สายธารพลิกผืนดิน ฟื้นชีวิตราษฎรไทย ด้วยโครงการในพระราชดำริ

พฤหัส ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๘ ๑๔:๓๓
ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำมากถึง 3,248 แห่ง โดยดำเนินการร่วมกับ "กรมชลประทาน" เพื่อมุ่งเน้นการจัดการทรัพยากรน้ำ ตั้งแต่การอุปโภคบริโภค ภาคเกษตรกรรม และการป้องกันปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้งอย่างมั่นคงและยั่งยืน
สายธารพลิกผืนดิน ฟื้นชีวิตราษฎรไทย ด้วยโครงการในพระราชดำริ

หนึ่งในหน่วยงานที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ที่ดูแลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านแหล่งน้ำ คือ "สำนักงานชลประทานที่ 3" รับหน้าที่พัฒนาและบริหารจัดการแหล่งน้ำ ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์ โดยมี 3 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่สำคัญ ได้แก่

  1. อ่างเก็บน้ำห้วยมะหุ่งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.อุตรดิตถ์ : พลิกฟื้นผืนดินแห้งแล้งสู่ความอุดมสมบูรณ์

เดิมพื้นที่ ต.นาขุม อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์ เผชิญปัญหาขาดแคลนน้ำหลายปี ไม่สามารถทำการเกษตรได้ กระทั่งโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยมะหุ่งฯ สร้างแล้วเสร็จในปี 2565 ด้วยความจุ 650,000 ลูกบาศก์เมตร ทำให้สามารถช่วยบรรเทาปัญหาน้ำอุปโภคบริโภค และเป็นแหล่งน้ำใช้เพาะปลูกการเกษตรในฤดูฝน 950 ไร่ และในฤดูแล้ง 200 ไร่

  1. โครงการขุดลอกแก้มลิงดอนยาวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นครสวรรค์ : น้ำพระราชหฤทัย บรรเทาน้ำหลาก-น้ำแล้งอย่างยั่งยืน

พื้นที่ ต.บางแก้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งและอุทกภัยในฤดูฝน กรมชลประทานจึงขุดลอกแก้มลิงดอนยาวตามแนวพระราชดำริ โดยครอบคลุมพื้นที่ 80 ไร่ ลึก 4 เมตร พร้อมก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ จำนวน 3 แห่ง และสร้างแล้วเสร็จในปี 2564 โครงการนี้สามารถกักเก็บน้ำได้ถึง 512,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่ 285 ครัวเรือน และช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรรมกว่า 1,000 ไร่ ส่งเสริมความมั่นคงด้านน้ำให้ชุมชนอย่างยั่งยืน

  1. โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.อุตรดิตถ์ : แหล่งน้ำแห่งชีวิต สร้างความมั่นคงให้ชุมชน

โครงการนี้ จัดตั้งขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่แปลงอพยพจากการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งประชาชนประสบปัญหาน้ำไม่เพียงพอทั้งการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินโครงการ ตั้งแต่ปี 2548 โดยมอบหมายให้กรมชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบ เริ่มก่อสร้างในปี 2554 คาดว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ทั้งโครงการในปี 2568

อ่างเก็บน้ำแห่งนี้ เป็นอ่างเก็บน้ำแบบ สามารถเก็บกักน้ำได้มากถึง 73.7 ล้านลูกบาศก์เมตร และสามารถส่งน้ำครอบคลุมพื้นที่ชลประทานกว่า 53,500 ไร่

นอกจากจะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและอุทกภัยแล้ว อ่างเก็บน้ำยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ แหล่งท่องเที่ยว โดยมีสกายวอล์คเป็นจุดชมวิวมุมสูง ซึ่งเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ด้วย

โครงการนี้ไม่เพียงช่วยพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ แต่ยังช่วยส่งเสริมความมั่นคงด้านน้ำ ยกระดับคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างยั่งยืน

ที่มา: CHOM PR

สายธารพลิกผืนดิน ฟื้นชีวิตราษฎรไทย ด้วยโครงการในพระราชดำริ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๓๒ Electronic Nose นวัตกรรมตรวจวัดกลิ่น! เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี กรมอนามัย ร่วม MOU กรมควบคุมมลพิษ และ 4 หน่วยงานรัฐ - เอกชน
๑๗:๐๑ ITEL ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 68 ไฟเขียวอนุมัติแจกวอร์แรนต์ฟรี ลุยขยายธุรกิจ
๑๗:๐๓ สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง
๑๗:๕๙ คาเฟ่ แคนทารี ชวนมาลิ้มลองเมนูพิเศษประจำเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2568 อร่อยครบเครื่องทั้งรีซอตโตต้มยำ เครป
๑๗:๑๗ ซีพี ออลล์ x มูลนิธิชาวปักษ์ใต้ ร่วมสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่ออาชีพแก่เยาวชนในจังหวัดภาคใต้
๑๗:๑๑ ซีพีแรม ดีเดย์ เปิดเวที FINNOVA 2025 : ยกระดับความรู้สู่นวัตกรรมอาหาร ปักหมุดไทยศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารโลก
๑๗:๑๙ ดีไซน์เพื่อชีวิตที่ไม่หยุดนิ่ง: อาดิดาส ออริจินอลส์ เผยโฉม ADIZERO ARUKU พร้อมพื้นรองเท้าแบบโปรเกรสซีฟ
๑๖:๒๘ พรีโม จับมือ Q-CHANG จัดทัพทีมช่างกว่า 2,000 ทีม! ยกระดับบริการซ่อมห้องชุด ตอกย้ำแนวคิด Primo Happy Maker
๑๖:๓๙ ครั้งแรก กับ Dance (แดนซ์) Glossy Body Hair Perfume Mist น้ำหอม 2-in-1 พร้อมเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ เก๋ไก๋ บุกใจกลางกรุง ชวนสาวๆ
๑๖:๕๓ SCB CIO ชี้ 3 ปัจจัยกระทบตลาดการเงินฉุดสินทรัพย์ทั่วโลกผันผวน แนะระวังการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เพิ่มน้ำหนักหุ้นกู้ระยะสั้นคุณภาพดี และ