้อมยั่งยืน หรือ Carbon Disclosure Project ทั้งการดำเนินการในเรื่อง Climate และ Water ความสำเร็จด้านความยั่งยืนโดยเฉพาะด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเครื่องสะท้อนความมุ่งมั่นของ กลุ่ม GC และยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอนาคต

นายจารุวัฒน์ สิงห์สมดี Senior Vice President M&A Transformation and Sustainability Management บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การดำเนินงานของ GPSC ด้านความยั่งยืนเพื่อไปสู่เป้าหมาย "การสร้างมูลค่าระยะยาวนวัตกรรมและพลังงานที่ยั่งยืน" ภายใต้กรอบการบริหารจัดการความยั่งยืน 4 มุมมองได้แก่ 1) Power Accessibility 2) Quality of Life 3) Eco-system 4) Sustainable Innovation ซึ่งครอบคลุมในทั้ง 3 มิติในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างครบถ้วน และสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เพื่อนำไปสู่สมาชิก DJSI ในปี 2565 และเดินหน้ามุ่งสู่องค์กรคาร์บอนต่ำเพื่อบรรลุเป้าหมายในระดับสากล

นายนำพล ลิ้มประเสริฐ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี กล่าวว่า วิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นความท้าทายของภาคธุรกิจและทุกภาคส่วนที่ต้องร่วมกันยกระดับการดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบ และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ เอสซีจี ตั้งเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 โดยจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยการพัฒนาโครงการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้พลังงาน เพิ่มการใช้เชื้อเพลิงทดแทนและพลังงานหมุนเวียน พัฒนาสินค้าและบริการคาร์บอนต่ำ รวมถึง การปลูกต้นไม้และสร้างฝายชะลอน้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อกักเก็บคาร์บอนและรักษาระบบนิเวศของธรรมชาติ

และช่วงที่ 2 การเสวนา เรื่อง "บทบาทของคนรุ่นใหม่ แสดงพลังความร่วมมือ เปิดมิติใหม่ สู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ" ได้รับเกียรติจากคนรุ่นใหม่ในสังคมที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ มาร่วมนำเสนอและถ่ายทอดข้อมูลผ่านมุมมองแนวคิดของคนรุ่นใหม่ ดังนี้

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และ เลขาธิการองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวว่า พลังคนรุ่นใหม่ที่มีหัวใจอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถือได้ว่าเป็นแรงกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมไทยไปสู่ความยั่งยืน และอนุรักษ์สิ่งดีมีประโยชน์เพื่ออนาคตที่ดี ดังนั้น การปลูกฝังเยาวชนให้ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาตินับได้ว่าเป็นการเตรียมความพร้อมในการทำประโยชน์ให้กับสังคม เพื่อช่วยกันเปลี่ยนให้ชุมชนและสังคมดีขึ้น ด้วยการรวมพลังความคิดและลงมือทำ อันเป็นการกระตุ้นให้กลุ่มคนรุ่นใหม่จากทุกภาคส่วน ลุกขึ้นมาร่วมสร้างพลังการเปลี่ยนแปลงในสังคม โดยมุ่งเน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนร่วมกันผ่านกิจกรรมใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน เพื่ออนาคตที่ดีของสังคมไทย

นางสาวจรินทร์พร จุนเกียรติ ดารานักแสดง และ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท อีอีซี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในทุกวันนี้ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นน่าเป็นห่วงมาก ๆ เช่น สภาพอากาศที่ไม่ตรงตามฤดูกาล ปัญหาฝุ่น PM2.5 ถึงแม้เราจะมีต้นไม้ แต่เราก็เอาไม่อยู่ หรือปัญหาภัยแล้งที่แตกต่างจากในอดีต สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปเกี่ยวข้องกับปัญหาความเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายทางชีวภาพที่น้อยลง ด้านสุขภาพของคน การเกษตร หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็กระทบไปหมด เช่น ชาวนา ชาวสวนที่ต้องอาศัยฤดูกาลในการเพาะปลูก อากาศแปรปรวนจึงกระทบไปถึงผลผลิต เศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ น้ำเองก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ กระทบไปถึงปะการัง จนเกิดการฟอกขาว พอปะการังฟอกขาว ก็ไปกระทบธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นธุรกิจทำรายได้อันดับต้น ๆ ของประเทศ เมื่อห่วงโซ่นี้เสียจึงส่งผลต่อภาพกว้างในทุกมิติ เต้ยศึกษาเรื่องเต่ามะเฟือง เต่ามะเฟืองเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของระบบนิเวศได้เช่นกัน แนวปะการังต้องสมบูรณ์พอให้เต่าการหากิน หรือผสมพันธุ์ ปัจจุบันสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ความสมดุลที่ควรจะมีก็สั่นคลอน เกิดการย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ สัตว์บก อย่างเต่าก็อาจจะมีโอกาสในการวางไข่ในน่านน้ำเราน้อยลงได้ เพราะเต่าจะต้องขึ้นมาวัดหาดก่อนที่จะวางไข่ว่าน้ำจะท่วมรังไข่ของแม่เต่าหรือไม่ แต่ด้วยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป น้ำทะเลหนุนขึ้นมาก หน้าหาดของเราร่นขึ้นมาเรื่อย ๆ ส่งผลให้มีพื้นที่ให้แม่เต่าวางไข่น้อยลงเรื่อย ๆ ส่วนตัวเต้ยดีใจมาก ๆ ที่เห็นคนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาทำโปรเจคดี ๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมกันเยอะมาก ๆ มี Passion และศึกษาอย่างลึกซึ้งกันมาก ๆ เต้ยมองว่าแต่ละคนก็มีหนทางในการช่วยสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน อย่างเต้ยมุ่งไปที่เรื่องการศึกษา ดังนั้น เราจึงตั้งใจสร้าง EEC THAILAND (Environmental Education Centre) กับนายอเล็กซ์ เรนเดล และทีม ขึ้นมา พวกเราเชื่อว่าการที่เรามีความรู้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราจะสามารถอนุรักษ์สิ่งนั้นได้อย่างดี แต่เราทำให้การเรียนรู้เป็นเรื่องที่สนุก เราบูรณาการ Education & Entertainment เข้าด้วยกัน เมื่อมองมาที่ภาพใหญ่ ถ้าผู้ประกอบการหันมาสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมกันเยอะ ๆ มีการควบคุมการปล่อยมลพิษหรือการผลิตที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมน่าจะช่วยได้มาก ทั้งนโยบายของภาครัฐ และเอกชนก็ต้องขับเคลื่อนกันไปทุก ๆ ทาง เพราะเรื่องสิ่งแวดล้อมและภัยจาก Climate Change เป็นเรื่องของความเป็นอยู่ของเราทุกคน ที่ต้องช่วยกันดูแลและขับเคลื่อนในทุกภาคส่วนไปพร้อม ๆ กัน

นายพิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร พิธีกร และนักออกแบบเพื่อความยั่งยืน บริษัท คิดคิด จำกัด (ผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม) กล่าวว่า มุมมองแนวคิดการทำธุรกิจของคนรุ่นใหม่สามารถเดินหน้าควบคู่ไปพร้อมกับการดูแลและปกป้องสิ่งแวดล้อมได้ โดยแนวทางการดำเนินธุรกิจของท็อป ซึ่งเป็นธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise ด้านสิ่งแวดล้อม มีตัวอย่างผลงาน และ Case ต่าง ๆ สำหรับเพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่สนใจหรืออยากเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม

และท้ายสุดหลังจากจบงานเสวนาในครั้งนี้ ทางองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) จะดำเนินการสรุปผลข้อมูลภาพรวมของงานเสวนาฯ เพื่อถ่ายทอดออกมาเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับการยกระดับมาตรฐานขององค์กรภาคธุรกิจไทยไปสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืนในอนาคต เพื่อนำไปสู่แนวทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดผลสัมฤทธิ์ในการเดินหน้าขับเคลื่อนประเด็น Climate Change เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของประเทศไทยที่กำหนดไว้

ที่มา: มิกซ์ แอนด์ แมทซ์ คอมมิวนิเคชั่นส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?